ยินดีต้อนรับสู่บ้านอบอุ่นของคนรัก บอย สพล ชนวีร์

ตำนานพญาครุฑและพญานาค

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มุนานะ

  • *
  • 17
  • 0
  • เพศ: หญิง
ตำนานพญาครุฑและพญานาค
« เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2011, 05:24:54 PM »

ตำนานน่ารู้ พญาครุฑและพญานาค
 :icon_smile:

ในตํานานเมืองฟ้าป่าหิมพานต์นั้น มีเรื่องราวของสัตว์ที่มีอิทธิฤทธิ์มากมายหลายชนิด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ อันมีลําตัวเป็นสิงห์แต่มีศรีษะเป็นช้าง กินรี กินนร และสัตว์แปลกๆอีกมากมาย ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นมี 2อย่างที่นับว่าเป็นเทพ มีอิทธิฤทธิ์มากคือ พญาครุฑ จ้าวแห่งเวหา อีกหนึ่งคือ พญานาคราช จ้าวแห่งบาดาล
พญานาคนั้นมีวิมานอันเป็นทิพย์อยู่ในเมืองบาดาล ส่วนพญาครุฑนั้นก็มีวิมานฉิมพลีอยู่ที่เชิงเขาไกรลาสและได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีศาสตราวุธใดๆสามารถทําร้ายได้ แม้แต่สายฟ้าของพระอินทร์ กล่าวว่าองค์พญาครุฑนั้นมีนามว่า ท้าวเวนไตย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวสุบรรณ ซึ่งหมายถึง(ขนวิเศษ) มีกายเป็นรัศมีสีทอง มีเดชอํานาจมากที่สุดในหมู่ครุฑทั้งหลาย อาศัยเกาะอยู่ตามต้นงิ้ว อาศัยผลงิ้วและนําดอกไม้จากตันงิ้วเป็นอาหารทิพย์ ลูกพญาครุฑจะโตขึ้นนับเวลาอายุเป็นข้างขึ้นข้างแรมตามจันทรคติ เติบโตด้วยบุญกุศลที่เคยทํามา หากลูกครุฑตนใดที่มีบุญญาธิการมามาก อํานาจจะบันดาลให้เกิดผลงิ้วทิพย์และน้ำหวานจากดอกไม้มาบําเรอลูกครุฑตนนั้นๆและลูกครุฑตนดังกล่าวจะจําเจริญวัยได้อย่างรวด

นาคและครุฑต่างเป็นสัตว์ที่คู่กันมาตามตํานาน มีเรื่องราวเล่ากันว่าในขณะที่พระพรหมกําลังสร้างโลกอยู่นั้น พระทักษะปชาบดีได้ยกลูกสาวทั้ง13คนให้ ฤาษีกัสยปะเทพบิดร และเกิดบุตรหลานเป็นจํานวนมาก โดย นางกัทรุ หนึ่งในบรรดาลูกสาวทั้ง13คนนั้นได้เป็นมารดาของนาคและงู1000ตัว ส่วน นางวินตา ผู้เป็นน้องก็ได้ให้กําเนิดไข่2ฟองซึ่งต้องใช้เวลาฟักนานมาก นางวินตา ทนรอไม่ไหวจึงทุบไข่ฟองนึงให้แตกเป็นตัวออกมา บุตรของ นางวินตา เมื่อออกมาแล้วปรากฎว่าเป็น ชายครึ่งนก แต่มีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์เพราะออกมาจากไข่เร็วเกินไปดังนั้นบุตรชายครึ่งนกก็กราบทูลพระมารดาว่า ให้รอไข่อีกฟองแตกตัวออกมาโดยวิธีธรรมชาติ ก็จะได้บุตรชายครึ่งนกที่มีสภาพร่างกายสมบูรณ์ จะมีบุญญาธิการและพละกําลังมหาศาลและจะคอยให้ความช่วยเหลือนางวินตาพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง พอกล่าวจบบุตรครึ่งนกตนแรกก็บินจากนางไป และไปเป็นสารถีให้พระสุริยะเทพ และมีนามที่เรียกกันว่า อรุณเทพบุตร ซึ่งถือเป็นพี่ชายของพญาครุฑ

