ยินดีต้อนรับสู่บ้านอบอุ่นของคนรัก บอย สพล ชนวีร์

เปิดงานหนังสือ นักเขียนทวงสิทธิ์ ว่าด้วย ลิขสิทธิ์วรรณกรรม

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์

เปิดงานหนังสือ นักเขียนทวงสิทธิ์




กลางกระแสน้ำท่วมหนักปีนี้ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ จัดระหว่างวันที่ 21–31 ตุลาคม 2553

เปิดขายตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ใน งานมีหนังสือขายมากกว่า 800 บูธ หนังสือนับล้านเล่ม หนึ่งในนั้น อาจมีผลงานของตั๊ก วงศ์รัฐ นักเขียนและคอลัมนิสต์ที่เพิ่งเสียชีวิตไป ยังรดน้ำศพอยู่ที่วัดราษฎร์บำรุง ถนนเพชรเกษม ซอย 69 จะประชุมเพลิงวันที่ 25 ตุลาคมนี้ เวลา 17.00 น.

หนังสือน่าสนใจจากสำนักพิมพ์ต่างๆในงาน เช่น ดร.อัมเบ็คก้าร์ รัตนบุรุษแห่งชมพูทวีป ของ สนพ.ดีเอ็มจี เล่าเรื่องราวของนักกฎหมายอัจฉริยะของอินเดียผู้นับถือศาสนาพุทธ ผจญภัยข้ามขอบฟ้า นวนิยายชุดใหม่ของหวงอี้ ของ สนพ.สามอินเตอร์บุ๊คส์, ปรัชญาจีนจากขงจื่อ ถึง เหมาเจ๋อตง ของ สนพ. สุขภาพใจ, มหาสงครามสามก๊ก ของ สนพ.สถาพรบุ๊คส์ เหมาะสำหรับเด็กๆ รู้ไว้...ไม่โง่ เล่มนี้อ่านเพื่อรู้ทันฝรั่งของ สนพ.โพสต์บุ๊คส์

และ พลิกชีวิต...หยิบเงินล้าน ของ สนพ.ยู-แมสบุ๊คส์ รวมแนวคิดเพื่อก้าวสู่ความยิ่งใหญ่แห่งธุรกิจพันล้าน เรียบเรียงโดยไตรตรังค์ น่าจะเป็นแนวทางสร้างธุรกิจได้เป็นอย่างดี

หนังสือ แต่ละเล่ม นักเขียนกว่าจะสร้างสรรค์มาได้ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างยิ่งยวด ค่าสร้างสรรค์ปกติจะได้ร้อยละ 10 จากราคาปก คูณด้วยยอดพิมพ์ เช่น หนังสือเล่มละ 100 บาท จัดพิมพ์ 3,000 เล่ม นักเขียนจะได้ 30,000 บาท เป็นต้น

ประเด็นเรื่องค่าลิขสิทธิ์นักเขียนที่ยังสงสัยกันอยู่คือ กฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ในมาตรา 19 ระบุว่า "...ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย"

แม้จะเป็นที่ทราบกันแล้ว แต่ยังเป็นประเด็นค้างคาใจนักเขียนว่า เมื่อลิขสิทธิ์วรรณกรรมตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ใครจะเป็นคนดูแลวรรณกรรมเหล่านั้น หรือว่าใครจะนำเอาไปพิมพ์ก็ได้ ดังปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

กฎหมายนี้นักเขียนมองอย่างไร สถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ บอกว่าเรื่องนี้มีอยู่ 2 ประเด็น ประเด็นแรก เราพิจารณากันอีกครั้งได้ไหม เพราะว่า 50 ปีนั้นสั้นเกินไป อาจจะขยายเวลาเป็น 80 ปี หรือมากกว่านั้น ทายาทจะได้มีสิทธิ์ในวรรณกรรมเหล่านั้นบ้าง ไม่ใช่พอนักเขียนตายไป 50 ปี ก็ตกเป็นของแผ่นดิน

ประเด็นที่สองคือ ควรมีหน่วยงานทำฐานข้อมูลในเรื่องนี้ออกมา ปัจจุบันมีหน่วยงานเกี่ยวข้องมาก ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงวัฒนธรรม หอสมุดแห่งชาติ และอื่นๆ อาจให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้ดูแล ทำฐานข้อมูลเอาไว้ อาจมีการบัญญัติเอาไว้ใน พ.ร.บ.ด้วย เพื่อจะได้มีผู้รับผิดชอบ เก็บรักษา

หรือ อะไรก็แล้วแต่ และไม่ใช้ทำเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์อย่างเดียว ควรมีการประมวลผลงานที่มีคุณค่าเหล่านั้นมาศึกษามาตีพิมพ์ใหม่ และมีกระบวนการพิจารณาให้มาเผยแพร่ตามวาระอันควร

ส่วนมานพ ถนอมศรี นักเขียนเจ้าของผลงาน บ่ฮักบ่ต้องสงสาร กินรี ลุยฟลอร์ และอีกมากชื่อบอกว่า กฎหมายนี้ส่งผลกระทบต่อผู้สร้างวรรณกรรมมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นอายุการคุ้มครอง พร้อมอ้างข้อมูลจากหนังสือการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ด้านลิขสิทธิ์ของ สำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ ระบุไว้ว่า...

