• Welcome to ยินดีต้อนรับสู่บ้านอบอุ่นของคนรัก บอย สพล ชนวีร์.

อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง ใครได้ดูบ้างคะ ??

เริ่มโดย air2535, ธันวาคม 06, 2008, 09:35:13 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

galdewis

อ้างจาก: กาฬรหัสย์ เมื่อ มกราคม 16, 2009, 06:01:33 หลังเที่ยง

แล้วก็จะเอ่ยสรรพนามผู้หญิงว่า "หล่อน"


"หล่อน" นี่ก็ยังคงใช้กันอยู่ในนิยายปรัตยุบันใช่มั้ยคะ ไม่ค่อยได้อ่านนิยายแล้วตอนนี้

แต่ถ้าเป็นพี่ พี่ชอบใช้คำว่า "เธอ" มากกว่าอ่ะค่ะ ไม่ชอบ "หล่อน" เท่าไหร่

แต่ถ้าเป็น "หล่อน" ที่เห็นใช้กันในละครพีเรียดยุคประมาณร. 5 ได้มั้งคะ อย่างเรื่อง "ทวิภพ" นี่ กลับชอบนะ
มันฟังดูเหมือนคนพูดเอ็นดูๆ น่ะ แล้วก็ฟังโบราณๆ ดี แบ่บว่าชอบอะไรที่โบราณๆ  ;D

แต่ถ้าคำว่า "เจ้าหล่อน" นี่ น่ารักเลยแหละ ดูคนพูดแบ่บ...อารมณ์ประมาณว่า หมั่นไส้ๆ แกมเอ็นดูหน่อยๆ

บางทีเห็นใช้กับเด็กผู้หญิงที่แก่แดดๆ น่ะ ประมาณว่าผู้ใหญ่เอ็นดูแกมหมั่นไส้ในความแก่แดด เลยเรียก "เจ้าหล่อน" ซะเลย
พี่ก็ใช้ในเรื่องสั้นที่พี่แต่ง ใช้เรียกนางเอกตอนอายุ 5 ขวด เอ๊ย! 5 ขวบ ด้วยความหมั่น...เขี้ยว  :-X

maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon

galdewis

#46
ไอ๊หย่ะ! อะไรกันนี่ เผลอแป๊บเดียว มีห้องใหม่เอี่ยมอีกแล้ว "ห้องละคร" เมื่อคืนยังไม่เห็นเลยนะ นานะจังตั้งตอนไหนเนี่ย ว่องไวปานกามนิษฐ์หนุ่ม (กามนิษฐ์เขียนถูกป่าว ถ้าผิดใครช่วยแก้ด้วยค่ะ)

ดีค่ะดีดี  ;) จะได้คุยกันให้มันกระจายยยย... ไปเลย แบบนานะจังบอก อิอิ  ;D

ว่าจะเข้ามาแสดงความยินดีช่วยตัดริบบิ้นเปิดห้องใหม่อ่ะค่ะ นานะจัง แต่ไม่รู้จะเขียนที่ไหนดี เห็นทู้นี้อยู่บนสุด เลยฝากยินดีที่ทู้นี้ซะเรยย

แล้วถ้านานะจังเปิดคอลัมน์วิจารณ์หนังละครนี่ จะอยู่ห้องนี้หรืออยู่ห้องนิตยสารฯ ล่ะ งงแฮะ   :-\


ปล. ไมนานาจังไม่ย้ายทู้เทพสังวาล(ย์) มาด้วยอ่ะ ลืมเหรอ หรือมีเหตุผลอื่น
maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon

นานะจัง

#47
อ้างจาก: galdewis เมื่อ มกราคม 17, 2009, 11:38:30 ก่อนเที่ยง
ไอ๊หย่ะ! อะไรกันนี่ เผลอแป๊บเดียว มีห้องใหม่เอี่ยมอีกแล้ว "ห้องละคร" เมื่อคืนยังไม่เห็นเลยนะ นานะจังตั้งตอนไหนเนี่ย ว่องไวปานกามนิษฐ์หนุ่ม (กามนิษฐ์เขียนถูกป่าว ถ้าผิดใครช่วยแก้ด้วยค่ะ)

