ยินดีต้อนรับสู่บ้านอบอุ่นของคนรัก บอย สพล ชนวีร์

การกินเนื้อสัตว์บาปมั้ย: ข้อคิดดีๆและมุมมองที่หลากหลายว่าด้วยกฏแห่งกรรม

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์

คือไปนั่งอ่านกระทู้นี้มาค่ะ อย่างเมามัน 555

http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X10445712/X10445712.html

มีหลายความเห็นน่าสนใจทีเดียว จะยกมาบางความเห็นนะคะ  :icon_smile:



ความคิดเห็นที่ 85   

ตั้งข้อสังเกต เรื่อง หนักๆ
มาเยอะแล้ว

มาเรื่อง เบาๆ
บ้างดีกว่า


ลองดู คลิป ด้านล่างนี้ นะครับ

แล้วลองตอบ คำถาม หรือ ลองตอบ
กับตัวเอง ว่า

เหตุใด

คนที่เชื่อ...เรื่องกรรม และ นิพพาน
ยังทานเนื้อสัตว์อยู่

แล้วการทานเนื้อสัตว์
ไม่มีกรรมให้ต้อง มาเวียนว่าย อยู่ในสังสารวัฎ

ต้องกลายมาเป็น สัตว์ ให้คนอื่นเขาฆ่า เอาเนื้อไปทาน
บ้างหรอกหรือ


แล้วการที่ ใครสักคน
มุ่งจะไป ให้ถึง นิพพาน

แล้วผลกรรม ในเรื่อง ของ อาหาร
นั้นตกอยู่กับ คนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไป

นับตั้งแต่
คนเลี้ยง หรือ คนจับ คนฆ่า และ คนนำมาปรุง

คนทาน นั้น
ไม่มี กรรม หรือ เศษกรรม ให้เป็นมลทิน

แต่อย่างใด
อย่างนั้น  จริงๆ น่ะหรือ

จากคุณ : The Rounder   
เขียนเมื่อ : วันเนา 54 01:40:05 

ความคิดเห็นที่ 128

อ้อ ข้ามประเด็นไป
การกินสัตว์บาปหรือไม่
บาปสิครับ ทำให้สัตว์เดือดร้อนนี่นา

แล้วทำไมยังกิน
ก็ชีวิตมันเลือกไม่ได้นี่ครับ ทำตัวเองให้ลำบากมันก็บาปนะครับ ยกตัวอย่างเช่นฆ่าตัวตายนี่ก็บาปหนัก ดังนั้นทำตัวเองให้ลำบาก อดๆ อยากๆ ก็บาปเหมือนกันครับ

แบบนี้ทำอะไรก็บาปหมดน่ะสิ
ถูกต้องแล้วครับ เพราะเกิดมาก็บาปแล้ว

ความจริง จะให้ถูกต้องใช้คำว่า กรรม แทนคำว่า บาป ครับ
ทุกชีวิตเกิดมาก็ทำกรรมกันทั้งนั้น กำเนิดขึ้นมาย่อมต้องมีการกระทำคือกรรมเสมอ
และมันก็ส่งผลต่อเนื่องไปไม่รู้จบ

ทางพุทธศาสนาจึงได้พยายามหาทางหลุดพ้นจากกรรมด้วยการหาทางสู่นิพพานซึ่งจะทำให้ไม่เกิดอีก
เพราะตราบเท่าที่ยังเกิด ตราบนั้นก็มีกรรมเสมอ
ผู้รู้ทางพุทธเมื่อมองเห็นสัจธรรมในข้อนี้จึงแสวงหาการหลุดพ้นด้วยการไม่เกิดอีก
ตถตา...มันเป็นของมันเช่นนี้เอง

จากคุณ : นาย X-MAN
เขียนเมื่อ : วันเนา 54 15:06:08

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 100   

การหลุดพ้น พิสูจน์ได้นะครับ
แต่มันต้องพิสูจน์ด้วยการลงมือทำ

พระพุทธเจ้าสอนให้เราทุกข์น้อยลง คนที่บอกว่าเราทำความดีก็พอแล้ว
ลองนึกเหตุการณ์แบบนี้นะครับ

- ขับรถเจอรถปาดหน้า
- คนใกล้ชิด เจ็บป่วย เสียชีวิต
- สูญเสีย คนรัก
- สอบเข้าไม่ได้
- โดนไล่ออกจากงาน

ถามว่าทุกข์ไหมครับ ถ้าทุกข์ คำสอนของพระพุทธเจ้าสอนให้ทุกข์น้อยลง
จนถึงไม่ทุกข์เลย ดังนั้นแม้ในชาตินี้ ไม่ต้องรอนิพพาน เราก็สามารถทุกข์น้อยลง
เพียงแต่สนใจในคำสอน นำมาคิด นำมาปฏิบัติ

เราต้องมีชีวิตอีกตั้งหลายสิบปี มันน่าจะดีนะ ถ้าเราไม่ทุกข์มากนัก
และยิ่งดีเข้าไปอีก ถ้านรก สวรรค์มีจริง นิพพานมีจริง
เพราะเท่ากับได้กำไร 2 ต่อ

จากคุณ : ผู้เฒ่าสายลม   
เขียนเมื่อ : วันเนา 54 09:17:46 

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 99   


แสดงว่า

การทานเนื้อสัตว์ ไม่อยู่ใน กฎแห่งกรรม
แล้วล่ะสิครับ


เราสามารถ ทานเนื้อสัตว์ หรือ เอาชีวิตสัตว์อื่น
เป็นอาหาร ได้มากเท่าที่ต้องการ

โดยไม่ต้อง กลายไปเป็นสัตว์
ให้คนอื่นเขาฆ่า เอาเนื้อไปทาน อย่างนั้น น่ะหรือ

แล้ว กฎแห่งกรรม
จะเป็นจริง อยู่ได้อย่างไร

เพราะ การทานเนื้อสัตว์  ถ้าใชัปัญญา กำกับ
โดยไม่ใช้ อคติ มาบิดเบือน การรับรู้

ย่อมทราบได้ โดยบริสุทธิ์ใจว่า
มีเบื้องหลัง การฆ่า  อย่างเป็นระบบ
รองรับอยู่อย่างแน่นอน

การทานเนื้อสัตว์ จึงเป็นการสนับสนุนการฆ่าสัตว์
ในทางตรง ไม่ใช่ ทางอ้อม เลยด้วยซ้ำ

หาก การทานเนื้อสัตว์ จะอ้างเพียงลอยๆว่า
ไม่ได้มีเจตนาฆ่า ทางตัวอักษร หรือ หลอกตัวเองให้เชื่ออย่างนั้น

ความเชื่อ อันนี้
จะเป็นความเชื่อที่ อันตราย มากกว่า

ความเชื่อ ที่ว่า
สัตว์เป็นอาหาร แล้วปฏิบัติด้วยความเมตตา ตามอัตภาพ เสียอีก

เพราะ กรณีข้างต้น คนทานเนื้อสัตว์ จะพยายามปิดหู ปิดตา
เสแสร้งว่า ตนเองไม่ได้ฆ่า แล้วก็ไม่บาป 

