ยินดีต้อนรับสู่บ้านอบอุ่นของคนรัก บอย สพล ชนวีร์

รวมรูปภาพ เทพพราหมณ์-ฮินดู - เทพนพเคราะห์

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2009, 01:50:22 PM »
เครดิต : http://www.lekpluto.org/astrogod/astgd_38.htm

ก่อนที่จะได้สดับเรื่องราว ความแค้นเคือง ระหว่าง พระราหู กับ พระอาทิตย์ และพระจันทร์ เรามาพิจารณาเรื่องราวประวัติความเป็นมาของพระราหูในทางโหราศาสตร์ และเรื่องของชาติเวรกับดาวพระเคราะห์คู่มิตร คือ เสาร์ และ พระเคราะห์คู่ศัตรู คือ พุธ กันก่อนนะครับ

                ในคัมภีร์โหราศาสตร์ ได้บันทึกเรื่องราวกำเนิดพระราหูเอาไว้ว่า พระอิศวรผู้เป็นเจ้า สร้างพระราหูขึ้นโดยใช้ศีรษะผีโขมด ๑๒ หัว มาป่นลง แล้วประพรมด้วยน้ำอมฤต ก็บังเกิดเป็นองค์พระอสุรินทร์เรืองฤทธิ์ มหิทธานุภาพ เกรียงไกรขึ้น มีสีกายเป็นทองสัมฤทธิ์ (ดำสลัว – Dark) ทรงทิพย์สุวรรณแสงสีใสสะอาด และมีวิมานเป็นสีนิล มีมหาสุบรรณราช (พญาครุฑ) เป็นพาหนะ สถิตย์ในทิศพายัพ มีกำลัง ๑๒ ธาตุลมพายุ


จากคัมภีร์โหราศาสตร์ ท่านจะเห็นว่า โหรโบราณนั้นยกย่องพระราหู เป็นเทพที่สำคัญองค์หนึ่ง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ และ พระเสาร์ ในคัมภีร์ดังกล่าว ไม่ได้บอกเลยว่า พระราหูนั้น เป็น อสูร ยักษ์มาร มีหน้าตาดุร้าย แถมยังให้อยู่ทิพย์วิมานดุจเดียวกับเทวดา และมีพาหนะเป็นครุฑ ดุจเดียวกับพระนารายณ์เสียอีก

                พระราหูนั้น เป็นศัตรูกับพระพุธ เป็นมิตรกับพระเสาร์ ในทางโหราศาสตร์ และมักจะไม่ลงรอย หรือ มักให้โทษกับดาวทุกดวง เช่น พระอาทิตย์ พระพฤหัสบดี พระอังคาร ดังเรื่องราวที่จะนำเสนอ คือ

                ในอดีตปฐมกาลล่วงมาแล้ว พระอาทิตย์ (๑) เกิดเป็นพญาครุฑ พระพฤหัสบดี (๕) เกิดเป็นพระอินทร์ พระเสาร์ (๗) เกิดเป็นพญานาค และ พระอังคาร (๓) เกิดเป็นพญาราชสีห์ ทั้งหมดดำริที่จะสร้างสระน้ำไว้ให้เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์และเทวดา  จึงพากันไปปรึกษาพระราหู (๘) พระราหูกล่าวว่า เราไม่ได้อาศัยน้ำและแผ่นดินนั้นด้วย แต่นั้นมา เทวดาทั้ง ๔ ก็เคียดแค้นต่อพระราหู ครั้นประชุมกันสร้างมหาสระ ชื่อว่า “สุรามฤต” เสร็จแล้ว ก็คิดอ่านช่วยกันรักษา ฝ่ายพระอินทร์ (๕) รักษาทางด้านเขาพระสุเมรุ พญาครุฑ (๑) รับรักษาทางด้านเขาสตบริภัณฑ์ พญาราชสีห์ (๓) รับรักษาทางป่าหิมพานต์ พญานาค (๗) รับรักษาทางด้านมหาสมุทร เป็นดังนี้อยู่จำเนียรกาลนานมา เกิดภัยพิบัติ เหตุวันหนึ่ง พญาครุฑ (๑) ไล่จะจิกกินพญานาค (๗) พญานาค หนีไปพึ่งพระราหู (๘) ขอร้องให้ช่วยชีวิต พระราหูเห็นดังนั้น จึงตวาดว่า เหวยครุฑใจบาป เองมาไล่พวกข้าทำไม พญาครุฑ ตอบว่า นาคนี้เป็นอาหารของเรา พระราหูโกรธทยานเข้าวิ่งไล่ พญาครุฑ (๑) ก็แล่นหนีไปพึ่งพระอินทร์ (๕) พระราหูไม่อาจไล่เข้าไปได้ก็หยุดอยู่ และเกิดกระหายน้ำเป็นกำลัง จึงลงไปกินน้ำในสระสุรามฤต พระอินทร์เห็นดังนั้น ก็ขว้างจักรไปถูกกายพระราหูขาดสองท่อน เดชะอำนาจที่ได้ดื่มน้ำสุรามฤต จึงมิตาย

                อีกเรื่องหนึ่ง ที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายก็คือ การที่พระราหูถูกจักรพระนารายณ์ขาดออกเป็นสองท่อน เนื่องจากไปขโมยดื่มน้ำอมฤต ด้วยการแปลงร่างเป็นเทวดาเข้าไปรับแจก แล้วพระอาทิตย์ พระจันทร์ ทราบเข้า ก็เลยไปฟ้องพระนารายณ์ จึงถูกพระนารายณ์กว้างด้วยจักรขาดออกเป็นสองท่อน แต่ไม่ตาย ด้วยเหตุที่ดื่มน้ำอมฤต เข้าไปแล้ว รายละเอียดเรื่องนี้ ผมจะไม่เล่าด้วยตนเอง แต่จะขอคัดลอกเรื่องเล่าของ “หลวงปู่พุทธอิสระ” แห่ง วัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม มาให้อ่านและพิจารณากัน จะได้ทราบแนวความคิดเห็น และเรื่องราวที่เหมือน และแตกต่างจากที่ได้ยินได้ฟังมา ดังนี้