ดีค่ะดีดี  ;) จะได้คุยกันให้มันกระจายยยย... ไปเลย แบบนานะจังบอก อิอิ  ;D

ว่าจะเข้ามาแสดงความยินดีช่วยตัดริบบิ้นเปิดห้องใหม่อ่ะค่ะ นานะจัง แต่ไม่รู้จะเขียนที่ไหนดี เห็นทู้นี้อยู่บนสุด เลยฝากยินดีที่ทู้นี้ซะเรยย

แล้วถ้านานะจังเปิดคอลัมน์วิจารณ์หนังละครนี่ จะอยู่ห้องนี้หรืออยู่ห้องนิตยสารฯ ล่ะ งงแฮะ   :-\


ปล. ไมนานาจังไม่ย้ายทู้เทพสังวาล(ย์) มาด้วยอ่ะ ลืมเหรอ หรือมีเหตุผลอื่น


55555 จริงๆไม่ได้ลืมหรอกค่ะ  คิดอยู่ว่าจะย้ายมาอยู่ห้องนี้ดีไหม แต่ว่า
ไม่ดีกว่า เอาไว้ห้องสนทนาพาเพลินเหมือนเดิมดีกว่าเนอะ
ส่วนคอลัมน์ที่นานะจังจะทำ วิจารณ์หนังละคร คงอยู่ห้อง นิตยสารค่ะ
เพราะทำให้เป็นคอมลัมน์ เหมือน นิตยสารทั่วไปอย่างพี่ทำอ่ะค่ะ ส่วนห้องนี้ไว้เล่าเรื่อง พูดคุย เรื่องละครค่ะ โอเคไหมคะ  ;)

อินทรายุธ


อ้างจาก: galdewis เมื่อ มกราคม 16, 2009, 07:10:51 หลังเที่ยง
อ้างจาก: กาฬรหัสย์ เมื่อ มกราคม 16, 2009, 06:01:33 หลังเที่ยง

แล้วก็จะเอ่ยสรรพนามผู้หญิงว่า "หล่อน"


"หล่อน" นี่ก็ยังคงใช้กันอยู่ในนิยายปรัตยุบันใช่มั้ยคะ ไม่ค่อยได้อ่านนิยายแล้วตอนนี้

แต่ถ้าเป็นพี่ พี่ชอบใช้คำว่า "เธอ" มากกว่าอ่ะค่ะ ไม่ชอบ "หล่อน" เท่าไหร่

แต่ถ้าเป็น "หล่อน" ที่เห็นใช้กันในละครพีเรียดยุคประมาณร. 5 ได้มั้งคะ อย่างเรื่อง "ทวิภพ" นี่ กลับชอบนะ
มันฟังดูเหมือนคนพูดเอ็นดูๆ น่ะ แล้วก็ฟังโบราณๆ ดี แบ่บว่าชอบอะไรที่โบราณๆ  ;D

แต่ถ้าคำว่า "เจ้าหล่อน" นี่ น่ารักเลยแหละ ดูคนพูดแบ่บ...อารมณ์ประมาณว่า หมั่นไส้ๆ แกมเอ็นดูหน่อยๆ

บางทีเห็นใช้กับเด็กผู้หญิงที่แก่แดดๆ น่ะ ประมาณว่าผู้ใหญ่เอ็นดูแกมหมั่นไส้ในความแก่แดด เลยเรียก "เจ้าหล่อน" ซะเลย
พี่ก็ใช้ในเรื่องสั้นที่พี่แต่ง ใช้เรียกนางเอกตอนอายุ 5 ขวด เอ๊ย! 5 ขวบ ด้วยความหมั่น...เขี้ยว  :-X



นานๆจะเจอคนเขียน "ปัจจุบัน" เป็น "ปรัตยุบัน" สักที  ชอบค่ะชอบ  ;D
เดี๋ยวนี้นิยายสมัยใหม่ ไม่ค่อยใช้คำว่าหล่อนแล้วล่ะค่ะ ส่วนใหญ่จะใช้คำว่าเธอทั้งนั้นเลย
อินเคยเขียนเรื่องสั้นส่งอาจารย์สมัยเรียน ใช้คำว่าหล่อนทั้งเรื่อง ปรากฏว่าอาจารย์คอมเม้นท์มาค่ะว่าใช้ภาษาแปลก เป็นงั้นไป ::)  แต่เจ้าหล่อนยังมีใช้กันอยู่เยอะค่ะ