คือ พยายามบิดเบือน การรับรู้ และ ความรู้สึก
ให้จดจ่อ อยู่แต่อาหารตรงหน้าที่ปรุงสำเร็จ หรือ
มองแค่ ความเป็นศพของสัตว์ ที่วางขาย ก่อนนำมาปรุง
แล้วตัดตอนให้ ไม่ไปคิดถึง กระบวนการก่อนหน้า

ก็เท่านั้นเอง

---

สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ

ถ้าหาก ไม่จัดตรรกะ ความเชื่อ
ให้เป็นไปตามที่ ท่าน MinIEs  อธิบายใน #95

จะเกิดอะไรขึ้น

จะพบว่า

กฎแห่งกรรม และ การเข้าสู่นิพพาน

ขัดแย้งกันเอง

 น่ะสิครับ

v

v

 กรณี การฆ่าสัตว์ โดยไม่เจตนา

ทำไม

ไม่ต้องกลับไปเกิดเป็นสัตว์
ให้คนอื่น เขาฆ่า โดยไม่เจตนาบ้าง

หากท่านเคยเหยียบมด ตาย
โดยไม่เจตนา

ทำไม ไม่ต้องไปเกิดเป็นมด
ให้คนอื่น เหยียบตาย โดยไม่เจตนาบ้าง

แล้วมด

 จำนวนมากมาย มหาศาล

ที่อยู่ในเหตุการณ์ ถูกเหยียบตาย โดยไม่เจตนา 
โดยคนบนโลกทั้งหมด

จากอดีต ถึง ปัจจุบัน จวบจน อนาคต

มีเท่าไหร่ แล้ว เป็นใคร

 มาจากไหน ล่ะครับ


อยู่ดีๆ ถึงต้อง มาเกิดเป็นมด แล้วมารับกรรม
ในลักษณะนี้

จะเห็นได้ว่า

หากใช้ เจตนา เป็นตัวกำหนด กรรม

ก็จะไม่สามารถ นำมาอธิบายได้
ทั้ง กรรมของ คนที่เหยียบ และ กรรมของ มดที่ถูกเหยียบ

อย่างตลอดสาย ได้นั่นเอง

---

ข้อสังเกต ต่อมา

กรณี  ฆ่าสัตว์ โดยเจตนา
ไม่ว่า ยุง แมลงสาบ ด้วยการตบ ฉีดพ่นยา
หรือ การยิงนก ตกปลา ฯลฯ

อันนี้ คงไม่ปฏิเสธ แล้วนะครับ

ว่า เป็น...กรรม ที่ต้องชดใช้

แล้วหากจะ อ้างว่า

ถ้าบรรลุอรหันต์แล้ว
สามารถ บรรเทา หรือ ทำให้กรรมนี้

เป็นกรรมที่ไม่ให้ผล
คือ สามารถเข้าสู่นิพพาน ไปได้เลย

ตรงนี้ เท่ากับว่า

เดิมพัน

 ความเชื่อ ครั้งนี้ สูงมากแล้วนะครับ

คือ ถ้าท่าน เชื่อใน   เรื่องกรรม และ นิพพาน
แล้วก็เคยฆ่าสัตว์ โดยเจตนามาก่อน

ท่านจะต้อง เข้าถึง นิพพาน ให้ได้ในชาตินี้
ในภาวะที่ยังเกิดเป็นคน  ให้ได้นะครับ

มิเช่นนั้น

ต่อไปหากท่านเกิดเป็นสัตว์ เช่น ปลา หรือ นก
หรือ ต้องกลายเป็นสัตว์กินเนื้อ

ด้วยคำอธิบาย ในเรื่อง ห่วงโซ่อาหาร
แล้ว นำเรื่อง กฎแห่งกรรม  มาประกอบกัน

จะกลายเป็นว่า ท่านถูกบังคับให้ต้อง

เวียนว่าย ตายเกิด

 กลายเป็น สัตว์กินเนื้อ อยู่ในห่วงโซ่อาหาร
แบบบวนลูป ออกมาไม่ได้ แล้วนะครับ

ถ้าไม่ต้อง ชดใช้กรรม
กฎแห่งกรรม ก็ไม่เป็นจริง

ถ้าต้องชดใช้กรรม ในระบบห่วงโซ่อาหาร
 ในภาวะที่เกิดเป็นสัตว์กินเนื้อ


ก็เท่ากับว่า

 จะไม่มีวัน ได้เกิดเป็นคน
เพื่อ การปฏิบัติ เข้าสู่นิพพาน ได้อีกเลย


ฝากไว้

ให้เป็นข้อคิด ละกันครับ

จากคุณ : The Rounder   
เขียนเมื่อ : วันเนา 54 08:51:16   

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 114   

นอนหลับไปหนึ่งคืน ตื่นขึ้นมาก็โต้กันยาวเลย -_-"
แตกกระทู้ไปคุยกันต่อดีไหมครับ ^^

สำหรับคุณ The Rounder
คำถามคุณนี่ตอบยากจังเลย
ผมเองก็มีความสงสัยอยู่เหมือนกัน
เช่นว่า พวกสัตว์ที่เกิดมาจะทำกรรมกันยังไงให้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะเป็นสัตว์คงไม่สามารถทำกรรมดีได้ด้วยสำนึกของตน
อย่างนั้นมิต้องเป็นสัตว์ต่อไปเรื่อยๆ หรือ

แต่ผมก็ยกประเด็นนี้เอาไว้
เพราะพระพุทธองค์ก็ได้บอกเอาไว้แล้ว ว่าเรื่องของกรรมและการให้ผลนั้นอย่าได้ไปคิด
เนื่องจากภูมิปัญญาของผมเองคงไม่สูงพอ ดังนั้นข้อนี้คงตอบอะไรให้คุณ The Rounder ไม่ได้
คงบอกได้แค่ว่าเราทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิดกันมานานมาก ทำกรรมทับซ้อนกันไปมาจนวุ่นวาย
การให้ผลของกรรมจึงซ้อนทับกันจนยากจะพูดกันได้ตรงๆ เพราะมี factor ร่วมที่ให้ผลกระทบมากมายยิ่งนัก
เปรียบเทียบกับการทำนายแผ่นดินไหว
รู้ก็รู้กันอยู่ว่าเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
แต่ก็ทำนายการเกิดไม่ได้ เพราะมี factor ร่วมที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวมากมาย
ความเร็วในการเคลื่อนตัว ลักษณะของเปลือกโลก รูปแบบการเคลื่อน รูปแบบการคายพลังงานของแผ่นเปลือกโลก etc.
จะรู้ได้ก็ตอนไหวไปแล้วจึงค่อยกลับมาตรวจสอบข้อมูลตามหลัง

เรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมผมก็คงพูดได้แค่ว่าเป็นไปตามธรรมชาติของเขา
เหมือนกับแผ่นดินไหวที่ก็คงบอกได้แค่ว่าเป็นไปตามธรรมชาติของเขาเช่นกัน
ซึ่งทั้งกรรมและทั้งเรื่องแผ่นดินไหวก็เป็นเรื่องธรรมชาติ หาใช่ว่ามีใครลิขิตขีดเขี่ย