ต่อมานางกัทรุและนางวินตาได้พนันกันว่าม้าที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เหล่าทวยเทพและอสูรกวนน้ำอมฤต ที่วิ่งไปวิ่งมาอยู่บนสวรรค์นั้นมีหางสีอะไรถ้าใครแพ้ก็ต้องเป็นข้ารับใช้ตลอดไป นางวืนตาเลือกตอบว่าหางของม้านั้นเป็นสีขาว ส่วนนางกัทรุนั้นได้ตอบว่าเป็นสีดําแต่จริงๆแล้วนางกัทรุได้รู้แจ้งอยู่แล้วว่าหางของม้าเป็นสีขาวและนางกัทรุกลัวแพ้จึงได้คิดวางอุบายขึ้นโดยให้ลูกงูทั้ง1000ตัวนั้นเข้าไปพันอยู่รอบๆหางของม้าให้หางของม้าดูแลกลายเป็นสีดํา และเมื่อม้าตัวนั้นวิ่งมาถึงนางทั้ง2ก็เห็นหางของม้าเป็นสีดํา นางวินตา เลยจําต้องยอมแพ้และกลายเป็นข้ารับใช้ของนางกัทรุ

ในขณะนั้นเองไข่ฟองที่2ของนางวินตาก็ได้ฟักตัวออกมา เมื่อแรกเกิด ร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจดฟ้า ดวงตราเมื่อกระพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกใด บรรดาขุนเขาก็ตกใจต้องปลาดหนีไปพร้อมกับพระพาย รัศมีพวยพุ่งออกมาจากกายสว่างไสวเป็นที่อัศจรรย์ มีลักษณะดั่งไฟไหม้ไปทั่วทั้งสี่ทิศ กระทําให้ทวยเทพต้องตกใจ สําคัญว่าเป็นพระอัคนี ต่างพากันมาบูชา เพื่อขอความคุ้มครอง หลังจากนั้นก็ได้ออกบินไปตามหานางวินตาผู้เป็นมารดาจนพบ นางวินตาจึงเล่าเรื่องที่ถูกนางกัทรุใช้กลโกงในการพนันจนต้องมาเป็นทาสรับใช้ พอทราบเรื่องเข้าก็ทำให้บุตรชายครึ่งนกของนางวินตา รู้สึกโกรธแค้นนางกัทรุและนาคเป็นอันมาก จึงทําให้บุตรชายครึ่งนกของนางวินตาเป็นศัตรูกับพวกนาคและงูกันมาตลอดเจอกันเมื่อไรเป็นต้องต่อสู้กัน แต่นางวินตาก็ได้ร้องขอและได้ห้ามไว้ไม่ให้ไปทำอะไรกับฝ่ายนางกัทรุและเหล่านาคอีก เพราะต้องการรักษาคำพูดและรักษาสัตย์ที่ได้ตกลงกันไว้นั้น บุตรชายครึ่งนกของนางวินตาก็ยอมอยู่กับนางวินตาและยอมเป็นข้ารับใช้นางกัทรุและบรรดาลูกๆของนางคือนาคกับงู 1000 ตัวด้วย
ในที่สุดบุตรชายครึ่งนกของนางวินตาได้เข้าไปเจรจาขอแลกอิสรภาพจากนางกัทรุและเหล่านาคให้แก่มารดาของตน นางกัทรุจึงได้ขอแลกกับน้ำอมฤตเป็นการแลกกกับอิสระภาพของนางวินตา บุตรนางวินตาจึงบินไปหาน้ำอมฤตในทันที ในระหว่างทางก็ได้พบกับฤาษีกัสปะเทพบิดรผู้เป็นบิดา ซึ่งได้แนะนำให้บุตรนางวินตาบินไปยังทะเลสาปแห่งหนึ่งและจับกินเต่ายักษ์และช้างที่กำลังสู้กันเพื่อเพิ่มพลังในระหว่างการเดินทางไปหานําอมฤต บุตรนางวินตาจึงได้จับสัตว์ทั้งสองกินแล้วออกบินต่อไป