เรื่องเพชรพระอุมา ชอบคำๆนึงมาก "ฆานประสาท" ไม่เห็นนิยายเรื่องไหนใช้คำนี้เลย มาเจออีกทีก็ในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อนอินถามกันใหญ่ว่า "ฆานประสาท" หมายถึงอะไร อินถอนใจเฮือกก่อนจะตอบว่า ก็ประสาทการรับรู้กลิ่นไง (ทั้งที่คนถามก็ติดเพชรพระอุมางอมแงมแท้ๆ)

อ้างจาก: galdewis เมื่อ มกราคม 17, 2009, 11:38:30 ก่อนเที่ยง
ไอ๊หย่ะ! อะไรกันนี่ เผลอแป๊บเดียว มีห้องใหม่เอี่ยมอีกแล้ว "ห้องละคร" เมื่อคืนยังไม่เห็นเลยนะ นานะจังตั้งตอนไหนเนี่ย ว่องไวปานกามนิษฐ์หนุ่ม (กามนิษฐ์เขียนถูกป่าว ถ้าผิดใครช่วยแก้ด้วยค่ะ)



ที่ถูก เขียนว่า "กามนิต" ค่ะคุณ galdewis
;)

     อักษรแต่งสาร   จดจารลงไว้                          มอบหื้อน้องไท้   สรรคำเลือกเฟ้น
ความฮักหนักอก   หยิบยกหื้อเห็น                         แป๋งเป็นค่าวส้อย   ส่งเถิงนุชน้อง
หวังเจ้าหันใจ   หวังให้หันพ้อง                              ส่งค่าวไขบอกเค้า
     เอื้องผึ้งหอมหวาน   พี่ขานบอกเจ้า                   เอื้องผึ้งหวังพึ่งพา
เจ้ายอดมิ่งมิตร   ดวงจิตพี่ยา                               ตึงร่างกายา   ถอดวางหื้อเจ้า
เจ้าแก้วรอมแพง   เช้าแลงคอยเฝ้า                       ถนอมฮักอย่าฮู้ร้าง
     ขอเจ้าแพงนาย   อย่าคลายปล่อยคว้าง             หื้อพี่ว้างดายเดียว
อู้แท้จากใจ   บ่ใช่เพียงเกี้ยว                               กลับเวียงครานี้   จะเตรียมแต่งผ้า
คนใหญ่เจียรจา   มาขอน้องหล้า                          เป็นจอมนาฏนางใหญ่
     เขียนสารฝากแม่ไว้                                     แทนพี่แนบเคียงใกล้ 
นิ่มน้องรอมรอมแพง                                         พี่เฮย ”    

กาฬฯ

คำว่า  ปรัตยุบัน กาฬก็ไม่เจอในหนังสือสมัยนี้เลยค่ะ  ถ้าเป็นอนาคตใช้คำว่า  ปรัตจาต  รึเปล่าคะ  ส่วนอดีตใช้คำว่าอะไรอ่ะ

นิยายส่วนมากที่กาฬเคยอ่าน  จะเรียกผู้หญิงว่าหล่อนเกือบทั้งนั้นเลย  แต่นิยายสมัยนี้  น้อยเรื่องแล้วที่ใครจะใช้ หล่อน  ส่วนมากก็ใช้ เธอ กันหมด   เรื่องที่กาฬเขียนก็ใช้เธอค่ะ   เพราะแนวเรื่องเป็นแบบสมัยใหม่   

ส่วนแนวแฟนตาซี ย้อนยุค โบราณ   กาฬก็ใช้  นาง  ไปเลย


อ้างจาก: อินทรายุธ เมื่อ มกราคม 17, 2009, 05:12:17 หลังเที่ยง
อินเคยเขียนเรื่องสั้นส่งอาจารย์สมัยเรียน ใช้คำว่าหล่อนทั้งเรื่อง ปรากฏว่าอาจารย์คอมเม้นท์มาค่ะว่าใช้ภาษาแปลก เป็นงั้นไป ::)  แต่เจ้าหล่อนยังมีใช้กันอยู่เยอะค่ะ

เรื่องเพชรพระอุมา ชอบคำๆนึงมาก "ฆานประสาท" ไม่เห็นนิยายเรื่องไหนใช้คำนี้เลย มาเจออีกทีก็ในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อนอินถามกันใหญ่ว่า "ฆานประสาท" หมายถึงอะไร อินถอนใจเฮือกก่อนจะตอบว่า ก็ประสาทการรับรู้กลิ่นไง (ทั้งที่คนถามก็ติดเพชรพระอุมางอมแงมแท้ๆ)