"เมื่อประพันธ์ ผลงานเสร็จแล้ว ศิลปินจะได้รับการคุ้มครองผลงานดังกล่าว ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ตลอดชีวิตของศิลปินผู้นั้น และการคุ้มครองนี้ยังมีต่อไปอีก 50 ปี หลังจากศิลปินผู้นั้นถึงแก่กรรม โดยทายาทของศิลปินผู้นั้นสามารถถือเอาประโยชน์จากการคุ้มครองนั้นได้ แต่ภายใต้หลักการทั่วไปของกฎหมายลิขสิทธิ์ เมื่ออายุการคุ้มครองสิ้นสุดลง งานอันมีลิขสิทธิ์จะตกเป็นสมบัติของสาธารณะ ซึ่งผู้ใดก็สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์"

มานพบอกว่า "หากมองกันจากความเป็นจริง คงไม่มีผู้สร้างวรรณกรรมคนใดต้องการให้สิทธิ์ของผลงานอันเกิดจากน้ำพักน้ำ แรงและมันสมองที่กลั่นกรองออกมาด้วยความยากลำบากต้องตกไปเป็นของผู้อื่น แม้ว่าจะใช้คำพูดอย่างโก้หรูว่าเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีอยู่ในงานอัน มีลิขสิทธิ์นั้นให้ กระจายสู่สังคมให้กว้างที่สุดก็ตาม เพราะในความเป็นจริงแล้วการที่ผลงานใดๆ เกิดจากภูมิปัญญาของผู้ใดก็ควรตกอยู่แก่ผู้นั้นเป็นนิจนิรันดร์"

เพราะแม้ผู้สร้างวรรณกรรมจะสิ้นชีวิตไปทายาทก็ยังอยู่ พวกเขาควรได้รับผลงานที่บรรพบุรุษของพวกเขาได้สร้างสรรค์ไว้

มานพ ยอมรับว่า การกระจายองค์ความรู้ที่มีอยู่ในผลงานจะเป็นสุดยอดปรารถนาของผู้สร้างผลงาน วรรณกรรม แต่ในความเป็นจริงแล้วความต้องการนี้ หาใช่ความต้องการแรกของการทำงานวรรณกรรมไม่ ด้วยเหตุที่ผู้สร้างวรรณกรรมทุกคนต้องมีชีวิตอยู่ และการมีชีวิตอยู่ก็ต้องใช้ปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งทุกอย่าง ได้มาด้วยการแลกเปลี่ยนกับเงิน

ผลงานที่ผู้สร้างงานวรรณกรรมทุกชิ้น เกิดจากการหล่อหลอมรวมกันของพลังต่างๆมากมายหาได้เกิดจากการทำขึ้นมาอย่าง เล่นๆ ดังนั้น มันจึงเป็นความภาคภูมิใจอันสูงสุดอย่างหนึ่งที่พวกเขาได้สร้างมันขึ้นมา   และคงเป็นความภาคภูมิใจอย่างมากถ้าผลงานเหล่านั้นตกทอดไปสู่ลูกหลานอย่างไม่ สิ้นสุด เฉกเช่นการสร้างบ้านขึ้นมาสักหลัง  บ้านหลังนั้นมันก็ควรที่จะคุ้มหัวลูกหลานให้มีความสุขไปนานเท่านาน

ส่วน การตกเป็นสมบัติสาธารณะนั้น ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมันเป็นอย่างไร ใครคือคนที่เป็นตัวแทนของสาธารณะที่จะนำผลงานวรรณกรรมไปเผยแพร่สู่สังคมในวง กว้าง เขาเหล่านั้นทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์หรือมีสิ่งใดแอบแฝง การนำวรรณกรรมที่หมดอายุการคุ้มครองมาเผยแพร่ในปัจจุบันนี้ เป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติเจ้าของผลงานวรรณกรรมหรือมีผลประโยชน์ซ่อนเร้น อยู่