พอมาถึงต้นไทรต้นหนึ่งก็ได้แวะลงไปเกาะที่กิ่งต้นไทร ต้นไทรนี้มีฤาษี 4ตนกำลังบำเพ็ญตบะอยู่ พอบินลงมาเกาะจึงทำให้กิ่งต้นไทรหัก บุตรนางวินตาจึงจับกิ่งไม้นั้นไว้เพื่อไม่ให้ฤาษีทั้ง 4ตนตกลงไป ฤาษีทั้ง 4จึงเรียกบุตรนางวินตาว่า "ครุฑ" แปลว่า "ผู้แบก" หรือผู้ซึ่งยกของหนักได้ บุตรของนางวินตาจึงได้ชื่อว่า "พญาครุฑ" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เมื่อข่าวเรื่องพญาครุฑจะมาขโมยน้ำอมฤตรู้ถึงพระอินทร์ พระอินทร์จึงสั่งเพิ่มเหล่าบรรดากำลังทหารสวรรค์ให้เข้มแข็ง โดยชั้นนอกให้เหล่าเทวดาสวรรค์และทูตสวรรค์รักษาไว้ ให้หม้อน้ำอมฤตอยู่ตรงกลางกงจักรที่มีงูยักษ์ 2ตัวหมุนกงจักรและจุดไฟล้อมรอบเอาไว้เพื่อป้องกันและขัดขวาง เมื่อพญาครุฑเดินทางมาถึงก็ได้ต่อสู้กับบรรดาเหล่ากองทัพทหารสวรรค์อย่างดุเดือด และก็ใช้ปีกกระพือลมพัดเหล่าทหารเทวดาสวรรค์จนแตกพ่าย เหล่าบรรดาทหารสวรรค์ไม่สามารถต้านทานฤทธิ์เดชอํานาจของพญาครุฑได้จึงพ่ายแพ้และสูญสลายไปจนหมดสิ้น แล้วจึงบินพุ่งลงไปอมน้ำในมหาสมุทรมาพ่นดับไฟที่ลุกอยู่ล้อมรอบกงจักรนั้นเสีย และกินงูที่กำลังหมุนกงจักรอยู่นั้นอีกด้วย แล้วจึงเข้าชิงนำน้ำอมฤตกลับมาไถ่ตัวมารดา พระอินทร์จึงเข้าขัดขวางจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น พระอินทร์ใช้สายฟ้าฟาดเข้าที่บริเวณปีกของพญาครุฑเข้าอย่างจังแต่สายฟ้าของพระอินทร์มิอาจทําอันตรายต่อพญาครุฑได้เลย ในที่สุดพระอินทร์จึงยอมแพ้ต่อพญาครุฑ และพญาครุฑจึงได้มอบขนปีกให้กับพระอินทร์หนึ่งเส้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พระอินทร์ และนับจากนั้นมาพญาครุฑจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ท้าวสุบรรณ"แปลว่า"ขนวิเศษ"
เรื่องราวการรบครั้งนั้นได้เลื่องลือล่วงรู้ไปถึงสามโลกธาตุ จนร้อนถึงพระนารายณ์ต้องลงมาช่วยปราบ จนเกิดการต่อสู้กันอย่างดุเดือดระหว่างพระนารายณ์และพญาครุฑ ต่อสู้กันจนฟ้าลั่นแผ่นดินสะเทือนแต่ทั้งพระพระนารายณ์และพญาครุฑต่างก็ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ทั้งสองจึงยุติศึกและทำสัญญาเป็นไมตรีต่อกัน โดยพญาครุฑสัญญาที่จะรับเป็นพาหนะให้กับพระนารายณ์ตลอดไปและเป็นธงครุฑพ่าห์สําหรับปักอยู่บนรถศึกของพระนารายณ์ ส่วนพระนารายณ์ก็ได้ให้พรความเป็นอมตะแก่พญาครุฑและไม่มีใครทำลายได้ เสร็จแล้วพญาครุฑจึงได้นำน้ำอมฤตไปไถ่ตัวนางวินตาผู้เป็นมารดาในเวลาต่อมา