ลูกรัก...ทำไมเจ้าจึงมีชีวิตที่ หลง หลอก และลืม ตลอดเวลา แล้วเจ้าจะรู้หรือไม่ว่า คำตอบสุดท้ายที่เจ้าจะได้ คือ ความเมา ประมาท และขาดสติ

ปัจจุบันมีผู้สนใจบูชา ราหู เป็นจำนวนมากในเวลาที่มีการเกิดปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ คือ อุปราคา ซึ่งเป็นเพียงการเกิดเงาบัง ดวงอาทิตย์ หรือ ดวงจันทร์ ตามวิถีการโคจรของดวงดาวเท่านั้นเอง

หลวงปู่ได้เป็นห่วงลูกหลาน ที่หลงงมงายกับการบูชา ราหู ซึ่งเป็นที่มาของ บทโศลกข้างต้น ที่ท่านได้กล่าวขึ้นมา เมื่อตอนแสดงธรรมประจำต้นเดือน วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2545 หลวงปู่จึงได้ดำริให้นำเรื่องของราหู ซึ่งเป็นเพียงอสูรตนหนึ่งมาลงเป็นนิทานธรรมะ ให้ลูกหลานได้อ่าน และทราบกันโดยที่มาของนิทานเรื่องนี้ มาจากหนังสือโบราณที่กล่าวถึงกำเนิดเทวะ ในตอนที่กล่าวถึงว่า...

เทพและมารทั้งหลายได้มีความรู้สึกกลัวความแก่ ความเจ็บ และความตาย อีกทั้งประจวบกับบรรดามาร และเทพทั้งหลายได้เห็น พวกพ้องมิตรสหายทั้งหลายได้หมดบุญหมดวาสนาจากอัตภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะต้องไปเกิดในที่อันไม่พึงปรารถนา ต่างฝ่ายต่างก็ให้ปริวิตกกังวล กลัวเวลาแห่งการที่ต้องไปเกิด ในที่อันไม่น่าปรารถนาของตนจะมาถึง ต่างก็พยายามแสวงหาวิธีเอาตัวรอด จากมรณะ
และภพภูมิอันไม่พึงปรารถนา


ภาพตํานานกวนเกษียรสมุทร


ทั้งเทพและพรหม มารทั้งปวงก็พากันมาประชุม ปรึกษาหาวิธีแก้มรณกรรม อันจะเกิดขึ้นแก่ตน (เข้าใจว่ายุคนั้นคงจะยังไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ จึงยังไม่มีใครบอก และสอนถึงวิธีพ้นจากเกิด แก่ เจ็บ และตาย) ทุกตนในเทวสภา และพญามารทั้งหลาย ก็เห็นสมควรจะต้องไปปรึกษาท่านผู้รู้และท่านผู้รู้เหล่านั้นก็คือ ครู อาจารย์ของตน ซึ่งเป็นฤๅษีดาบส อยู่ ณ ป่าหิมวันต์ ครั้นปรึกษาเป็นที่ตกลงกันเช่นนั้นแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็สำแดงเดชานุภาพ เหาะมาสู่ ณ ที่พักแห่งอาจารย์ของตน และพากันแจ้งเหตุที่มาหาให้แก่อาจารย์ของตนได้ฟัง บรรดาเทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ของเทพและมารทั้งหลาย ได้เห็นความปริวิตกของสัทธิวิหาริก คือ ลูกศิษย์ของตนเช่นนั้น ก็นั่งพิเคราะห์ดูด้วยญาณ (ซึ่งมิได้ประกอบด้วยปัญญาหยั่งรู้) ก็ได้รู้วิธีที่จะเอาชนะมรณกรรมได้ ด้วยการหาของบริสุทธิ์ และศักดิ์สิทธิ์ทั้งพันชนิด และน้ำบริสุทธิ์ทั้งหมื่นโลกธาตุมารวมกัน และ คละประกอบด้วยเทพมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่หมื่นคาบ และใช้เทพโอสถที่มีชีวิตทั้ง ๗ ชนิด บดเข้าด้วยกันด้วยภูเขาสิเนรุมาศ และใช้น้ำตาของพญานาคทั้ง ๘ เป็นตัวผสาน

เมื่อเทพฤๅษีทั้งหลายได้รู้วิธีเอาชนะมรณกรรมแล้ว ก็แจ้งแก่บรรดาเทพและมาร ผู้เป็นลูกศิษย์ พร้อมกับให้แยกย้ายกันไปหาสรรพยาทั้งหลาย เทพและมารทั้งปวง เมื่อได้ฟังมาว่ามีวิธีที่จะเอาชนะมรณกรรมได้โดยการกวนยาวิเศษ (หรือ น้ำอมฤต) ก็โห่ร้องด้วยความลิงโลด แล้วจัดแบ่งหน้าที่ที่จะไปเอาของวิเศษทั้งหลายในทิศทางต่าง ๆ มารวมกัน

ครั้นเมื่อได้ของวิเศษมาครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว เทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ทั้งหลายก็มีบัญชาให้พญาครุฑไปยกเขาพระสุเมรุ มาทำเครื่องบด แล้วให้พระธรณีเนรมิตสถานที่บด พร้อมทั้งสั่งการบรรดาเทพและมารทั้งปวง ให้เทของวิเศษทั้งหลายรวมกัน แล้วให้พญาครุฑวางเขาพระสุเมรุทับ แล้วสั่งให้พญานาคทั้งเจ็ดเนรมิตกายให้ยืดยาวประดุจดังเชือกเส้นใหญ่ทั้งเจ็ดรวมกัน ให้เทวะทั้งหลายจับปลายเชือกด้านซ้าย ยักษ์และมารทั้งหลายจับปลายเชือกด้านขวา เทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ของเทวดาอยู่ด้านหน้า เทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ของยักษ์และมารทั้งหลายอยู่ด้านหลัง ทั้งสองด้านได้พร้อมกันสาธยายเทพมนต์ ในขณะที่เทพและมารช่วยกันฉุดเชือกนาค เพื่อให้เขาพระสุเมรุนั้นหมุนไปทางด้านซ้ายและขวา โดยมีพญาครุฑคอยหัวเหาะพยุงเขาพระสุเมรุอยู่ด้านบน ยาทิพย์นี้ใช้เวลาบดอยู่เจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวันจึงจะสำเร็จ