ซะงั้นอ่ะ   อ.คงจะเห็นว่า  แปลกด้วยอายุและวัยมั้งคะ   เพราะคำว่า เธอ ใช้กันแพร่หลายแล้ว  จนเด็กสมัยนี้บางคนคงไม่รู้จักคำว่า หล่อน แล้ว

ฆานประสาท  เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้มากค่ะ  โดยเฉพาะในเวลาอ่านเพชรพระอุมา  ไม่รู้พี่ๆ เป็นเหมือนกาฬรึเปล่า  เวลาที่แงซายส่ายจมูกสูดกลิ่นอะไรแปลกๆ   กาฬจะต้องจมูกฟุดฟิดตาม   :-X

หรือว่ากินอะไรแปลกๆ  อย่างเช่น เลือดค่าง อะไรประมาณนี้  จะรู้สึกว่า อยากลิ้มรสด้วยว่ามันรสชาติเป็นยังไง
**จักรวาลนี้กว้างไกลแลไพศาลนัก เราเป็นเพียงละอองธุลีอันน้อยนิดล่องลอย ยากที่จะเรียนรู้ทุกสรรพสิ่งให้จบครบสิ้น
สิ่งที่เรามิเคยเห็น ใช่ว่าจะมิมี แลสิ่งที่มิเคยได้ประสบ ก็ใช่ว่าจะมิเคยเกิดขึ้น**

galdewis

อ้างจาก: อินทรายุธ เมื่อ มกราคม 17, 2009, 05:12:17 หลังเที่ยง

นานๆจะเจอคนเขียน "ปัจจุบัน" เป็น "ปรัตยุบัน" สักที  ชอบค่ะชอบ  ;D


ดัดจริตเขียนไปงั้นแหละค่ะ คุณอิน พอดีนึกได้

บอกแล้วว่าชอบใช้คำโบราณ แบ่บว่ามันเท่ห์ มันเก๋า มันเจ๋ง
เหมือนคุณพี่มี๋ภูของเดี๊ยนนั่นแหละ ที่หลงใหลใฝ่ฝันพี่แกถึงขนาดนี้ ก็เพราะเฮียแกหล่อแบ่บโบราณๆ ดี  :-X


แล้วคำว่า "ฆานประสาท" นี่ อ่านออกเสียงยังไงคะ

คา-นะ หรือ คาน เฉยๆ

ว่าแล้วก็ขอบริจาคความรู้ซะเลย คุณอินหรือใครพอจะมีหลักการอ่านออกเสียงแบบง่ายๆ มั่งมั้ย
เรานี่บื้อแปดด้านเลยนะ ว่าเมื่อไหร่ถึงควรอ่านให้มีเสียงเชื่อม หรือไม่มีเสียงเชื่อมน่ะ
อย่างคำว่า ฆานประสาท นี่ก็เหมือนกัน
ถ้าไม่เช็คกับดิกนี่ จะไม่มีวันรู้เลยว่า ควรจะออกเสียงอ่านอย่างไร
แล้วก็ใช่ว่าคนเราจะขยันเปิดพจนานุกรมได้ทุกทีเมื่อไหร่ล่ะ

มันพอจะมีมั้ย หลักการอ่านคำพวกนี้น่ะค่ะ ช่วยอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ นะคะ ย้ำ เพราะโง่มาก เวลาอ่านหรือฟังอะไรยากๆ แล้วจะเลิกอ่านเลิกฟังไปเลย


อ้างจาก: อินทรายุธ เมื่อ มกราคม 17, 2009, 05:12:17 หลังเที่ยง

ที่ถูก เขียนว่า "กามนิต" ค่ะคุณ galdewis
;)


ขอบคุณมากค่ะ คุณอิน จะได้เขียนถูกซะที ชื่อกามนิตนี่ เขียนผิดเป็นกามนิษฐ์กันเยอะมาก
maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon

อินทรายุธ

อ้างจาก: galdewis เมื่อ มกราคม 17, 2009, 09:58:35 หลังเที่ยง

แล้วคำว่า "ฆานประสาท" นี่ อ่านออกเสียงยังไงคะ

คา-นะ หรือ คาน เฉยๆ

ว่าแล้วก็ขอบริจาคความรู้ซะเลย คุณอินหรือใครพอจะมีหลักการอ่านออกเสียงแบบง่ายๆ มั่งมั้ย
เรานี่บื้อแปดด้านเลยนะ ว่าเมื่อไหร่ถึงควรอ่านให้มีเสียงเชื่อม หรือไม่มีเสียงเชื่อมน่ะ
อย่างคำว่า ฆานประสาท นี่ก็เหมือนกัน
ถ้าไม่เช็คกับดิกนี่ จะไม่มีวันรู้เลยว่า ควรจะออกเสียงอ่านอย่างไร
แล้วก็ใช่ว่าคนเราจะขยันเปิดพจนานุกรมได้ทุกทีเมื่อไหร่ล่ะ

มันพอจะมีมั้ย หลักการอ่านคำพวกนี้น่ะค่ะ ช่วยอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ นะคะ ย้ำ เพราะโง่มาก เวลาอ่านหรือฟังอะไรยากๆ แล้วจะเลิกอ่านเลิกฟังไปเลย



อ่านว่า คา-นะ-ประ-สาด ค่ะ
หลักการอ่านออกเสียงง่ายๆ เหรอคะ อืม...จะว่าไงดีล่ะ พูดจริงๆเลยนะคะ คือมันไม่ตายตัวเป๊ะเสมอไปน่ะค่ะคุณ galdewis บางคำต้องอาศัยวิธีจำเอาเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่นชื่อของอิน เป็นคำสนธิ อ่านว่า อิน-ทรา-ยุด  ไม่ต้องเชื่อมคำ คำว่าคมนาคม ก็เป็นคำสนธิเหมือนกัน แต่กลับอ่านว่า คะ-มะ-นา-คม 
ชื่อของน้องกาฬ (พี่ยืมชื่ออ้างอิงหน่อยนะจ๊ะ) เป็นคำสมาส อ่านว่า กาน-ระ-หัด (อ่านผิดขออภัยจ้า) อ่านแบบไม่เชื่อมคำ แต่ชื่อของคุณพี่วิทย์ ภูธฤทธิ์ อ่านว่า พู-ทะ-ริด ต้องอ่านแบบเชื่อมคำ

อ้างจาก: กาฬรหัสย์ เมื่อ มกราคม 17, 2009, 09:42:11 หลังเที่ยง
คำว่า  ปรัตยุบัน กาฬก็ไม่เจอในหนังสือสมัยนี้เลยค่ะ  ถ้าเป็นอนาคตใช้คำว่า  ปรัตจาต  รึเปล่าคะ  ส่วนอดีตใช้คำว่าอะไรอ่ะ

นิยายส่วนมากที่กาฬเคยอ่าน  จะเรียกผู้หญิงว่าหล่อนเกือบทั้งนั้นเลย  แต่นิยายสมัยนี้  น้อยเรื่องแล้วที่ใครจะใช้ หล่อน  ส่วนมากก็ใช้ เธอ กันหมด   เรื่องที่กาฬเขียนก็ใช้เธอค่ะ   เพราะแนวเรื่องเป็นแบบสมัยใหม่  

ส่วนแนวแฟนตาซี ย้อนยุค โบราณ   กาฬก็ใช้  นาง  ไปเลย


อ้างจาก: อินทรายุธ เมื่อ มกราคม 17, 2009, 05:12:17 หลังเที่ยง
อินเคยเขียนเรื่องสั้นส่งอาจารย์สมัยเรียน ใช้คำว่าหล่อนทั้งเรื่อง ปรากฏว่าอาจารย์คอมเม้นท์มาค่ะว่าใช้ภาษาแปลก เป็นงั้นไป ::)  แต่เจ้าหล่อนยังมีใช้กันอยู่เยอะค่ะ

เรื่องเพชรพระอุมา ชอบคำๆนึงมาก "ฆานประสาท" ไม่เห็นนิยายเรื่องไหนใช้คำนี้เลย มาเจออีกทีก็ในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อนอินถามกันใหญ่ว่า "ฆานประสาท" หมายถึงอะไร อินถอนใจเฮือกก่อนจะตอบว่า ก็ประสาทการรับรู้กลิ่นไง (ทั้งที่คนถามก็ติดเพชรพระอุมางอมแงมแท้ๆ)