ครุฑเป็นสัตว์กึ่งโอปปาติกะ หรือกึ่งกายทิพย์กายสิทธิ์คล้าย ชาวลับแล และ พวกพญานาค อยู่อีกมิติหนึ่งจากโลกของเรา ผู้ที่สามารถจะพบเห็นพญาครุฑได้นั้นต้องเคยมีบุญร่วมกับเขามา จึงจะสามารถรับรู้ถึงกันและกันได้ เหมือนกับผู้ที่สามารถติดต่อกับพญานาคได้เช่นกันล้วนต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนาต่อกันมาตั้งแต่อดีตกาลทั้งนั้นไม่ใช่เรื่องสาธารณะที่จะรู้กันได้ทั่วกันไปเช่นสามัญ

เรื่องของพญาครุฑเป็นเรื่องราวที่มีความอัศจรรย์ โลดโผนมาก แต่คนทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าใดนัก ความเป็นจริงแล้วเรื่องราวของพญาครุฑเป็นเรื่องที่น่าศึกษามากเพราะทางฮินดูเขานับถือครุฑว่าเป็นเทพเจ้าพระองค์หนึ่งเลยทีเดียว แม้แต่ในไทยของเราเอง ทางไสยศาสตร์ก็ให้ความนับถือเกี่ยวกับครุฑนี้มาก ดูอย่างตราประจําแผ่นดินเองก็มีลักษณะเป็น ครุฑ จึงน่าสนใจว่า ครุฑ นั้นมีอานุภาพบางอย่างและน่าจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในอีกมิติหนึ่ง

ออฟไลน์ augustle

  • *
  • 549
  • 0
  • เพศ: หญิง
  • iNUTTi
    • มาย ทวิต^^
Re: ตำนานพญาครุฑและพญานาค
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2011, 07:10:12 PM »
จากที่เคยอ่านเจอที่นางวินตาแพ้พนันต้องไปเป็นทาสเกิดจากที่ถูกลูกที่เกิดจากไข่คนแรกสาปให้ไปเป็นทาสนางกัทรุ
เพราะทำลายไข่ตอนยังไม่ถึงเวลาลูกจึงโกรธที่ทำให้ออกมาไม่สมประกอบ แต่เราก็ไม่รู้ว่าตำนานไหนเป็นเรื่องจริงเหมือนกัน
แต่ก็ขอบใจที่เอามาให้อ่านนะ :(

ออฟไลน์ มุนานะ

  • *
  • 17
  • 0
  • เพศ: หญิง
ลักษณะพญานาคและพญาครุฑ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2011, 11:37:34 AM »
ไม่รู้ยังไงทำไมถึงอยากพิมพ์แต่เกี่ยวกับพญานาคและพญาครุฑ :icon_frown:ประมาณว่าชอบง่ะ :oแต่ก็พิมพ์ซะเลย
ลักษณะของพญานาค
นาค หรือ พญานาค มีลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะ แตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี7สี และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียวแต่-ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะ สืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช(อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุ-นารายณ์ปรมนาท ณ เกษียณสมุทรอนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมา มีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศรีษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในนำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม พญานาค งูใหญ่ มีหงอน สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา และ บันไดสายรุ้งสู่จักรวาล เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ จากการจำศีล บำเพ็ญภาวนา ศรัทธาในพุทธศาสนา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เราจะพบเห็น เป็นรูปปั้นหน้าโบสถ์ ตามวัดต่างๆบันไดขึ้นสู่วัดในพุทธศาสนา ภาพเรื่องราวที่ เกี่ยวข้อง กับศาสนาพุทธอีกมากมาย อีกทั้งมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถ- แปลงกายได้ พญานาค มีอิทธิฤทธิ์ และมีชีวิตใกล้กับคน