หากทำนายแผ่นดินไหวได้ ก็จะหลีกเลี่ยงความเสียหายจากแผ่นดินไหวได้ดี
แต่เรายังไม่สามารถทำนายได้ ดังนั้นก็คงต้องหาวิธีเอาตัวรอดหากเกิดแผ่นดินไหว
โดยเรียนรู้สถานที่หลบภัย สิ่งที่จะเกิดตามมามีอะไรบ้าง จะได้หาวิธีรับมือเตรียมไว้
เรื่องกรรมเราก็ไม่สามารถทำนายได้ว่าเกิดมาจากอะไร จะเป็นอย่างไรต่อไป
ก็คงต้องเรียนรู้ที่จะทอนผลไม่ดีให้เบาลงด้วยวิธีต่างๆ
ทั้งนี้ทั้งนั้น กรรมจะมีจริงหรือไม่ก็คงเป็นความเชื่อเฉพาะบุคคล
ตรงนี้ก็คงแล้วแต่ท่านทั้งหลายจะเชื่อกันล่ะครับ
เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่จะควักออกมาแสดงกันได้ง่ายๆ

ขอแค่นี้ก่อนแล้วกันครับ เดี๋ยวค่อยมาคุยกันต่อ

จากคุณ : นาย X-MAN   
เขียนเมื่อ : วันเนา 54 11:04:47 

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 125   

มาต่อกันที่ประเด็นการกินเนื้อ

ทุกท่านครับ ทุกชีวิตที่เกิดมาล้วนมีกรรมทั้งสิ้นครับ
เพราะกรรมคือการกระทำ ผลของกรรมคือผลแห่งการกระทำ
แต่ที่แยกเป็นกรรมดี กรรมชั่ว เนื่องจากมนุษย์จับเอาสิ่งที่เป็นผลของมันมาใส่นิยาม
ว่าถ้าทำแบบนี้แล้วจะได้ผลที่ดีต่อตัวเองตอบแทน ให้ถือว่าเป็นกรรมดี
ทำแบบนี้แล้วจะได้ผลที่ไม่ดีต่อตัวเองตอบแทน ให้ถือว่าเป็นกรรมชั่ว
ซึ่งกฎแห่งกรรมเพียงแค่ทำหน้าที่ของเขาไป ไม่ได้ตอบแทน ไม่ได้ลงโทษใครทั้งสิ้น

ขอเปรียบเทียบกฎแห่งกรรมเป็นกฎแรงโน้มถ่วงของโลก
ให้ผลมะม่วงเป็นผลแห่งกรรมในกรอบอ้างอิงหนึ่ง
มีคนสองคนอยากกินมะม่วง
คนที่หนึ่งปีนต้นมะม่วงไปเก็บผล แต่ลื่นตกลงมาขาหัก มะม่วงก็ไม่ได้กิน แถมขาหักอีก
คนที่สองหาไม้มาสอยให้ลูกมะม่วงตกลงมาบนพื้น แค่นี้ก็ได้กินผลมะม่วงโดยไม่ต้องปีนให้เหนื่อยหรือเสี่ยง
ถามว่า กรณีนี้แรงโน้มถ่วงของโลกให้คุณกับคนที่สอง และให้โทษกับคนที่หนึ่งหรือไม่
คำตอบคือ ใช่
แต่ถามว่าแรงโน้มถ่วงของโลกมีเจตจำนงค์ในการให้คุณกับคนที่สอง และให้โทษกับคนที่หนึ่งหรือไม่
คำตอบคือ ไม่ใช่
แรงโน้มถ่วงของโลกก็แค่ดึงให้คนที่หนึ่งตกลงมาบนพื้นดิน หากคนที่หนึ่งลื่นตกจากิ่งไม้ และดึงผลมะม่วงตกสู่พื้นดิน เมื่อคนที่สองเอาไม้มาสอย
แรงโน้มถ่วงทำหน้าที่ของมันเท่านั้น แต่คนสองคนมีการกระทำที่ต่างกัน ผลที่ได้รับจากการกระทำของแรงโน้มถ่วงจึงต่างกันด้วย
แล้วเราก็ตีความเอาเองว่าคนที่หนึ่งได้รับโทษจากกฎแรงโน้มถ่วง ส่วนคนที่สองได้รับประโยชน์

กลับมาที่เรื่องของการกินเนื้อสัตว์
อย่างที่บอกแต่แรกว่าทุกชีวิตเกิดมาก็มีกรรมแล้วครับ หลีกเลี่ยงไม่ได้หรอก
ไม่ว่าจะกินหรือไม่กิน มันก็มีกรรมโน่นนี่หลากหลายให้เกิดเป็นภพชาติต่อๆ ไปอยู่แล้วครับ
เพราะนับแต่เกิดมาก็ทรมาณบุพการีไปตั้งไม่รู้เท่าไหร่ ทั้งตอนอุ้มท้องและตอนคลอด

สำหรับเรื่องของการ "กิน"
พระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนด "ห้าม" ไม่ให้กินสิ่งใด
เว้นแต่ห้ามพระภิกษุไม่ให้ฉันเนื้อ 10 ประเภท ด้วยสาเหตุของความปลอดภัยในการอยู่ป่า กับการไม่เป็นที่ติฉินนินทาของชาวบ้าน
แต่สิ่งที่สอนคือ "โภชเนมัตตัณณุตา" ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด (อปัณณกปฏิปทา )
ในข้อนี้หมายความว่าให้รู้จัก "ความเหมาะสม" ในการบริโภค
กล่าวคือการกินแต่พอควร ไม่ชื่นชมในรสชาติ กินแค่พอดำรงชีพ
หากมีความมุ่งหมายในการกินเช่นนี้ ย่อมไม่ผิด
เพราะคนเราเกิดมานั้นเลือกได้แค่ไหน
อยู่กันเป็นสังคม เขากินเนื้อกันจะให้เราไปฝืนยังไง
หากสังคมนั้นกินเนื้อเราก็กินตาม กินพืชเราก็กินตาม
ก็เพื่อให้ง่าย ไม่วุ่นวาย ไม่ยุ่งยาก
พระต้องอาศัยฆราวาสคอยหาเลี้ยง
จะมาเรื่องมากบอกว่าฉันไม่กินเนื้อนะ เอาแต่ผักมาเท่านั้น ย่อมไม่เหมาะ
จะกลายเป็นคนเลี้ยงยาก

อีกประการหนึ่ง หากไปในสถานทีที่ยากจะหาสิ่งอื่นได้นอกจากเนื้อสัตว์
หากกินแต่พืชผัก แต่ไม่มีให้กิน จะให้ทำยังไง อดอาหารไปจนตายงั้นหรือ
เลือกกินบางอย่าง มันไม่สมควร เพราะมันวุ่นวาย
ถิ่นไหนกินอะไร อยู่กับเขาก็ต้องกินแบบเขา