ซะงั้นอ่ะ   อ.คงจะเห็นว่า  แปลกด้วยอายุและวัยมั้งคะ   เพราะคำว่า เธอ ใช้กันแพร่หลายแล้ว  จนเด็กสมัยนี้บางคนคงไม่รู้จักคำว่า หล่อน แล้ว

ฆานประสาท  เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้มากค่ะ  โดยเฉพาะในเวลาอ่านเพชรพระอุมา  ไม่รู้พี่ๆ เป็นเหมือนกาฬรึเปล่า  เวลาที่แงซายส่ายจมูกสูดกลิ่นอะไรแปลกๆ   กาฬจะต้องจมูกฟุดฟิดตาม   :-X

หรือว่ากินอะไรแปลกๆ  อย่างเช่น เลือดค่าง อะไรประมาณนี้  จะรู้สึกว่า อยากลิ้มรสด้วยว่ามันรสชาติเป็นยังไง

ที่ว่าแปลกด้วยอายุและวัยนั่น หมายถึงพี่ใช่ไหมเอ่ย ข้อนี้พี่ยอมรับ แต่อยากเม้าท์ให้น้องกาฬฟัง อาจารย์ท่านที่บอกว่าพี่ใช้ภาษาแปลกน่ะ ไม่ใช่อาจารย์วัย 30 ต้นๆ หรอกจ้ะ ท่านเป็นกวีซีไรต์ปี 41 อายุตอนนั้นเกือบ 50 แล้วมั้ง พี่ก็เลยอดขำไม่ได้ว่า คนที่วิจารณ์ก็ไม่ได้สมัยใหม่เล้ย เอ๊ะ....หรือว่าพี่เกิดผิดยุคเองก็ไม่รู้นะ  ;D


โอ้น้องกาฬ ถึงขั้นอยากกินเลือดค่างเลยเหรอ :(  แต่ตรงนี้พี่อ่านแล้วแหวะชอบกล ส่วนตรงที่ทำจมูกฟุดฟิดพี่ไม่เป็นนะ พี่มีแต่อยากจะเขกหัวแงซายด้วยความหมั่นไส้ตามรพินทร์ทุกที :-X

เรื่องอดีตกับอนาคต เดี๋ยวพี่ไปเช็คให้นะ แล้วจะมาตอบ

     อักษรแต่งสาร   จดจารลงไว้                          มอบหื้อน้องไท้   สรรคำเลือกเฟ้น
ความฮักหนักอก   หยิบยกหื้อเห็น                         แป๋งเป็นค่าวส้อย   ส่งเถิงนุชน้อง
หวังเจ้าหันใจ   หวังให้หันพ้อง                              ส่งค่าวไขบอกเค้า
     เอื้องผึ้งหอมหวาน   พี่ขานบอกเจ้า                   เอื้องผึ้งหวังพึ่งพา
เจ้ายอดมิ่งมิตร   ดวงจิตพี่ยา                               ตึงร่างกายา   ถอดวางหื้อเจ้า
เจ้าแก้วรอมแพง   เช้าแลงคอยเฝ้า                       ถนอมฮักอย่าฮู้ร้าง
     ขอเจ้าแพงนาย   อย่าคลายปล่อยคว้าง             หื้อพี่ว้างดายเดียว
อู้แท้จากใจ   บ่ใช่เพียงเกี้ยว                               กลับเวียงครานี้   จะเตรียมแต่งผ้า
คนใหญ่เจียรจา   มาขอน้องหล้า                          เป็นจอมนาฏนางใหญ่
     เขียนสารฝากแม่ไว้                                     แทนพี่แนบเคียงใกล้ 
นิ่มน้องรอมรอมแพง                                         พี่เฮย ”    

กันย์ณภัทร

อิอิ เพิ่งเห็นห้องใหม่ๆๆ :)

งั้นก็เม้าท์เรื่องละครกันมันส์เลยสิเนี่ย ฮิยะฮ่าๆๆๆ :-X

อินทรายุธ

เข้ามาแก้ไขความผิดพลาดของตัวเองค่ะ เมื่อวานเบลอไปนิดนึง

ว่าด้วยเรื่องหลักการออกเสียงเชื่อมตามคำขอของคุณ galdewis

หลักง่ายๆ มีอยู่ว่า
1. ตามปกติคำไทยไม่นิยมออกเสียง อะ ท้ายตัวสะกดของคำหน้า ยกเว้นบางคำที่ออกเสียงแบบหลักการอ่านคำสมาส จะมีอยู่ 50 คำ ตามที่อ.กำชัย ทองหล่อ ได้แต่งเป้นกาพย์เพื่อให้จำง่ายว่า