พญานาค สามารถแปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับ พระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นอะไร แต่ในสภาวะ 5 อย่างนี้ จะต้องปรากฎเป็นงูใหญ่เช่นเดิม คือ ขณะเกิด ขณะลอกคราบ ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค ขณะนอนหลับ โดยไม่มีสติ และที่สำคัญ ตอนตาย ก็กลับเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงูแมงป่องตะขาบคางคก มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน พญานาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วผสมพันธุ์กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร


ออฟไลน์ มุนานะ

  • *
  • 17
  • 0
  • เพศ: หญิง
Re: ลักษณะพญานาคและพญาครุฑ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2011, 11:43:35 AM »
อันนี้คือลักษณะของพญาครุฑ :icon_smile:
ครุฑ เมื่อแรกเกิด ร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจดฟ้า ดวงตราเมื่อกระพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกใด บรรดาขุนเขาก็ตกใจต้องปลาดหนีไปพร้อมกับพระพาย รัศมีพวยพุ่งออกมาจากกายสว่างไสวเป็นที่อัศจรรย์ มีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วทั้งสี่ทิศ กระทําให้ทวยเทพต้องตกใจ สําคัญว่าเป็นพระอัคนี ต่างพากันมาบูชาครุฑ เพื่อขอความคุ้มครองจากครุฑ

  ครุฑ เป็นสัตว์กึ่งเทพกายสิทธิ์ขนาดใหญ่ ได้รับพรให้เป็นอมตะ มีวิชาผาดโผนพิสดาร มีอานุภาพและพละกําลังมหาศาล แข็งแรง สามารถบินได้รวดเร็วประดุจสายฟ้าฟาด ทั้งยังมีสติปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ น่าสรรเสริญ

  อีกตําราหนึ่งว่าครุฑนั้นมีรูปร่างและลักษณะดังนี้ เศียร จงอยปากและเล็บเป็นเหมือนดั่งพญานกอินทรี ท่อนกายตัวและแขนขาเป็นดั่งมนุษย์ หน้าเป็นสีขาว ปีกเป็นสีทอง กายเป็นสีทอง มีโอรสชื่อ สัมปาติ(สัมพาที)และ ชฎายุ (บางตำราบอกว่าสัมปาติและชฎายุเป็ยโอรสของพระอรุณเทพบุตร)มีชายาชื่อ อุนนติหรือวินายกา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2011, 06:30:16 PM โดย มุนานะ »