คงจะมีไม่มากคนนักที่รู้ว่า ชีวิตของคนสร้างวรรณกรรมหรือที่เรียกว่านักเขียนนั้นมันไม่ได้โรยด้วยดอก กุหลาบ กว่าจะได้งานมาแต่ละชิ้นแทบเลือดตากระเด็น แต่ก็ยังไม่เท่าการที่จะมีสำนักพิมพ์สักแห่งนำผลงานนั้นไปพิมพ์เผยแพร่

วง วรรณกรรมบ้านเราอย่าคิดว่าเหมือนต่างประเทศ ด้วยคนอ่านหนังสือน้อย การจัดพิมพ์หนังสือออกมาสักเล่มจำต้องขบคิดอย่างหนัก เพราะการเผยแพร่วรรณกรรมในโลกแห่งความเป็นจริงบ้านเราผูกขาดอยู่กับระบบ ธุรกิจ ที่ยึดถือกำไรและขาดทุนเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณา

ฉะนั้นการ ที่นักเขียนจะได้รับการตีพิมพ์ผลงานจึงเป็นไปค่อนข้างยาก หากพิจารณาแล้วไม่สามารถสร้างกำไรได้ อย่าหวังเลยว่าจะมีการจัดพิมพ์ เมื่อไม่ได้จัดพิมพ์ก็ไม่ได้ค่าลิขสิทธิ์   ผลงานที่มุมานะสร้างออกมาด้วยมันสมองและความเหนื่อยยากก็ไร้ค่า ด้วยเหตุนี้คำกล่าวที่ว่า นักประพันธ์ไส้แห้งจึงเป็นความจริงมาตลอด และจะเป็นเช่นนี้ต่อไป ตราบใดที่ยังมีการบริโภควรรณกรรมอยู่

สมมติ ว่านักเขียนคนหนึ่งทนอดอยากยากเข็ญสร้างผลงานมาตลอดชีวิต โดยที่ไม่พบความสำเร็จกับการจัดพิมพ์ แต่หลังเขาตายไปแล้ว 50 ปี ผลงานเหล่านี้กลับโด่งดังเป็นที่สนใจของสังคมเป็นวงกว้าง สำนักพิมพ์ทุกแห่งไขว่คว้ามาจัดพิมพ์ แล้วผู้สร้างผลงานนั้นได้อะไร เพราะมันตกเป็นสมบัติของสาธารณะไปเสียแล้ว

ลูกหลานของเขาคงก่นด่าว่า ปู่ย่าตายายโง่เหลือเกินที่เลือกอาชีพ นักเขียน ที่นอกจากไม่ตอบแทนแก่ชีวิตของพวกเขาขณะยังมีลมหายใจอยู่ ยังไม่ตอบแทนแก่ลูกหลานด้วย


ถามว่า การคิดเช่นนี้ของนักเขียนเป็นความคับแคบหรือไม่ เพราะแม้ตัวตายไปแล้วก็ยังหวงผลประโยชน์ แต่เรื่องอย่างนี้ถ้าไม่เกิดกับใครก็คงไม่เข้าใจ การที่ผลงานของพวกเขาตกเป็นสมบัติของสาธารณะด้วยการยกย่องเชิดชูและจัดการ อย่างเป็นระบบ ถ้าเป็นดังเช่นที่ปรากฏในหนังสือเล่มดังกล่าวว่า

...อนึ่ง ในเรื่องนี้ได้มีดำริที่จะจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาคุ้มครองทรัพย์สินอันทรง คุณค่าที่หมดอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว  เพื่อให้ลิขสิทธิ์การคุ้มครองนี้ตกเป็นสมบัติของชาติสืบต่อไป...

แต่ "ใคร่ถามว่าดำรินี้ จะเป็นความจริงขึ้นมาเมื่อใด หน่วยงานไหนจะเป็นผู้รับผิดชอบสร้างให้หน่วยงานนี้เกิดขึ้น เพราะเท่าที่เห็นๆอยู่จนป่านนี้ ยังไม่มีองค์กรของรัฐใดๆ ยื่นมือเข้ามาดูแลชีวิต ความเป็นอยู่ของคนที่สร้างองค์ความรู้ให้เป็นประโยชน์แก่แผ่นดินแม้แต่น้อย"
คำถามของมานพ ถนอมศรี ย่อมหมายถึงข้อกังขาของนักเขียนทุกๆนาม.