ประเด็นเรื่องการฆ่าสัตว์ อย่าได้ไปพ่วงกับการกินสัตว์
เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกคนไม่ฆ่าสัตว์มากิน
แต่หากทำให้ทุกคนไม่ฆ่าสัตว์ได้ก็เป็นเรื่องดี ทางพุทธศาสนาก็สอนให้กินได้ทุกอย่างไม่ได้สอนให้เลือกกิน ดังนั้นไม่ใช่ปัญหาว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์

แต่ปัญหาที่ทางพุทธพิจารณาคือ "กินอย่างไร" ไม่ใช่ "กินอะไร"
นั่นคือให้กินแค่พอดี อย่ามักมากในการกิน อย่าฟุ้งเฟ้อในการกิน อย่าคาดหวังในการกิน
เพราะวัตถุประสงค์ของการกินคือเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้
ดังนั้นหากถือตามแนวพุทธจริงจะไม่แสวงหายาอายุวัฒนะ
ไม่แสวงหาอาหารประหลาดๆ มากิน เช่นพวกอุ้งเท้าหมี ดีงู etc
ทำอะไรมาให้ก็กิน มีอะไรกินได้ก็กิน ไม่ได้บอกว่าต้องไปฆ่ามากิน
การที่กินเนื้อสัตว์ มิได้เป็นการสนับสนุนการฆ่าสัตว์นะครับ
แต่กินเนื้อสัตว์ เพราะไม่ต้องการเป็นคนเลือกกิน
เอาพืชมาให้กินก็กินครับ
หลักสำคัญคืออย่าเรื่องมาก และอย่ามากเกินพอดี เท่านั้นเอง

การฆ่าสัตว์ ไม่ใช่แค่เอามากินก็มีนะครับ รวมถึงการรังแกสัตว์ด้วย
อย่างน้อยมีข้อห้ามเอาไว้ก็เพื่อลดการฆ่าที่ไม่จำเป็นลงไปได้ล่ะครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าในสมัยโบราณนั้นเป็นไปเพื่อการบูชายัน
ซึ่งไม่มีประโยชน์โดยสิ้นเชิง
ข้อห้ามการฆ่าสัตว์ก็มีไว้เพื่อลดเรื่องราวเหล่านี้นั่นล่ะครับ

จากคุณ : นาย X-MAN   
เขียนเมื่อ : วันเนา 54 14:44:29   

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 82   

ถาม อีกเรื่องคะ กฎแห่งกรรมหน่อยคะ
กฎแห่งกรรมใช้ไม่ได้กับ อโหสิกรรมรึเป่า หรือยังใช้ได้อยู่ เช่น ธรรมชาติจะลงโทษแทนคนที่ อโหสิกรรม เอง คือยังไงก็ต้องรับกรรม

กรณีแรก อันนี้เสมอกัน
a ฆ่า b
ิb ฆ่า a
a อโหสิกรรม b เลยไม่ฆ่า b ตามกฎแห่งกรรม 

กรณีที่2 ไม่เสมอกันคือ
a ฆ่า b
ิb ฆ่า a
a ฆ่า b
ิb อโหสิกรรม a เลยไม่ฆ่า a ตามกฎแห่งกรรม 

กรณี3
a ฆ่า b
ิb ฆ่า a
a ฆ่า b
a บรรลุอรหันต์ แล้วปรินิพาณ (คงไม่มาเกิดอีกแล้ว รึเป่า)  bไม่ได้อโหสิกรรมให้ a แล้ว b จะไปลงที่ไหนอะ  หรอว่า a จะปริณิพาณไ่ม่ได้  ต้องรอ b มาฆ่าก่อน 
งงเหมือนกัน 

แต่แปลกนะ  ตอนที่เราเด็กๆเรียนพระพุทธศาสนาเราไม่เคยมีคำถามแบบนี้เลยขึั้้นมาในหัวเลย  แต่พอโตมาหน่อย  เห็นพระเป็นกระเทย  เห็นห้องหว้ากอชอบตั้งคำถาม  เห็นนักการเมืองมี 2 บทบาท เรา็ก็เริ่มที่อยากจะสงสัยและคิดคำถามพวกนี้  สงสัยแม้กระทั้งว่า  ถ้าไม่มีศาสนาพุทธ  เราจะเป็นคนดีด้วยตัวเองไม่ได้เชียวหรือ

จากคุณ : Himawari_Chang   
เขียนเมื่อ : วันเนา 54 01:22:52   

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 127   

@82+@99

คือขออธิบายเรื่องกฎแห่งกรรมก่อนนะครับ
จะต่อจาก #108 ล่ะกัน ลองอ่านเรื่องกรรมกับวิบากก่อนนะครับ
แล้วผมจะขอใช้คำนี้เลย

คือ A ฆ่า B แล้วไม่จำเป็นต้อง B ฆ่า A ครับ
ถ้า A ฆ่า B แปลว่า B รับวิบากของการฆ่าสัตว์ในอดีต
ส่วน A ก็รอรับวิบากของการฆ่าสัตว์ เมื่อมันพร้อมจะให้ผล
ซึ่งผลไม่จำเป็นต้องโดนฆ่าครับ มี 9 ข้อตาม #95 ครับ
แปลว่า A อาจจะโดนฆ่า ซึ่งเป็น B/C/D หรือป่วย หรือถูกอุบัติเหตุ หรือพิการ หรือฆ่าตัวตายก็ได้ครับ
ขึ้นอยู่กับว่า เหตุปัจจัยอะไรพร้อมให้วิบากที่สุกงอมนั้นส่งผล

คือตัวที่ทำให้กรรมนั้นมีอำนาจส่งผลเป็นวิบากได้ คือ เจตนา
เปรียบเสมือนการมองเห็น คุณต้องมีแสง มีตา มีวัตถุ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป ก็มองไม่เห็น
เช่นเดียวกัน หากไม่มีเจตนา การกระทำมันก็ไม่ครบเป็นกรรมที่จะส่งผลเป็นวิบากได้ครับ

ที่บอกว่า จากอดีต ถึง ปัจจุบัน จวบจน อนาคต เป็นเท่าไหร่แล้ว
อันนี้แม้แต่พระสมโคตมพุทธเจ้าก็ไม่สามารถเห็นชาติแรกหรือจุดกำเนิดของชีวิตได้
คือมันนานมาก ลองคิดดูล่ะกันครับว่า หลังจากในชาติที่พระสมโคดมได้รับการทำนายว่าเป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน
กว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้านั้น ก็มีพระพุทธเจ้าอีก 28 พระองค์ ระยะห่างนี้หลายกัปป์ หลายอสงไขย

ระหว่างที่ท่านมีชีวิต เราทุกท่านก็มีชีวิตครับ ภพภูมิไหนก็ว่ากันไป

กรรมมีทั้ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
เช่น การคิดพยาบาท เป็นกรรมทางมโนกรรม มีองค์กรรมบทคือ
๑. มีสัตว์อื่น หรือผู้อื่น
๒. มีจิตคิดทำลาย เพื่อให้ผู้นั้น สัตว์นั้น ประสบความพินาศ
ครับ แค่นี้ก็ครบองค์แล้ว