ออฟไลน์ มุนานะ

  • *
  • 17
  • 0
  • เพศ: หญิง
ความเชื่อเรื่องพญานาคและพญาครุฑ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2011, 06:49:01 PM »
แหะแหะ พิมพ์ได้ทั้งวี่ทั้งวันเกี่ยวกับพญานาคพญาครุฑเนี่ย  :icon_mrgreen: :icon_mrgreen:
เริ่มต้นด้วยความเชื่อเรื่องพญานาค
ชาวฮินดูถือว่า นาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่างๆ เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น อนันตนาคราช ที่เป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ตรงกับความเชื่อของลัทธิพราหมณ์ ที่เชื่อว่า นาค เป็นเทพแห่งน้ำ เช่นปีนี้ นาค ให้น้ำ 1 ตัว แปลว่า น้ำจะมาก จะท่วมที่ทำการเกษตร ไร่นา ถ้าปีไหน นาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อย ตัวเลขนาคให้น้ำจะกลับกันกับเหตุการณ์ เนื่องจาก ถ้านาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อยเพราะนาคกลืนน้ำไว้
นาคมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถแปลงกายได้ มีอิทธิฤทธิ์และมีชีวิตใกล้กับคน สามารถแปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น
นาค ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นอะไร แต่ในสภาวะ 5 จะต้องปรากฏรูปลักษณ์เป็นนาคเช่นเดิม คือ ขณะเกิด, ขณะลอกคราบ, ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค ขณะนอนหลับโดยไม่มีสติ และตอนตาย ก็กลับเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม
นาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก, มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน
นาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล คนโบราณเชื่อว่าเมื่อบนสวรรค์มีเทพอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลก ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า ที่ที่นาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อนๆ กัน ชั้นสูงๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์
นาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วสมสู่กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร
สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลกจนถึงสวรรค์ ในทุกตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขึ้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้น ๆ
นาคเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ จึงปรากฏความเชื่อเรื่องนาคที่เกี่ยวกับน้ำไว้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ในตำนานสิงหนวัติ กล่าวว่า เมื่อเจ้าเมืองสิงหนวัติอพยพคนมาจากทางเหนือ พญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ และขอให้อยู่ในทศพิธราชธรรม พอตกกลางคืนก็ขึ้นมาสร้างคูเมือง 4 ด้าน เป็น เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมาเมื่อยกทัพปราบเมืองอื่นได้ และรวมดินแดนเข้าด้วยกัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนาคราช
ที่ปราสาทพนมรุ้ง คูเมืองที่เป็นสระน้ำ 4 ด้าน รอบปราสาทและมี พญานาค อยู่ด้วย ตามความเชื่อของคนสมัยโบราณ ดังนั้น นาคจะมีความหมายเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากน้ำ เช่น การสร้างศาสนสถานไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ นาคที่ราวบันได จึงมี พญานาค ซึ่งตามความเป็นจริง (ความเชื่อ) การสร้างต้องสร้างกลางน้ำ เพื่อให้ดูเหมือนว่าศาสนสถานนั้นลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ก็ไม่ต้องสร้างจริงๆ เพียงแต่มีสัญลักษณ์ พญานาค ไว้ เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น แม้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ก็จะมีอยู่ในราศีเกิด เช่นของคนนักษัตรปีมะโรง ที่มีความหมายถึง ความยิ่งใหญ่และพลังอำนาจ ที่มี พญานาค เป็นสัญลักษณ์