ในขณะที่กำลังบดยาทิพย์ด้วยความขะมักเขม้น เหล่าเทวดาทั้งหลายก็ออกอุบายให้ยักษ์และมารทั้งปวงออกกำลังดึงแต่ฝ่ายเดียว เมื่อถึงคราวที่ฝ่ายตนจะดึงก็พากันใช้นิ้ว เอื้อมไปแหย่สะดือพญานาค เมื่อพญานาคโดนแหย่สะดือ ก็ให้รู้สึกแสยง ยกตัวให้สั้นลง ในขณะที่ยักษ์ทั้งหลายดึงอยู่ด้วยก็ทำให้เขาพระสุเมรุหมุนไปทางเทวดา ทำให้ดูประหนึ่งว่า เทวดาดึงให้หมุนด้วยกำลัง และเป็นจังหวะที่เทวดาทั้งปวงส่งเสียงให้เหมือนว่ากำลังจะออกแรงอย่างเต็มที่ ทำอยู่ดังนี้ตลอดไป เจ็ดปี เจ็ดเดือน และเจ็ดวัน

ครั้นเมื่อยาทิพย์ปรุงสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว เทพฤๅษี พญาครุฑ พญานาค ยักษ์มาร ทั้งหลายก็พากันอ่อนแรงไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ เหล่าเทวดาทั้งหลายเห็นได้ที ก็ชิงเอายาทิพย์ทั้งหลาย เหาะขึ้นไปยังทิพย์วิมานของตน

กล่าวฝ่ายพญามาร ยักษ์ ครุฑ และนาคทั้งหลาย เมื่อได้สติฟื้น ก็ได้พากันมาสำรวจดูยาทิพย์ จึงได้รู้ว่าหายไปหมดแล้วพร้อมกับหมู่เทวดาทั้งปวง ก็พากันโกรธแค้นเทวดา แต่ก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้ เพราะครูฤๅษีได้ห้ามไว้ว่า เมื่อเทวดานั้นได้กินยาทิพย์นั้นเข้าไปแล้ว จักเป็นผู้มีเดช มีอานุภาพมาก และฆ่าก็จะไม่ตาย เราทั้งหลายไม่สามารถต่อกรได้ มารทั้งหลาย ต่างฝ่ายต่างก็เก็บเอาความเจ็บแค้นเอาไว้ในอุรา แล้วพากันกลับไปยังที่อยู่ของตน

ในหมู่ของมารทั้งหลาย ยังมียักษ์ตนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า อสุรินทรราหู ซึ่งเป็นบุตรของ นางยักษ์ชื่อวิปจิตกับ เทพชื่อพฤหัส ได้ครุ่นคิดเคียดแค้นแน่นอยู่ในอก คิดหาวิธีที่จะชิงเอายาทิพย์กลับคืนมาจากเทวดาให้ได้ คิดไปคิดมาจึงนึกขึ้นมาได้ว่า บิดาของเราคือพระพฤหัส ซึ่งเป็นเทวดา ถึงเราจะมีมารดาเป็นยักษ์ แต่เราก็มีเลือดของพ่ออยู่ด้วย ถ้าเราแปลงกายเป็นเทพไปเข้าร่วมหมู่ของเทวดาเพื่อจะขอแบ่งยาทิพย์ พวกเทพเหล่านั้นคงจะจับเราไม่ได้ ถึงแม้ว่าพวกเทพเหล่านั้นจะสามารถสัมผัสกลิ่นอันเป็นทิพย์ได้ เราก็มีกลิ่นกายของเทวดาอยู่ในตัวเหมือนกัน พวกมันคงจะไม่รู้หรอกน่า ว่าเราแปลงกายไป คิดดังนั้นแล้ว อสุรินทรราหูร่ายเวทย์จำแลงกายเป็นเทวดา แล้วก็เหาะขึ้นไปสู่เทวสภาพร้อมกับเข้าไปสู่หมู่ของเทวดาทั้งหลายเพื่อขอส่วนแบ่งยาทิพย์

ขณะนั้นเหล่าเทวดาทั้งหลายก็กำลังประชุมฉลองชัยชนะ ที่สามารถใช้กลอุบายเอาชนะพญามารและยักษ์ทั้งหลายได้ พร้อมกับชิงเอายาทิพย์มาเป็นของตน ได้สำเร็จ และแจกจ่ายยาทิพย์ให้แก่เหล่าเทวดาทั้งหลาย

ขณะนั้นอสุรินทรราหู จำแลงก็ได้รับส่วนแบ่งยาทิพย์กับเขาด้วย มิทันช้า อสุรินทรราหูจำแลงก็รีบกลืนยาวิเศษนั้นทันที ยาก็ได้สำแดงเดช ทำให้อสุรินทรราหู และเทวดาทั้งปวงมีอาการมึนเมาไปกันทั่วหน้า มนต์ที่จำแลงแปลงกายก็คลายออก เทพอาทิตย์ และจันทร์ ได้สังเกตเห็นว่า อสูรแปลงกายมากินยา ก็พากันโวยวาย และเรียกพวกเทวดาให้ช่วยกันจับ เป็นที่ตะลุมบอนโกลาหล แต่ก็หาจับได้ไม่