ถ้าเราแค่โกรธใคร ก็ไม่ถือเป็นพยาบาทครับ แต่ถ้าต้องการให้เขาพินาศด้วย จึงจะเป็น
แค่ทางมโนกรรม ก็มีวิบากรออยู่มากกมายแล้วครับ
และเราทำกันมาหลายภพหลายชาติแล้ว เพราะฉะนั้นวิบากแทบไม่มีทางหมดครับ ยกเว้นจะนิพพาน
และวิบากไม่ได้รอส่งผลแค่ชาตินี้ หรือชาติหน้าติดๆกัน แต่มีไปทุกภพทุกชาติ จนกว่าจะส่งผล แล้วหมดอำนาจไปครับ
เพราะฉะนั้น การมานั่ง scan กรรม จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์มากๆครับ สิ่งที่ทำไปแล้ว แก้ไขแบบหักล้างไม่ได้ครับ

พูดถึงกรรมไม่ดีซะเยอะ ขอพูดถึงกรรมดีบ้าง คือเราแค่สงสารใคร อ่อนน้อมถ่อมตน แค่นี้ก็เป็นบุญทางมโนกรรมแล้วครับ
การทำทาน ใส่บาตรก็เป็นบุญทางกายกรรมครับ ซึ่งพร้อมส่งผลเป็นวิบากเช่นเดียวกันครับ
วิบากของการทำทาน เช่น มีกินมีใช้ ครับ อาหารที่มีกินทุกมื้อ ก็เป็นผลของการทำทานเช่นเดียวกัน

เจตนาก็เป็นตัวกำหนดกรรมตลอดสายแหละครับ มดที่ถูกเหยียบ ก็รับผลของการฆ่าสัตว์ ซึ่งเป็นตัวอะไรไม่รู้ และชาติไหนไม่รู้

ส่วนที่บอกว่า "กลายเป็น สัตว์กินเนื้อ อยู่ในห่วงโซ่อาหารนั้น แบบบวนลูป ออกมาไม่ได้ แล้วนะครับ"
คือไม่เชิงครับ แต่ออกยากครับ เมื่อบาปที่ส่งผลนั้นเบาบางลง แล้วสัตว์นั้นมีจิตเป็นกุศลขึ้น แม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง
หากวิบากดีตรงนี้นำเกิดได้ ก็จะกลับขึ้นมาเป็นสุขคติภูมิได้ครับ

แต่ยากมากๆครับ กว่าจะถึงจุดนั้น แต่ก็ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ครับ การเกิดเป็นอบายสัตว์จึงน่ากลัวตรงที่เราหลุดจาก loop ยาก

แต่ไม่ต้องคิดมากครับ เราๆท่านๆเกิดมาเป็นครบทุกอย่าง ตั้งแต่สัตว์นรก ยันเทวดาพรหม คือสังสารวัฏมันยาวนานมาก จนความน่าจะเป็นในการเกิดเกิดขึ้นทุกอย่างแล้ว แล้วก็ซ้ำไปซ้ำมา

ตรงนี้อาจจะสั้นไปหน่อย ถ้าไม่เข้าใจก็ ลม.หรือ post ไว้ ดึกๆจะมาต่อครับ

ทีนี้มาที่เรื่องการกินเนื้อสัตว์ครับ เอาตาม #125 ครับ เห็นด้วยครับถ้ายังไม่จบ แล้วดึกๆจะมาต่อครับ

จากคุณ : MinIEs   
เขียนเมื่อ : วันเนา 54 15:00:15 

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 131   

มาต่อที่ @82

อ่าน #127 เรื่องกฎแห่งกรรมล่ะกันนะครับ
น่าจะตอบ Scenario ที่ตั้งมาได้แล้ว ถ้าไม่ก็จะมาต่อให้ครับ

จะมาต่อเรื่องอโหสิกรรมล่ะกันครับ

คือจริงๆแล้ว "อโหสิกรรม" คือกรรมที่ไม่ให้ผล
มี 2 กรณีเท่าที่ทราบ แต่จะยกมาแค่กรณีเดียว อีกกรณีนึงไม่สำคัญนักในที่นี้


กรณีนั้น คือ หลังนิพพานครับ

หลังนิพพานแล้ว คือไม่เกิดแล้ว
วิบากของกรรมที่เหลือจึงเป็นอโหสิกรรม เพราะไม่สามารถส่งผลได้


แต่หลังจากเป็นพระอหันต์ จนกระทั่งก่อนนิพพาน วิบากสามารถส่งผลได้ตามปกติครับ เช่น พระโมคคัลลานะ ใน #55

อโหสิกรรม ผมขอใช้คำว่า การให้อภัย แทนล่ะกัน

การให้อภัยนั้นไม่สามารถทำให้กรรมที่เคยทำมาแล้วหมดสิ้นอำนาจได้
แต่เป็นการดีครับ ควรจะทำ


เพราะขณะที่เราโกรธใคร ก็เป็นโทสะ
ยิ่งโทสะที่คิดร้ายต่อคนอื่น ก็ครบองค์พยาบาท เป็นมโนกรรมตาม #127 เลย

ในขณะที่การให้อภัยเป็นบุญครับ นอกจากเราจะไม่ทำบาปเพิ่ม ยังเป็นการเพิ่มบุญด้วย ให้อภัยกันเถอะครับ

---------------------------------------------

ที่บอกว่า "ถ้าไม่มีศาสนาพุทธ  เราจะเป็นคนดีด้วยตัวเองไม่ได้เชียวหรือ"
ได้ครับ ศาสนาอื่นๆก็สอนให้เป็นคนดี และในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนาตั้งมากกมาย ก็มีคนดีมากมายครับ
เพียงแค่พระพุทธเจ้าสอนทางดับทุกข์ หรือทางสู่นิพพาน แค่นั้นั้นครับ

จากคุณ : MinIEs   
เขียนเมื่อ : วันเนา 54 15:28:27   

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 137   

คุณ MinIEs ส่งไม้กันอย่างนี้เลยรึ -_-''

ก่อนอื่นคงต้องขออารัมภบทก่อน
ผมเริ่มสนใจศึกษาธรรมะในพุทธศาสนาด้วยตัวเองมาตั้งแต่อายุประมาณ 15 ขวบ
ก่อนหน้านั้นก็มีพ่ออบรมสั่งสอนและปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่าง
บังเอิญว่าเจอหนังสือดี อ่านแล้วถูกจริตก็เลยศีกษาเรื่อยมา
เก็บเล็กผสมน้อยตั้งแต่ตอนนั้นมาปัจจุบันก็ร่วม 20 ปี (ห้ามคำนวณอายุนะเออ -_-'')

ดังนั้น การจะอธิบายสิ่งที่ค่อยๆ สะสมมาให้กับใครสักคนหรือหลายๆ คนได้เข้าใจตามนั้นมันค่อนข้างยาก
เพราะสิ่งที่ผมอธิบายไปมันเกิดจากการตกผลึกทางความคิดแล้ว
ซึ่งก็ได้มาจากความสงสัย การศึกษา การเปรียบเทียบ การสังเกต และสรุปผล
จากข้อมูลมากมายกว่าจะได้มาซึ่งคำตอบเพียงคำตอบเดียว
บางครั้งต้องประกอบไปด้วยการพบเจอเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้เราเข้าใจได้ดีขึ้น
จึงต้องขอให้ท่านผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายกลับไปศึกษาทบทวนด้วยจึงจะช่วยให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เข้าสู่เรื่องของการกินเนื้อสัตว์อีกครั้ง