ความเชื่อเกี่ยวกับ พญาครุฑ
ครุฑ คือสัตว์หิมพานต์อย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่สัตว์สามัญธรรมดา เพราะพญาครุฑเป็นสัตว์กึ่งเทพกายสิทธิ์เป็นอมตะ ซึ่งมีอํานาจเทียบเท่าพระผู้เป็นเจ้า ครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์อย่างหนึ่ง ในเมืองไทยเรานับถือพระมหากษัตริย์ว่าเป็นสมมุติเทพ เป็นองค์นารายณ์อวตารจึงมีการใช้ธงรูปครุฑ และมีครุฑเป็นสัญลักษณ์ประจําแผ่นดิน สามารถพบเห็นครุฑได้จากเอกสารต่างๆของทางราชการและนับว่าเอกสารเหล่านั้นเป็นเอกสารศักดิ์สิทธิ์ หากราชการผู้ที่ทําหน้าที่ผู้ใด มีความสุจริต จงรักภักดีต่อแผ่นดิน องค์พระมหากษัตริย์ และหน้าที่ของตัวเองแล้ว องค์พญาครุฑก็จะส่งพลังป้องกันภยันตราย ก่อให้เกิดความสุขในทุกด้าน และจะมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ นอกจากนี้ยังมีเกร็ดความเชื่อว่าหากที่ใดมีอาถรรพ์แรงท่านให้นําเอาตราหรือสัญลักษณ์พญาครุฑไปติดหรือบูชาจะทําให้อาถรรพ์นั้นเสื่อมสลายไปในที่สุด ครุฑล้างอาถรรพ์ได้จึงเป็นที่เชื่อถือกันมาตลอดและได้รับความเคารพบูชาเป็นอย่างสูงเปรียบเสมียนเป็นองค์ตัวแทนแห่งพระประมุข ผู้ใดมีสัญลักษณ์หรือรูปครุฑบูชาไว้ย่อมได้อานิสงฆ์มากเป็นล้นพ้น อาทิ มีความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเองและครอบครัวเป็นต้น คนโบราณยังมีความเชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ครุฑ เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง มหาอํานาจ อย่างเด็กคนใดที่เกิดมาแล้วมีลักษณะปากคล้าย พญาครุฑ ท่านว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิด ภายภาคหน้าจะได้เป็นใหญ่เป็นโต
เรื่องครุฑนี้คนโบราณจึงเชื่อถือกันมากแม้เครื่องรางของขลังที่เกี่ยวกับครุฑก็เป็นเครื่องรางที่มีความหมายมีอานุภาพมากมายมหาศาลโดดเด่นหลายประการ

  อํานาจพญาครุฑ สิทธิอํานาจพญาครุฑสัตว์กายสิทธิ์ที่ไม่มีผู้ใดสามารถฆ่าให้ตายได้มีอายุยืนเสมือนว่าเป็นอมตะนั้น นับเป็นเรื่องลี้ลับที่ผู้รู้พยายามค้นคว้าและเสาะหาที่มาแห่งพลังอํานาจดังกล่าว จนเกิดการสร้างเครื่องรางต่างๆขึ้น อํานาจพญาครุฑสามารถจําแนกได้ 8ประการ โดยนับเอาอํานาจหลักๆได้ดังนี้คือ

1.เป็นมหาอํานาจอันยิ่งใหญ่ เป็นสิทธิอํานาจอันเฉียบขาด

2.สามารถลบล้างอาถรรพ์และคุณไสยได้ทั้งปวง ภูติผีปีศาจกลัวไม่กล้าเข้าใกล้

3.เป็นสื่อนําความเจริญรุ่งเรือง ยศถาบรรดาศักดิ์มาสู่ชีวิตหน้าที่การงาน

4.ปกป้องคุ้มครอง ป้องกันภัยเป็นคงกระพัน

5.เป็นเมตตามหานิยม

6.นําความร่มเย็นเป็นสุขมาให้

7.ทํามาค้าขายดี เป็นสื่อนําโชคลาภนานาประการ

8.สัตว์ร้าย เขี้ยวงาสารพัด งูเงี้ยวเขี้ยวขอ อสรพิษ ไม่กล้ากลํากายเข้าใกล้ เพราะเกรงตบะบารมีขององค์พญาครุฑเป็นที่สุด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2011, 07:06:18 PM โดย มุนานะ »

ออฟไลน์ มีน

  • *
  • 239
  • 0
Re: ความเชื่อเรื่องพญานาคและพญาครุฑ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2011, 06:53:04 PM »
ขออนุญาตรวมกระทู้รวมกับอีก 2 กระทู้ที่คุณตั้งนะคะ
เพราะทั้งหมด มันเป็นเรื่องพญาครุฑกับพญานาคเหมือนกันเลย
คนอ่านจะได้อ่านได้สะดวก

ออฟไลน์ มุนานะ

  • *
  • 17
  • 0
  • เพศ: หญิง
Re: ตำนานพญาครุฑและพญานาค
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2011, 07:11:08 PM »
ได้ค่ะ ไม่รู้จะรวมกระทู้ยังไงดีค่ะ ขอโทษด้วยนะค่ะ :'( :'( :'(