นสพ.ไทยรัฐ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
21 ตุลาคม 2553, 10:44 น.

credit : http://www.thairath.co.th/today/view/120537

ออฟไลน์ กาฬฯ

  • *
  • 6333
  • -4
  • เพศ: หญิง
  • ஐ~ เผ่าพันธุ์นาคีซ่อนพิษไว้เสมอ ~ஐ
อ่านแล้วมึน
ถ้าหากมีกฏหมายลิขสิทธิ์ว่า  หลังจากผู้เขียนเสียชีวิตไป 50 ปี  ผลงานนั้นจะตกเป็นของสาธารณะ
น่าจะมีการตั้งกฏหมายให้ผู้เขียนได้มีโอกาสตัดสินใจ  เหมือนเขียนพินัยกรรมว่า 
ผู้เขียนต้องการให้หนังสือของตนเรื่องใด  มีผู้ดูแลอย่างไร  หลังจาก 50 ปีที่เสียชีวิต
หรือว่าจะยอมปล่อยให้เป็นของสาธารณะตามที่กำหนดไว้

อีกอย่างมาพูดถึงด้านผู้ที่นำหนังสือนั้นมาสร้างงานหลังจากตกเป็นของสาธารณะ
ก็ควรจะมีองค์การใดเป็นผู้ดูแลว่าสมควรหรือไม่ 
เพราะอย่างน้อยๆ ก็ควรจะให้เกียรติและระลึกถึงผู้ประพันธ์ตามความเหมาะสม แม้จะล่วงลับไปแล้ว

ยิ่งพูดยิ่งงงเอง 

อยากไปงานหนังสือจะตายแล้ว
 :icon_razz:
**จักรวาลนี้กว้างไกลแลไพศาลนัก เราเป็นเพียงละอองธุลีอันน้อยนิดล่องลอย ยากที่จะเรียนรู้ทุกสรรพสิ่งให้จบครบสิ้น
สิ่งที่เรามิเคยเห็น ใช่ว่าจะมิมี แลสิ่งที่มิเคยได้ประสบ ก็ใช่ว่าจะมิเคยเกิดขึ้น**

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
อ่านแล้วมึน
ถ้าหากมีกฏหมายลิขสิทธิ์ว่า  หลังจากผู้เขียนเสียชีวิตไป 50 ปี  ผลงานนั้นจะตกเป็นของสาธารณะ
น่าจะมีการตั้งกฏหมายให้ผู้เขียนได้มีโอกาสตัดสินใจ  เหมือนเขียนพินัยกรรมว่า 
ผู้เขียนต้องการให้หนังสือของตนเรื่องใด  มีผู้ดูแลอย่างไร  หลังจาก 50 ปีที่เสียชีวิต
หรือว่าจะยอมปล่อยให้เป็นของสาธารณะตามที่กำหนดไว้

อีกอย่างมาพูดถึงด้านผู้ที่นำหนังสือนั้นมาสร้างงานหลังจากตกเป็นของสาธารณะ
ก็ควรจะมีองค์การใดเป็นผู้ดูแลว่าสมควรหรือไม่ 
เพราะอย่างน้อยๆ ก็ควรจะให้เกียรติและระลึกถึงผู้ประพันธ์ตามความเหมาะสม แม้จะล่วงลับไปแล้ว

ยิ่งพูดยิ่งงงเอง 

อยากไปงานหนังสือจะตายแล้ว
 :icอืมตามความคิดของพี่นะ คือสมมุติว่าวรรณกรรมตกเป็นของสาธารณะ แล้วคนที่ได้รับสิทธิ์ไปตีพิมพ์ผลงาน คือต้องจ่ายเงินให้กับรัฐบาล
หรือส่วนกลางที่รับผิดชอบใช่ไหม คือเท่าที่อ่านบทความมาอ่ะนะ ก็น่าเห็นนักเขียนนะ
บางคนทุ่มเทแทบเป้ฯแทบตาย on_razz:


อืมตามความคิดของพี่นะ คือสมมุติว่าวรรณกรรมตกเป็นของสาธารณะ แล้วคนที่ได้รับสิทธิ์ไปตีพิมพ์ผลงาน คือต้องจ่ายเงินให้กับรัฐบาล
หรือส่วนกลางที่รับผิดชอบใช่ไหม คือเท่าที่อ่านบทความมาอ่ะนะ ก็น่าเห็นนักเขียนนะ
บางคนทุ่มเทแทบเป็นแทบตาย  กว่างานจะออกมาได้ เรื่องนี้ทำให้นึกถึง แวนโก๊ะเลย ตอนที่เขาสร้างสรรค์ผลงานตอนยังมีชีวิตอยู่
ไม่มีใครเห็นคุณค่า พอตาย ภาพที่เขาเขียนกลับหามูลค่าไม่ได้ จริงๆ พี่คิดว่าลิขสิทธิ์งานเขียน
ทายาทน่าจะมีสิทธิ์ครึ่งนึง แล้วอีกครึ่งนึงเป็นของสาธารณะ ก็น่าจะดีนะ เพราะว่าเวลาที่ให้ลิขสิทธิ์สำนักพิมพ์ไหน
ไปพิมพ์คนที่เป็นทายาทของเจ้าของจะได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้าใครไป