เรื่องบาปหรือไม่บาปจากการกินเนื้อสัตว์นี้คงต้องงดการพูดให้ลึกเกินไปอีกครั้ง
เพราะเดี๋ยวจะมีเรื่องของการบาปมาก บาปน้อย มาให้คุยกันอีก
แล้วอาจเจอถามต่อด้วยดรรชนีวัดความบาป (จะเป็นวิทยาศาสตร์ไปถึงไหน -_-'')

เอาเป็นว่าการกินเนื้อที่ไม่ได้ฆ่า หากว่าเป็นภิกษุก็กำหนดอยู่แล้วว่าห้ามรับเนื้อที่รู้เห็นว่าเขาฆ่ามาสำหรับตน
เป็นกฏไว้เช่นนี้พอ
แม้ไม่ได้ห้ามการกินเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ได้ห้ามการสมาทานมังสวิรัช
ดังนั้นสะดวกอย่างไร เลือกเอาได้ตามความเหมาะสม
มิใช่ตามกิเลส
ส่วนฆราวาส ก็แล้วแต่สะดวกว่าจะกินอย่างไร
หมู เห็ด เป็ด ไก่ แม่ค้าทำมาขายก็กินๆ ไป
ไม่ต้องตามกิเลสไปสรรหาของแปลกๆ มากิน

คนเราบทจะให้คิดก็คิดไปได้เรื่อย
หากพอห้ามฆ่าห้ามกินเนื้อสัตว์ เดี๋ยวก็มาถามกันอีกว่าผักมีแบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน กินไปก็บาปอีก
เชื้อโรคเป็นสิ่งมีชีวิต ดังนั้นป่วยก็ไม่ต้องรักษาเดี๋ยวจะเป็นการฆ่าเชื้อโรค
มีพยาธิก็ไม่ต้องไปกินยาถ่ายเดี๋ยวจะเป็นการฆ่าสัตว์ไปเสียอีก

สารพัดเรื่องราวจริงๆ

ก็ถ้าโยมเขามีศรัทธาสูง ไม่นิยมการฆ่าสัตว์ เขาก็ทำผักมาถวาย
ก็ถ้าโยมเขามีศรัทธาต่ำ ยังนิยมการฆ่าสัตว์ เขาก็ทำเนื้อมาถวาย
ผู้เป็นพระก็สอนไป วันหนึ่งศรัทธาสูงกันทุกคน รังเกียจการฆ่าขึ้นมา วันนั้นล่ะจะได้มังสวิรัชกันจริงๆ ซะที
ก็ศาสนาพุทธไม่เคยบังคับว่า "ห้าม"
เพียงแต่สั่งสอนอบรมในสิ่งที่ "ควร"
ที่เหลือก็พิจารณากันเอง

และที่สำคัญ บาปโยนกันไม่ได้ครับ
หากกินเนื้อแล้วมันบาป จะคิด ไม่คิด จะรู้ ไม่รู้ มันก็บาป
ก็มันเป็นของมันอย่างนั้น แกล้งไม่รู้ไม่เห็นไปก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา

ผมเองก็สงสัยเหมือนกันว่าจะเอาอะไรกันนักกันหนากับเรื่องการกิน
เพราะแค่ว่ามีก็กินไม่มีก็ไม่ไปขวนขวายมากิน
ผู้ใดสละแล้วซึ่งรสชาดและพร้อมในการกินแต่พืชผักได้ก็กินแต่ผักไป นั่นยิ่งดี
ผู้ใดยังไม่พร้อมก็กินเท่าที่มี เท่าที่หาได้ อย่าได้เรื่องมาก
ทำเอาตามความพร้อมเถอะ
มัวแต่มาวุ่นวาย นั่นพืชหรือเปล่า นั่นสัตว์หรือเปล่า เสียเวลาไปทำประโยชน์อื่น
เพราะเดี๋ยวก็ต้องมาคิดกันต่ออีกว่าแบคทีเรียมีชีวิตหรือเปล่า ถ่ายพยาธิบาปหรือเปล่า ต้นไม้ก็มีชีวิตนะ
หาประโยชน์มิได้
ก็อย่างที่บอกแล้วว่าทุกชีวิตเกิดมาพร้อมการเบียดเบียน
ค่อยๆ ลด ละ เลิก กันไปตามความเหมาะสม ลดการเบียดเบียนไปให้มากเท่าที่พอทำได้

ลัทธิความเชื่ออื่นไม่มีข้อห้ามฆ่าสัตว์หรือ ก็เลยไม่มีปัญหา ไม่มีคำถามเหล่านี้
อยากกิน อยากฆ่า ทำได้ตามใจ เพราะไม่ได้ห้ามให้ฆ่าอย่างนั้นหรือ
แล้วมันดีแล้วหรือ???
เพราะพุทธห้ามการฆ่าสัตว์ ก็เลยมีคำถามกันว่ากินสัตว์ได้หรือไม่
แล้วก็เป็นประเด็นวุ่นวายทั้งที่มันไม่ได้มีแก่นสารสาระสำคัญใดๆ อยู่ตรงนี้
เพียงแค่มีอะไรก็กินเท่านั้น ไม่ขวนขวาย
ทำตัวให้ง่าย แค่นี้ ยากเพียงนั้นเลยหรือ

จากคุณ : นาย X-MAN   
เขียนเมื่อ : วันเนา 54 22:28:45 

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 138   

^
^

ที่ท่านอธิบายมา แล้วเอาศาสนาอื่นมาเปรียบ
ทั้งหมดนี้

เรียกว่า สมมติบัญญัติ ใน เรื่อง บุญ และ บาป

นั่นหมายถึง
ศาสนาใด ก็มีเงื่อนไข ของแต่ละศาสนา

ตรงนี้ ไม่ใช่ปรมัตถธรรม
ที่เป็นจริงแบบสัมบูรณ์ โดยตัวมันเองครับ

เอามาใช้แค่ อธิบาย ให้เข้ากับเงื่อนไข
ตามความเชื่อ ของแต่ละ ศาสนา เท่านั้น

ซึ่งก็ตรงตาม
ที่ได้อธิบายไปแล้วนั่นเอง น่ะครับ

---

ในศาสนา ที่เขาเชื่อว่า

การฆ่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร
นั้นไม่บาป

แม้แต่ คนที่ลงมาเชือดเองเลย ก็ตาม

v
v

คำถาม...