เมื่อจับเป็นไม่ได้ ก็ต้องจับตาย เหล่าเทวดาทั้งหลายก็พากัน รุมตีฟันอสุรินทรราหู เป็นการใหญ่ แต่ก็หาได้ทำอันตรายแก่อสุรินทราหูได้ไม่ แถมยังแสดงเดชา รุกรบ ต่อยตี หมู่เทวดาทั้งหลายจนพ่ายแพ้หนีกระเจิดกระเจิง เหล่าเทพและเทวดาทั้งหลายก็พากันวุ่นวาย (ถ้ามีคำถาม ถามว่าก็ไหนเมื่อเทพเหล่านั้น ก็ได้กินยาทิพย์เหมือนกัน แต่ทำไมถึงสู้ยักษ์ตนเดียวไม่ได้ ข้อนี้ต้องวินิจตรงชื่อ คงจะเข้าใจได้ง่ายดี ที่ว่าต้องวินิจฉัยตรงชื่อ ก็เพราะ ตามความหมายของคำว่า ยักษ์ หรือ อสูร แปลว่า ผู้ไม่พ่าย ผู้มีเดช ผู้มีอำนาจ ผู้มีกำลัง ส่วนคำว่า เทวดา เทพ แปลว่า ผู้มีรูปสวย ผู้มีบุญ ผู้มีสุข ผู้มีวาสนา) เพราะฉะนั้น เหล่าเทวดาถึงจะมีจำนวนมาก แต่ก็หาได้มีกำลัง มีเดชเท่ากับอสูรไม่ เมื่ออสุรินทรราหู ได้ชัยชนะแก่หมู่เทวาดา ก็มีจิตกำเริบ ไล่ทำร้ายและทำลายอาละวาดไปทั่วแดนสวรรค์

อ่านมาถึงตรงนี้ มันทะแม่ง ๆ ยังไงไม่ทราบ ก็เคยต้องออกมาค้านสักหน่อย เพราะคำแปลของหลวงปู่นั้น มันไม่เข้ากับพจนานุกรม หรือตรงกับรากศัพท์บาลี สันสกฤตเลยครับ ในความเห็นของผมนะครับ ที่บรรดาเหล่าเทวดาไม่อาจทำร้ายราหูได้นั้น เพราะขนาดรูปร่างที่ต่างกันมาก ราวภูเขา กับ ต้นไม้ ต่างหากล่ะครับ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ราหูนั้น มีรูปร่างใหญ่โตขนาดจับพระอาทิตย์ กับ พระจันทร์ มาอมได้อย่างสบาย นับประสาอะไรเทพองค์อื่น ๆ ที่คงมีขนาดไล่เรี่ยกับพระอาทิตย์ และ พระจันทร์ จะทำอะไรราหูได้ ยิ่งดื่มยาวิเศษ หรือ น้ำอมฤต เข้าไปด้วยแล้ว ต่อให้เทวดามาเป็นร้อยเป็นพัน ราหูก็บ่ยั่นหรอกครับ

กำลังสนุกเชียวครับ เนื้อที่ในการนำเสนอก็หมดลงซะแล้ว ท่านผู้อ่าน อ่านแล้ว อย่าเชื่ออะไรต่อมิอะไรไปทั้งหมดนะครับ ให้ใช้วิจารณญาณ เลือกเฟ้นเอาส่วนดีที่เป็นประโยชน์ เป็นเครื่องเตือนสติ และก่อให้เกิดปัญญาในการพิจารณาว่า เอ.ที่เขาเล่ามาเนี่ยะ เขามีวัตถุประสงค์อันใด แม้เรื่องราวจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่น่าจะมีจุดประสงค์ในการนำเสนอที่เหมือนกันแน่นอน จับจุดให้ได้นะครับ แล้วท่านจะได้อรรถรส และสติปัญญา ควบคู่ไปพร้อมกัน พบกันใหม่ในตอนหน้า สวัสดี.         




ออฟไลน์ ฟ้า

  • *
  • 31
  • 0
  • เพศ: หญิง
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:10:08 AM »
สวยมากค่ะทำได้ไงเนี่ย :icon_evil:

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 02:13:02 PM »
ไปเจอมาค่ะไม่รู้เคยเห็นกันรึยัง

credit: http://www.watsaman.com/nopakaor.htm



พระอาทิตย์ (เทวนาครี: सूर्य, สูรยะ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง มีอำนาจเหนือกว่าเทวดานพเคราะห์ทั้งหลาย ในคติไทย พระอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาจากราชสีห์ 6 ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีแดง แล้วเสก ได้เป็นพระอาทิตย์ มีสีวรกายแดง ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และแสดงถึงสระทั้งหมดในภาษาบาลี (อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ)พระอาทิตย์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางก้าวร้าวรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอาทิตย์ หรือมีพระอาทิตย์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์รุนแรง ตัดสินใจไว เฉียบขาด รักอิสระ แต่ซื่อสัตย์ ตามนิทานชาติเวร พระอาทิตย์เป็นมิตรกับพระพฤหัสบดี และเป็นศัตรูกับพระอังคารในโหราศาสตร์ไทย พระอาทิตย์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๑ (เลขหนึ่งไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากราชสีห์ 6 ตัวนี้เอง จึงทำให้มีกำลังพระเคราะห์เป็น 6 สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ก็คือปางถวายเนตร


พระจันทร์ (เทวนาครี: चंद्र) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระจันทร์ถูกสร้างขึ้นมาจากเทวธิดา (นางฟ้า) ๑๕ องค์ บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล แล้วเสกได้เป็นพระจันทร์ มีสีวรกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออก และแสดงถึงอักษรวรรค กะ (ก ข ค ฅ ฆ ง )พระจันทร์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางนุ่มนวลอ่อนโยน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันจันทร์ หรือมีพระจันทร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร (แต่อาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก) ตามนิทานชาติเวร พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดีในโหราศาสตร์ไทย พระจันทร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๒ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากนางฟ้า ๑๕ องค์ จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์ก็คือปางห้ามสมุทร



พระอังคาร (เทวนาครี: मंगल, มังคละ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระอังคารถูกสร้างขึ้นมาจากมหิงสา (ควาย) ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีชมพูหม่น แล้วเสกได้เป็นพระอังคาร มีสีวรกายชมพู ทรงมหิงสาเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค จะ (จ ฉ ช ฌ ญ)พระอังคาร เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรงและเร่าร้อน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอังคาร หรือมีพระอังคารสถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน ตามนิทานชาติเวร พระอังคารเป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ในโหราศาสตร์ไทย พระอังคารถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๓ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากมหิงสา ๘ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคารก็คือปางไสยาสน์และภายหลังมีปางลีลาเพิ่มอีกหนึ่งปาง