   จักจั่นจักแหล่นแล่นไป      ตั๊กแตนตาไว
ตุ๊กต่ำตุ๊กตุ่นจุนสี
   สมุลแว้งอุตลุดราวี           อัตคัดชุกชี
สกปรกสัปหงกงงงวย
   ลักเพศทักทินสิ้นสวย       พิศดูสำรวย
อุตพิดพิศวงสัตวา
   ลักปิดลักเปิดตุ๊กตา        ลักจั่นจำลา
โสกโดกสัปดนฤๅดี
   สักหลาดสักวาพาที        สัปเหร่อเจอผี
ดุจดังสัพยอกสัปทน
   อลหม่านอลเวงอลวน       รอมร่อเลิศล้น
จุกผามจุกโรหินี
   พัลวันอึกทึกธานี          จักเดียมจักจี้
ชันกาดชักเย่อชุลมุน

2. ในคำไทยที่รับมาจากภาษาบาลีสันสกฤต พยัญชนะที่ไม่มีรูปสระให้อ่านออกเสียง อะ กำกับอยู่ด้วยเสมอ  เช่น ปรมราชา แต่ คำบางคำก็ออกเสียงได้ 2 แบบ เช่น พยาธิ(พะ-ยาด / พะ-ยา-ทิ)  สมาธิ (สะ-หฺมาด / สะ-มา-ทิ) 

3.คำที่มีตัวสะกดตัวตามเป็นพยัญชนะวรรค หรือพยัญชนะเศษวรรคที่มีรูปเหมือนกัน จะไม่อ่านออกเสียง อะ คั่น เช่น สักขี ปุจฉา สัปดาห์ ปรัชญา

4. คำที่มีตัวสะกดเป้นพยัญชนะวรรค แต่ตัวตามเป็นพยัญชนะเศษวรรค หรือตัวสะกดเป็นพยัญชนะเศษวรรค ตัวตามเป็นพยํญชนะวรรค หรือทั้งตัวสะกดและตัวตามเป็นพยัญชนะเศษวรรคทั้งคู่ แต่มีรูปร่างต่างกัน ต้องอ่านออกเสียง อะ แบบกึ่งเสียง เช่น ศากย พิษณุ  อัศวิน

5. กรณีที่เป็นคำสมาส ต้องอ่านพยางค์สุดท้ายของคำหน้าด้วย (ก็คือมีเสียง อะ คั่นนั่นเอง) เช่น ราชการ บวรราช เว้นเพียงบางคำที่ไม่อ่านออกเสียง อะ คั่น เช่น สุภาพบุรุษ ชลบุรี

ส่วนคำสนธิมักไม่ค่อยมีปัญหา จึงไม่อธิบาย

พยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรคคืออะไร

เข้าใจว่าหลายๆคนในที่นี้น่าจะเคยได้เรียนมาบ้างแล้ว การแบ่งพยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรคเป็นวิธีทางบาลีสันสกฤต (เห็นได้ชัดในบทสวดมนต์ หรือคำในทางพระพุทธศาสนา เช่น ทุกข์ ตัวสะกดคือ ก ตัวตามคือ ข )
พยัญชนะวรรค มี 5  วรรค คือ

วรรค กะ  ได้แก่  ก ข ค ฆ ง
วรรคจะ   ได้แก่  จ ฉ ช ฌ ญ
วรรค ฏะ ได้แก่ ฏ ฐ ฒ ฑ ณ
วรรค ตะ ได้แก่  ต ถ ท ธ น
วรรค ปะ ได้แก่ ป ผ พ ภ ม

และเศษวรรค ได้แก่ ย ร ล ว ส ห ฬ (สันสกฤต มี ศ และ ษ ด้วย) อาจารย์มักสอนให้เราจำง่ายๆในเรื่องของเศษวรรคนี้ว่า ยะ ระ ละ วะ สะ หะ ฬะ อัง ไงคะ จำกันได้ไหมเอ่ย