เขาคนนั้น ในศาสนาอื่น
ต้องมาชดใช้กรรม

ตามความเชื่อ
ในศาสนา พุทธหรือเปล่า 

จากคุณ : The Rounder   
เขียนเมื่อ : วันเนา 54 23:04:39   
 

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 139   

^
^
^
ย่อหน้าสุดท้ายผมหมายความว่าลัทธิความเชื่ออื่นๆ ไม่ได้มีข้อที่กล่าวว่าห้ามฆ่าสัตว์ ก็เลยไม่มีคนเกิดคำถามเรื่องกินเนื้อสัตว์
แต่พุทธศาสนามีข้อห้าม (น่าจะเรียกว่าข้อเสนอแนะ) นี้ก็เลยเกิดคำถามตรงนี้ขึ้นมา
และก็จะเกินเลยไปถึงเรื่องของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ต่อไปอีก ซึ่งมันก็จะกลายเป็นว่ากินอะไรก็บาป (เพราะก็เคยมีคนถามว่าพืชก็มีชีวิต กินพืชไม่บาปเหรอ)

ไม่ได้เปรียบเทียบถึงสมมติบัญญัติเรื่องบุญ บาป
เพราะเรื่องบุญ บาป ในแต่ละศาสนามีความต่างกันอยู่แล้ว

ผมไม่ได้ยกลัทธิความเชื่อหรือศาสนาอื่นมาเปรียบเทียบในเรื่องของบุญ บาปนะครับ
แต่เปรียบเทียบในลักษณะที่ว่า เพราะไม่มีข้อบัญญัติข้อนี้ คำถามแบบนี้จึงไม่เกิด เท่านั้น

.
.
.
ต่อคำถามของคุณ
ตามคติความเชื่อของทางพุทธแล้ว
เขาคนนั้นที่ลงมือทำกรรมใดๆ ก็จะต้องรับผลกรรมนั้นๆ โดยไม่แบ่งแยกว่านับถือศาสนาใด

ในกรณีเดียวกันนี้ หากมองในมุมมองศาสนาอื่น ศาสนิกของพุทธศาสนาก็ต้องรับบทลงโทษตามความเชื่อของศาสนานั้น โดยที่ศาสนิกของศาสนานั้นไม่ต้องได้รับบทลงโทษ
.
.
.
สิ่งที่คุณคุณเปรียบเทียบระหว่างศาสนาที่นับถือพระเจ้ากับศาสนาพุทธว่าไม่ต่างกัน
โดยให้พระเจ้ากับการให้ผลของกรรมนั้นเป็นสิ่งเปรียบเทียบเดียวกัน
เนื่องด้วยในที่สุดแล้วศาสนิกของทั้งสองศาสนาก็ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ถึงการมีตัวตนของทั้งสองสิ่งได้
ในมุมมองตรงนี้ผมก็เห็นด้วยครับ
เพราะทัังสองฝ่ายต่างก็ไม่มีหลักฐานตรงนี้ด้วยกันทั้งคู่
ก็อยู่ที่ว่าใครจะชอบใจแนวปฎิบัติของศาสนาไหน

เพียงแต่ที่ผมเลือกพุทธศาสนาก็เพราะชอบแนวคิดที่ให้อิสระในการเลือกเส้นทางว่าจะดีหรือจะชั่วก็ทำตัวเองและเลือกเองก็แล้วกัน
หากทำดีได้มากพอก็จะดีได้มากกว่าเทพองค์ใดๆ
แต่ถ้าทำชั่วจนเกินพอก็จะชั่วได้มากกว่าสัตว์นรกตัวใดๆ
สุดแต่จะเลือกเอาเอง

จากคุณ : นาย X-MAN   
เขียนเมื่อ : วันเถลิงศก 54 02:08:37   
 

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 17   

เรื่องกรรมเราเชื่อว่ามี  แต่ใช้ไม่ได้ทุกกรณี  จะเรียกเป็นกฎคงไม่ใช่ เพราะนิยามไม่แน่ชัด  และไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นผล(กรรมชาติก่อน มันพิสุจน์ไม่ได้

เช่น  พระอรหันต์เคยทำกรรมกับเราไว้  เราก็ตามไปทวงแค้นท่านไม่ได้

โลกนี้ความอยุติธรรม มีเยอะ
ฆ่าสัตว์เพื่อทำกับข้าวให้พระ  เราได้บุญหรือบาป  แล้วพระหล่ะ 
ถ้าทุกคนไม่ฆ่าสัตว์  แล้วจะกินอะไร  ถั่วหรอ อิอิ

แต่ที่แน่ๆ พระได้กินเนื้อโดยไม่ต้องฆ่า แถมไม่บาปอะด้วย    ยุติธรรมไหม

หลายๆคนก็ไม่ฆ่าสัตว์เพราะจิตใจดีงาม  แต่ก็กินสัตว์  ที่คนอื่นฆ่า  ยุติธรรมไหม

สัตว์มันโดนฆ่ามันต้องแค้นใครดีล่ะ

จากคุณ : Himawari_Chang   
เขียนเมื่อ : วันมหาสงกรานต์ 54 20:24:44 

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 45   

#40

ตรงนี้ น่าสนใจครับ

แล้วระบบ Memory Card
ทำไม ต้องล้างความจำ

ตอนเกิดใหม่ ด้วยล่ะครับ



ถ้าอย่างนั้นแล้ว

สังสารวัฎ
ตามความเชื่อ ในทาง พุทธศาสนา

จะมีสภาพ กลายเป็นแค่... เกม
ไปเลยนะครับ

โดยมีการหลุดพ้น หรือ นิพพาน
เป็นด่านสุดท้าย

ซึ่งใครทำ กรรมอะไร ก็ถูกเมมไว้
แล้วมาชดใช้ หรือ หาทางหลุดพ้น
โดยไม่ให้รู้กรรมเก่า และ ผลกระทบ
ที่จะเกิดขึ้น ในกาลข้างหน้า

ดังนั้น
การที่พุทธศาสนา เชื่อว่า
การที่ พระพุทธองค์ เสด็จปรินิพพาน
แล้วไม่ต้องกลับมาเกิดอีกนั้น

ตรงนี้
อาจเป็นการ ผ่านด่านสุดท้าย ใน Stage แรก
เท่านั้นเอง ก็ได้นะครับ

พระพุทธเจ้า
อาจจะ ยังเวียนว่าย อยู่ใน Stage อื่น
ที่ลึกกว่า โดย มีการหลุดพ้น หลายระดับ

แล้วตรงนั้น
 ก็เกินกว่า ที่พระองค์จะทรงเข้าใจ

เหมือนๆ กับที่ คนธรรมดา ที่ยังไม่เข้าถึง นิพพาน
ก็ยากที่จะเข้าใจในสิ่งนี้

เหมือน ปลาในน้ำ
ย่อมไม่เข้าใจ สิ่งที่อยู่บนบก

ตามการเปรียบ ในพุทธศาสนา
แบบเดียวกัน นั้นเอง

...ก็เป็นได้...หรือเปล่า

---

สังสารวัฏ

ตามความเชื่อ ทางพุทธศาสนา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3


จากคุณ : The Rounder   

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 55   
#17
คุณต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกสักหน่อยนะครับ
ลองไปหาข้อมูลเกี่ยวกับวิบากกรรมของพระพุทธเจ้าดูครับ
ที่ท่านต้องบำเพญทุกรกิริยา ที่ต้องลองผิดลองถูกอยู่ถึง 6 ปีกว่าจะบรรลุ นี่ก็เป็นเพราะเรื่องกรรมทั้งสิ้น
กระทั่งพระโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้อซ้ายที่เป็นเลิศด้านมีฤทธิ์ขนาดพลิกผืนแผ่นดินได้ ก็ยังมีเรื่องของกรรมเก่ามาตามราวีในวาระสุดท้ายของชีวิต