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 02:17:35 PM »



พระพุธ (เทวนาครี: बुध) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพุธถูกสร้างขึ้นมาจากคชสาร (ช้าง) ๑๗ เชือก บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเขียวใบไม้ แล้วเสกได้เป็นพระพุธ มีพระวรกายเขียว ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ฏะ ใหญ่ (ฏ ฐ ฑ ฒ ณ)พระพุธเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนโยนไพเราะ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพุธ หรือมีพระพุธสถิตร่วมกับลัคนา มักชอบพูดชอบเจรจา สุขุมรอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย ตามนิทานชาติเวร พระพุธเป็นมิตรกับพระจันทร์ และเป็นศัตรูกับพระราหูในโหราศาสตร์ไทย พระพุธถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๔ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคชสาร ๑๗ เชือก จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๗ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธก็คือปางอุ้มบาตร



พระพฤหัสบดี (เทวนาครี: बृहस्पति) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจากฤษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเหลืองส้ม แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีสีวรกายส้มแดง ทรงมฤค (กวาง) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ผ พ ภ ม) พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของเทวดาทั้งหลาย จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดีพระพฤหัสบดีเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลดังเช่นนิสัยแห่งพระฤษี นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพฤหัสบดี หรือมีพระพฤหัสบดีสถิตร่วมกับลัคนา มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุมรอบคอบ เมตตาปรานีต่อผู้อื่น ตามนิทานชาติเวร พระพฤหัสบดีเป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์ในโหราศาสตร์ไทย พระพฤหัสบดีถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๕ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากฤษี ๑๙ ตน จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๙ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีก็คือปางสมาธิ



พระศุกร์ (เทวนาครี: बृहस्पति) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระศุกร์ถูกสร้างขึ้นมาจากคาวี (วัว) ๒๑ ตัว (บางตำรากล่าวว่าสร้างจากเทพยาธร-ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีฟ้าอ่อน แล้วเสกได้เป็นพระศุกร์ มีสีวรกายฟ้า ทรงคาวีเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ และแสดงถึงเศษวรรคที่ ๒ (ส ห ฬ อ) พระศุกร์จัดเป็นครูของพวกยักษ์ ซึ่งตรงข้ามกับพระพฤหัสบดีที่เป็นครูของเทพพระศุกร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนหวาน แต่ค่อนข้างไปทางใฝ่ต่ำ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันศุกร์หรือมีพระศุกร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท ตามนิทานชาติเวร พระศุกร์เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ในโหราศาสตร์ไทย พระศุกร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๖ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคาวี ๒๑ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์ก็คือปางรำพึง

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 02:19:43 PM »

พระเสาร์ (เทวนาครี:शनि, ศนิ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเสาร์ถูกสร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ (เสือ) ๑๐ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ แล้วเสกได้เป็นพระเสาร์มีสีวรกายดำคล้ำ ทรงพยัคฆ์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ตะ เล็ก (ต ถ ท ธ น)พระเสาร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันเสาร์หรือมีพระเสาร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม ตามนิทานชาติเวร พระเสาร์เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ในโหราศาสตร์ไทย พระเสาร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๗ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ ๑๐ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์ก็คือปางนาคปรก



พระราหู (เทวนาครี: राहु) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย กำเนิดของพระราหูมีอยู่ด้วยกันสองตำนานด้วยกันคือ
๑.พระราหูถูกสร้างขึ้นมาโดยพระอิศวร หรือพระศิวะจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีทอง แล้วประพรมด้วยน้ำอัมฤตเสกได้เป็นพระราหู มีสีวรกายสีนิลออกไปทางทองแดง ทรงสุบรรณ (ครุฑ) เป็นพาหนะ มีวิมานสีนิลอยู่ในอากาศ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ทิศพายัพ) และแสดงถึงเศษวรรคที่ ๑ (ย ร ล ว)
๒.พระราหูเป็นโอรสของท้าววิประจิตติและนางสิงหิกาหรือนางสิงหะรา เมื่อเกิดมามีกายเป็นยักษ์และมีหางเป็นนาคพระราหูเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางลุ่มหลงมัวเมา พระราหูเป็นมิตรกับพระเสาร์และเป็นศัตรูกับพระพุธอันมีเหตุตามนิทานชาติเวรในอดีตชาติ พระราหูได้เกิดมาเป็นน้องร่วมท้องเดียวกันกับเทวดานพเคราะห์อีก ๒ องค์ คือ พระอาทิตย์และพระจันทร์ โดยพระราหูเกิดเป็นน้องสุดท้อง ครั้งหนึ่ง พระราหูได้ร่วมทำบุญถวายพระที่มารับบิณฑบาตร่วมกับพี่ทั้ง ๒ คน พระอาทิตย์ตักบาตรในครั้งนั้นด้วยภาชนะทอง พระจันทร์ตักบาตรด้วยภาชนะเงิน ส่วนพระราหูตักบาตรด้วยภาชนะที่ทำมาจากกะลามะพร้าวเมื่อทั้ง ๓ พี่น้องได้มาเกิดเป็นเทวดานพเคราะห์ พระอาทิตย์จึงมีรัศมีและวรรณะเปล่งปลั่งดุจทองคำ พระจันทร์มีรัศมีและวรรณะเป็นสีขาวสว่างดุจเงิน และพระราหูมีรัศมีและวรรณะเป็นสีนิลออกไปทางทองแดง
(แต่ในบางตำราก็ว่ากายของพระราหูนั้นมีสีดำบ้าง สีทองบ้าง แตกต่างกันไป)