เรื่องของกรรมเป็นกฎธรรมชาติครับ เขามีกฎของเขาเพียงแต่เราไม่เข้าใจเท่านั้นเอง
และกฎของเขาก็ส่งผลกับทุกสรรพสิ่งที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของกรรมครับ พระอรหันต์ที่ยังไม่นิพพานก็ไม่สามารถหลีกหนีผลแห่งกรรมได้


ความยุติธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นมาครับ ความยุติธรรมไม่มีในธรรมชาติอยู่แล้ว
มีแต่กฎของธรรมชาติซึ่งจะเอาความยุติธรรมแบบความคิดของมนุษย์ไปตัดสินไม่ได้


สัตว์โลกที่มันโดนฆ่า มันก็แค้นคนฆ่าสิครับ
เหมือนมีคนจ้างให้ใครก็ไม่รู้มาฆ่าคุณ ถ้าคุณไม่รู้ว่าใครจ้างคุณก็ต้องแค้นคนที่ฆ่าสิครับ
เพราะวิสัยสัตว์โลกไม่ได้มีความระลึกรู้ถึงความจริงอะไรมากมายหรอกครับ

แต่กฎแห่งกรรมรู้ทุกอย่าง คนที่จ้าง คนที่ฆ่า ย่อมได้รับผลจากกฎแห่งกรรมแน่นอน
แต่แรงพยาบาทอาจโดนคนทีฆ่ามากกว่าก็เท่านั้นเอง


#42
การเกิดเป็นคนนั้นถือเป็นโอกาสที่จะได้ศึกษาและเข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพานได้ครับ (ตามความเชื่อของชาวพุทธ) เพราะหากเกิดเป็นสัตว์จะไม่มีสติปัญญาเพียงพอที่จะศึกษาและเข้าใจสัจธรรมที่แท้จริงได้
ดังนั้นเมื่อเกิดเป็นมนุษย์จึงเหมือนกับได้รับ "โอกาส" อันดีที่จะ "เลือก" ทำในสิ่งที่ดีขึ้นหรือเลวลงก็ได้
ซึ่งหากเป็นสัตว์ โอกาสเลือกนี้จะไม่มีเลย


#43
ที่เห็นหลายคนบอกให้ไปศึกษาดูเองก็เพราะเรื่องราวมันค่อนข้างมาก
หากโพสไปทั้งหมดเดี๋ยวก็มีคนบ่นว่ายาวไปขี้เกียจอ่านอีก
แม้แต่ผมเองเจอข้อความยาวๆ ยังไม่อยากอ่านเลย
ผมให้ key word ไปแล้ว ลองไปค้นคว้าต่อดู ไม่ยากเกินไปหรอกครับ




#45
ความคิดของคุณเป็นวิสัยที่เกินจากคนปกติทั่วไปจะหาคำตอบได้แล้ว
ซึ่งหากจะคิดไว้เป็นทฤษฎีส่วนตัวก็ไม่ว่ากันครับ แต่อย่าไปเครียดกับมันมาก
เพราะไม่มีใครสามารถให้คำตอบกับคุณได้ เว้นแต่คุณจะได้ไปเจอสภาวะนิพพานด้วยตัวเองเท่านั้นครับ

จะบอกว่าเป็นเกมค้นหาทางออกจากสังสารวัฏก็คงได้ครับ
แต่ผู้เล่นก็คือผู้ที่ต้องการออกจากเกมส์ ส่วนผู้ร่วมเกมส์คนอื่นๆ ก็คงเป็น NPC ที่เวียนว่ายอยู่ในระบบอย่างไม่รู้จบ
จนกว่าจะคิดเข้ามาเป็นผู้เล่นบ้าง
ส่วนเจ้าระบบลบความจำในตอนเกิดใหม่ หากไม่มีนี่คงยากที่จะใช้ชีวิตกันต่อไปได้
ลองคิดดูก็แล้วกันครับ เขาว่ากันว่าเราเวียนว่ายตายเกิดกันมานานเหลือเกิน
นานจนทุกชีวิตที่ได้มาพบเจอกันนี้ต่างเคยได้เป็นคู่กันมาก่อนแล้วทั้งสิ้น
ยิ่งบุคคลที่เกิดมาร่วมครอบครัวเดียวกันนี่ยิ่งต้องได้เคยร่วมเป็นสามีภรรยากันมาแล้วอย่างแน่นอน
หากเกิดมาพร้อมด้วยความทรงจำจากชาติก่อน แต่ยังคงมีกิเลส มีความคิดแบบปุถุชน คงมีแต่ปัญหาตามมาแน่นอน

ดังนั้นการระลึกชาติได้ยาวนานหลายๆ ชาติจึงถูกสงวนไว้ให้กับผู้ที่มีความพร้อมเพียงพอที่จะรับกับความจริงเหล่านั้นได้เท่านั้น


จากคุณ : นาย X-MAN   
เขียนเมื่อ : วันมหาสงกรานต์ 54 23:05:34   



ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความคิดเห็นที่ 63   

#55

ผมเชื่อว่า คนที่ศึกษาจนรู้จริง -จริงๆ จะสามารถอธิบายหลักสำคัญได้ง่ายๆ ให้คนที่ไม่รู้เรื่องเข้าใจได้ง่ายๆ ส่วนคนที่
ชอบไล่ให้คนอื่นไปศึกษาเองนั้น เพราะตัวเองก็ยังศึกษาไม่ลึกซึ้งจนไม่สามารถอธิบายได้มากกว่าน่ะครับ

ยกตัวอย่าง ให้คนที่เป็นแฟนกีฬาฟุตบอล
อธิบายเรื่องฟุตบอลให้คนที่ไม่รู้จักกีฬานี้เลย คนที่อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ
ก็แค่บอก แบ่งข้างกันข้างละ 11 คน ฝ่ายไหนยิงประตูได้มากกว่าชนะ จบ...

ไม่จำเป็นต้องอธิบายมาก เพราะหลักมันมีอยู่แค่นี้จริงๆ

แต่ถ้าคนที่ศึกษาจนฟุ้งซ่านได้ที่แล้ว ก็จะบอกว่า โอ๊ยน้องต้องหัดดูเองแล้วจะรู้ว่าเค้าเล่นกันยังไง... ได้ไรมั่งกับคำตอบ
แบบนี้?



เอ่อ... แล้วรู้ได้ไงอ่ะครับ ว่าสัตว์มันอยากนิพพาน? ยังงั้นเกิดเป็นคนกรุงเทพก็ดีกว่าเกิดเป็นคนชนบทสิครับ เพราะ
กรุงเทพมีห้างให้เดิน (และสามารถเลือกที่จะไม่เดินก็ได้ด้วย)

จากคุณ : ปลาแสนกวน 
เขียนเมื่อ : วันมหาสงกรานต์ 54 23:37:16 A:223.206.208.129 X: TicketID:312088