สาเหตุที่พระราหูมีกายเพียงครึ่งท่อนมีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งที่เหล่าเทวดาได้ทำพิธีกวนเกษียรสมุทรเพื่อให้ได้น้ำอัมฤตนั้นมีทั้งเทวดาและยักษ์ทั้งหลายเข้าร่วมทำพิธี พระราหูได้แอบอยู่ในกลีบเมฆ เมื่อทำพิธีสำเร็จพระราหูจึงรีบลอบดื่มน้ำอัมฤตที่เกิดขึ้นนั้น พระอาทิตย์และพระจันทร์ได้เห็นเข้าจึงรีบเอาความนั้นไปทูลบอกพระนารายณ์หรือพระวิษณุ พระนารายณ์ทราบจึงขว้างจักรตัดไปถูกกลางตัวพระราหูขาดกลายเป็นสองท่อน แต่ด้วยว่าน้ำอัมฤตที่พระราหูได้ดื่มนั้นไหลไปจนถึงกลางตัวพระราหูแล้วพอดี ครึ่งบนของพระราหูที่ถูกตัดออกจึงกลายเป็นอมตะ ส่วนครึ่งร่างนั้นได้กลายมาเป็นพระเคราะห์องค์ที่ ๙ แห่งเหล่าเทวดานพเคราะห์ซึ่งก็คือ พระเกตุจากนั้นเมื่อครั้งใดที่พระราหูได้พบเจอพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ พระราหูก็จะจับมากลืนกินด้วยความโกรธแค้นที่เทวดาทั้งสององค์นำเรื่องไปทูลพระนารายณ์ แต่อมไว้ในปากได้ไม่นานก็ต้องคายออกมาเพราะทนความร้อนและรัศมีของเทวดานพเคราะห์ทั้งสองไม่ได้ เกิดเป็นเหตุของปรากฏการณ์สุริยุปราคาและจันทรุปราคาตามคติความเชื่อของคนโบราณ
ในโหราศาสตร์ไทย พระราหูถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๘ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๒


พระเกตุ (เทวนาครี: केतु) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเกตุถูกสร้างจากหางของพระราหู เนื่องจากพระราหูแอบไปขโมยน้ำอมฤตที่เทวดาได้กวนไว้ดื่ม พระอินทร์โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวพระราหู เดชะฤทธิ์น้ำอมฤต พระราหูจึงไม่ตาย และกลับไปยังวิมานเดิม หางที่ขาดนั้นเองก็กลายเป็นพระเกตุ ประจำในทิศท่ามกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ในการพยากรณ์ จึงไม่นิยมพิจารณาพระเกตุมากนักในโหราศาสตร์ไทย พระเกตุถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๙

ออฟไลน์ bobenz

  • *
  • 5780
  • -1
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 05:51:26 PM »
ไม่เคยเห็นอ่า สวยมากเลยนานะจัง เก่งง่า หาได้ไง  :icon_rolleyes:

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 11:01:50 AM »
ไม่เคยเห็นอ่า สวยมากเลยนานะจัง เก่งง่า หาได้ไง  :icon_rolleyes:

พอดีนานะจังนั่งหาภาพพระคเนฆเลยเจอค่ะพี่  เค้าวาดสวยมากเลยเนอะโดยเฉพาะพระอังคารกับพระจันทร์

ออฟไลน์ กันย์ณภัทร

  • *
  • 2248
  • -1
  • จงปลดโซ่ตรวนแห่งพันธนาการ ด้วยคมดาบแห่งใจตน
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 04:48:33 PM »
ภาพสวยจริงๆ
ชอบพระจันทร์อ่า ละมุนมากกกกก
พระอังคารหล่อมากกกกกกกกกกกกกกก>///<!!

ออฟไลน์ rainbow

  • *
  • 2482
  • 0
  • เพศ: หญิง
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มกราคม 08, 2011, 10:10:10 PM »
สวยๆๆๆๆ แล้วเอามาฝากอีกนะค้ะพี่นานะ
เมื่อไร้รัก   ไร้ชีวิต   ไร้จิตใจ

ยังอยู่ได้   แค่ร่างกาย    ไร้วิญญาณ


ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 12:20:41 PM »
พระเพลิง



พระวายุ



พระธรณี




พระคงคา







พระแม่โพสพ





credit : http://montradevi.makewebeasy.com/index.php?type=webboard&add=2&update=1&id=36089

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 12:58:19 PM »
เป็นภาพเคลื่อนไหวค่ะ สวยดี

ภาพพระพุทธเจ้า



ภาพนี้เหมือนกับภาพ จักร ทั้ง 7 เลย
















ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 01:09:34 PM »
ภาพนี้ใช่ภาพพระศิวะไหมคะ

น้องกาฬรหัสย์ว่า ภาพนี้คือ อรรถนารีศวร




ที่มาของ อรรถนารีศวร (ตกลงสะกดไงกันแน่อ่ะ)

พระศิวะที่รวมร่างกับพระแม่อุมานี้ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อรรธนารีศวร (अर्धनारीश्वर) ซึ่งมาจากคำ 3 คำรวมกันคือ

1. อรรธ (अर्ध) แปลว่า ครึ่ง (จำนวน), กึ่งหนึ่ง, ทวิเพศ
2. นารี (नारी) แปลว่า นาง, สตรี
3. อีศวร (ईश्वर) แปลว่า ผู้เป็นใหญ่, พระผู้เป็นเจ้า

ดังนั้นคำนี้จึงหมายถึง ภาวะเพศคู่ระหว่าสตรี (พระอุมา)กับพระอีศวร (พระศิวะ) นั่นเอง และยังมีการเรียกอีกอย่างว่า อรรถนารีนเรศวร (अर्धनारीनरेश्वर) โดยคำว่า นเรศวร นั้นก็มาจากคำว่า "นร" ที่แปลว่า มนุษย์หรือผู้ชาย กับคำว่าอีศวร เพิ่มเข้าไปนั่นเอง แล้วบางครั้งก็อาจจะเรียกปางนี้ว่า อรรธนระ อรรธนารี อีศวร (अर्ध नर अर्ध नारी ईश्वर) ก็มี


เมื่อเราทราบความหมายของชื่อปางนี้แล้ว บางท่านก็อาจจะใช้สรรพนามเรียกปางนี้ใหม่ในอีกแบบก็ย่อมได้ เพียงแต่ขอให้เข้าใจว่าปางๆ นี้นั้นสื่อถึงการรวมกันของเพศหญิงกับเพศชาย ดังนั้นจึงมีหลายท่านเรียกปางนี้ต่างกันออกไปเช่น

1. ศิวะศักติ (शिवशक्ति) อันมาจากพระนามของพระศิวะ ที่แปลว่า พลังแห่งเพศชาย, ความดีงาม, ความเป็นบรมสุข, สวรรค์, ผู้อำนวยประโยชน์สุข, สง่างาม, ความเมตตากรุณา กับพระนามหนึ่งของพระอุมาว่า "ศักติ" ซึ่งหมายถึง พลังแห่งเพศหญิง, อำนาจ, พละกำลัง, พรสวรรค์, ความพยายาม, ศักยภาพ, การมีประสิทธิผล, หอกซัด (เหล็ก)

ซึ่งในการเรียกปางนี้ว่า "ศิวะศักติ" แบบนี้ก็คือการนำความหมายเดิมของคำว่า "อรรธนารีศวร" มารวมกันให้เกิดเป็นคำใหม่ อันหมายถึงความเมตตากรุณากับพลังอำนาจนั่นเอง ก็ถือว่าไม่ผิดจากจุดประสงค์เดิมของปางนี้ และทางทิเบตก็มักจะใช้เรียกปางนี้ว่า ศิวะศักติด้วย

2. ศิวะปารวตี (शिवपार्वती) ก็จะคล้ายๆ กับคำว่า "ศิวะศักติ" เพราะเป็นคำที่สื่อตรงไปถึงรูปลักษณ์ของปางนี้ อันเป็นการรวมร่างของพระศิวะกับพระแม่ปารวตีนั่นเอง

3. ศิวะราตรี (शिवरात्रि) ก็จะมาจากคำว่า "ศิวะ" ซึ่งอธิบายไปแล้วในข้างต้น คราวนี้จะมาอธิบายในคำว่า "ราตรี" ให้ฟังทั้งในด้านเทพปกรณัมและอักษรศาสตร์



ราตรี นั้นตามศัพท์ จะหมายถึง กลางคืน, ภาวะที่ตรงข้ามกับสว่าง ดังนั้นจากความหมายนี้ เรามักจะเปรียบพระผู้เป็นเจ้าว่าเป็นดั่งแสงสว่าง ดังนั้นภาวะตรงข้ามของพระองค์ในรูปแบบ หยิน-หยาง ก็ต้องเป็นภาวะที่มืดมิดนั่นเอง จึงถูกนำมาจับคู่ให้เป็นศิวะราตรี



ราตรีเทวี นั้นมีปรากฏพระนามอยู่ในฤคเวท โดยมักกล่าวพระนามร่วมกับพระสวิตฤ หรือ สุริยเทพ และกล่าวร่วมกับเทวีอุษา โดยมักกว่าว่าพระนางนั้นเป็นพี่สาวของเทวีอุษา และเป็นชายาของสุริยเทพทั้งคู่



พระเทวีราตรี นั้นถือว่าเป็นพระเทวีผู้ให้ความคุ้มครองในเวลากลางคืน เป็นราชินีแห่งเหล่าดาวฤกษ์นักษัตร พระองค์จะคอยคุ้มครองมนุษย์ไม่ให้ได้รับภัยร้ายในเวลากลางคืน เช่น ถูกปล้นชิง, ถูกสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืนทำร้าย, การหลงทางในเวลากลาคืน เป็นต้น



ต่อมาในยุคหลังความสำคัญในพระนามเทวีองค์นี้ได้เลือนลางหายไป แล้วต่อมาได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ โดยยกให้เป็นพระนามหนึ่งของพระอุมา ซึ่งมักจะเรียกโดยรวมว่า "ปางกาลราตรี" ดังจะเห็นได้จากหนึ่งในภาพหรือปางหนึ่งของนวทุรคานั่นเอง



ดังนั้นการเรียกปางอรรธนารีศวร ว่า ศิวะราตรี นั้นก็ถือว่าไม่ผิด โดยมีเหตุปัจจัยมาจากความหมายและมุมมองของแต่ละท่านนั่นเอง



แต่การเรียกปางนี้ว่า "ศิวะราตรี" นั้นการจะเรียกได้ก็ต้องเกิดจากความเข้าใจที่มาที่ไปเสียก่อน
credit : http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1303.0
ใส่คำบรรยายภาพ
รูปนี้ใช่พระศิวะไหม : อรรถนารีศวร

ที่มาของ อรรถนารีศวร (ตกลงสะกดไงกันแน่อ่ะ)

พระศิวะที่รวมร่างกับพระแม่อุมานี้ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อรรธนารีศวร (अर्धनारीश्वर) ซึ่งมาจากคำ 3 คำรวมกันคือ

1. อรรธ (अर्ध) แปลว่า ครึ่ง (จำนวน), กึ่งหนึ่ง, ทวิเพศ
2. นารี (नारी) แปลว่า นาง, สตรี
3. อีศวร (ईश्वर) แปลว่า ผู้เป็นใหญ่, พระผู้เป็นเจ้า

ดังนั้นคำนี้จึงหมายถึง ภาวะเพศคู่ระหว่าสตรี (พระอุมา)กับพระอีศวร (พระศิวะ) นั่นเอง และยังมีการเรียกอีกอย่างว่า อรรถนารีนเรศวร (अर्धनारीनरेश्वर) โดยคำว่า นเรศวร นั้นก็มาจากคำว่า "นร" ที่แปลว่า มนุษย์หรือผู้ชาย กับคำว่าอีศวร เพิ่มเข้าไปนั่นเอง แล้วบางครั้งก็อาจจะเรียกปางนี้ว่า อรรธนระ อรรธนารี อีศวร (अर्ध नर अर्ध नारी ईश्वर) ก็มี


เมื่อเราทราบความหมายของชื่อปางนี้แล้ว บางท่านก็อาจจะใช้สรรพนามเรียกปางนี้ใหม่ในอีกแบบก็ย่อมได้ เพียงแต่ขอให้เข้าใจว่าปางๆ นี้นั้นสื่อถึงการรวมกันของเพศหญิงกับเพศชาย ดังนั้นจึงมีหลายท่านเรียกปางนี้ต่างกันออกไปเช่น

1. ศิวะศักติ (शिवशक्ति) อันมาจากพระนามของพระศิวะ ที่แปลว่า พลังแห่งเพศชาย, ความดีงาม, ความเป็นบรมสุข, สวรรค์, ผู้อำนวยประโยชน์สุข, สง่างาม, ความเมตตากรุณา กับพระนามหนึ่งของพระอุมาว่า "ศักติ" ซึ่งหมายถึง พลังแห่งเพศหญิง, อำนาจ, พละกำลัง, พรสวรรค์, ความพยายาม, ศักยภาพ, การมีประสิทธิผล, หอกซัด (เหล็ก)

ซึ่งในการเรียกปางนี้ว่า "ศิวะศักติ" แบบนี้ก็คือการนำความหมายเดิมของคำว่า "อรรธนารีศวร" มารวมกันให้เกิดเป็นคำใหม่ อันหมายถึงความเมตตากรุณากับพลังอำนาจนั่นเอง ก็ถือว่าไม่ผิดจากจุดประสงค์เดิมของปางนี้ และทางทิเบตก็มักจะใช้เรียกปางนี้ว่า ศิวะศักติด้วย

2. ศิวะปารวตี (शिवपार्वती) ก็จะคล้ายๆ กับคำว่า "ศิวะศักติ" เพราะเป็นคำที่สื่อตรงไปถึงรูปลักษณ์ของปางนี้ อันเป็นการรวมร่างของพระศิวะกับพระแม่ปารวตีนั่นเอง

3. ศิวะราตรี (शिवरात्रि) ก็จะมาจากคำว่า "ศิวะ" ซึ่งอธิบายไปแล้วในข้างต้น คราวนี้จะมาอธิบายในคำว่า "ราตรี" ให้ฟังทั้งในด้านเทพปกรณัมและอักษรศาสตร์



ราตรี นั้นตามศัพท์ จะหมายถึง กลางคืน, ภาวะที่ตรงข้ามกับสว่าง ดังนั้นจากความหมายนี้ เรามักจะเปรียบพระผู้เป็นเจ้าว่าเป็นดั่งแสงสว่าง ดังนั้นภาวะตรงข้ามของพระองค์ในรูปแบบ หยิน-หยาง ก็ต้องเป็นภาวะที่มืดมิดนั่นเอง จึงถูกนำมาจับคู่ให้เป็นศิวะราตรี



ราตรีเทวี นั้นมีปรากฏพระนามอยู่ในฤคเวท โดยมักกล่าวพระนามร่วมกับพระสวิตฤ หรือ สุริยเทพ และกล่าวร่วมกับเทวีอุษา โดยมักกว่าว่าพระนางนั้นเป็นพี่สาวของเทวีอุษา และเป็นชายาของสุริยเทพทั้งคู่



พระเทวีราตรี นั้นถือว่าเป็นพระเทวีผู้ให้ความคุ้มครองในเวลากลางคืน เป็นราชินีแห่งเหล่าดาวฤกษ์นักษัตร พระองค์จะคอยคุ้มครองมนุษย์ไม่ให้ได้รับภัยร้ายในเวลากลางคืน เช่น ถูกปล้นชิง, ถูกสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืนทำร้าย, การหลงทางในเวลากลาคืน เป็นต้น



ต่อมาในยุคหลังความสำคัญในพระนามเทวีองค์นี้ได้เลือนลางหายไป แล้วต่อมาได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ โดยยกให้เป็นพระนามหนึ่งของพระอุมา ซึ่งมักจะเรียกโดยรวมว่า "ปางกาลราตรี" ดังจะเห็นได้จากหนึ่งในภาพหรือปางหนึ่งของนวทุรคานั่นเอง



ดังนั้นการเรียกปางอรรธนารีศวร ว่า ศิวะราตรี นั้นก็ถือว่าไม่ผิด โดยมีเหตุปัจจัยมาจากความหมายและมุมมองของแต่ละท่านนั่นเอง



แต่การเรียกปางนี้ว่า "ศิวะราตรี" นั้นการจะเรียกได้ก็ต้องเกิดจากความเข้าใจที่มาที่ไปเสียก่อน
credit  : http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1303.0
พระนารายณ์




พระพิฆเนศ









credit : http://www.montradevi.org/

ออฟไลน์ ปากกาเวทมนตร์

  • รักการอ่าน รักเสียงเพลง
  • **
  • 1161
  • 0
  • เพศ: หญิง
    • เฟซบุ๊คของเราเอง
    • อีเมล์
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 02:25:08 PM »
ภาพเคลื่อนไหว ชอบมากเลยค่ะ สวยมาก

ออฟไลน์ กาฬฯ

  • *
  • 6333
  • -4
  • เพศ: หญิง
  • ஐ~ เผ่าพันธุ์นาคีซ่อนพิษไว้เสมอ ~ஐ
ภาพเทพพราหมณ์ฮินดู - เทพนพเคราะห์
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 03:42:56 PM »
ภาพแต่ละภาพงามมาก  อยากเอาไปเป็นแบบปักครอสติช  โดยเฉพาะภาพพระพุทธเจ้า และพระพิฆเณศ

แล้วก็......กาฬไม่เคยเห็นอรรธนารีศวรภาพไหนดูทรงพลังเท่าภาพนี้เลย
 8)
**จักรวาลนี้กว้างไกลแลไพศาลนัก เราเป็นเพียงละอองธุลีอันน้อยนิดล่องลอย ยากที่จะเรียนรู้ทุกสรรพสิ่งให้จบครบสิ้น
สิ่งที่เรามิเคยเห็น ใช่ว่าจะมิมี แลสิ่งที่มิเคยได้ประสบ ก็ใช่ว่าจะมิเคยเกิดขึ้น**