ความจริงหลักการอ่าน และสมาสสนธิคำทางภาษาบาลีสันสกฤตยุ่งกว่านี้เยอะค่ะ มีทั้งธาตุ วิภัตติ ตัทธิต ปัจจัย ฯลฯ เต็มไปหมด แต่มันไม่ค่อยเกี่ยวกับภาษาไทยทั่วไปที่ใช้กันเท่าไหร่ อินก็เลยไม่เอ่ยถึง

ทีนี้มาว่าเรื่องของน้องกาฬ เรื่องอดีต และอนาคต

อ้างจาก: กาฬรหัสย์ เมื่อ มกราคม 17, 2009, 09:42:11 หลังเที่ยง
คำว่า  ปรัตยุบัน กาฬก็ไม่เจอในหนังสือสมัยนี้เลยค่ะ  ถ้าเป็นอนาคตใช้คำว่า  ปรัตจาต  รึเปล่าคะ  ส่วนอดีตใช้คำว่าอะไรอ่ะ


พี่หาไม่พบในพจนานุกรม หรือข้อมูลอ้างอิงที่ไหนเลยจ้ะ ที่พบก็มีแต่ปรัตยุบัน = ปัจจุบัน บาลีเขียนว่า ปจฺจุปฺปนฺน สันสกฤตเขียน ปฺรตฺยุตฺปฺน

พรุ่งนี้มาต่อนะจ๊ะ





     อักษรแต่งสาร   จดจารลงไว้                          มอบหื้อน้องไท้   สรรคำเลือกเฟ้น
ความฮักหนักอก   หยิบยกหื้อเห็น                         แป๋งเป็นค่าวส้อย   ส่งเถิงนุชน้อง
หวังเจ้าหันใจ   หวังให้หันพ้อง                              ส่งค่าวไขบอกเค้า
     เอื้องผึ้งหอมหวาน   พี่ขานบอกเจ้า                   เอื้องผึ้งหวังพึ่งพา
เจ้ายอดมิ่งมิตร   ดวงจิตพี่ยา                               ตึงร่างกายา   ถอดวางหื้อเจ้า
เจ้าแก้วรอมแพง   เช้าแลงคอยเฝ้า                       ถนอมฮักอย่าฮู้ร้าง
     ขอเจ้าแพงนาย   อย่าคลายปล่อยคว้าง             หื้อพี่ว้างดายเดียว
อู้แท้จากใจ   บ่ใช่เพียงเกี้ยว                               กลับเวียงครานี้   จะเตรียมแต่งผ้า
คนใหญ่เจียรจา   มาขอน้องหล้า                          เป็นจอมนาฏนางใหญ่
     เขียนสารฝากแม่ไว้                                     แทนพี่แนบเคียงใกล้ 
นิ่มน้องรอมรอมแพง                                         พี่เฮย ”    

galdewis

#54
โอโฮเฮะ! ยากจับจิต ไม่น่าถามเลยแฮะเรา แหะ  :-[

ยากชะมัดยาด (อยากใช้คำหนักกว่านี้อีก แต่กลัวไม่สุภาพ แหะ) เลยอ่ะค่ะ คุณอิน
นี่ขนาดคุณบอกยกมาแต่ที่ง่ายหน่อยแล้วนะ แต่ยากกก...อ่ะค่ะ ยากกมากกก

เราอ่านไม่รู้เรื่องจิงๆ บอกตรงๆ ถ้ามีใครช่วยสรุปอีกที ให้เข้าใจง่ายๆ หน่อยก็คงเป็นการดีเป็นอย่างยิ่งเลยอ่ะค่ะ แหะ  :-[
ตัวเองคงไม่มีปัญญา

หลักการอ่านของไทยมันยากอย่างงี้นี่เอง งี้ก็น่าเห็นใจคนที่อ่านภาษาไทยผิดแฮะ
เพราะหลักเกณฑ์การอ่าน มันเกี่ยวโยงกับการที่ต้องมีความรู้เรื่องอะไรคือพยัญชนะวรรค อะไรคือเศษวรรค และอื่นๆ อีก
ซึ่งเรื่องพวกนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย

หมายความว่า ถ้าไม่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพยัญชนะวรรค เศษวรรค
หรือไม่รู้ว่าคำไหนคือคำไทย คำไหนเป็นบาลี สันสกฤต
ก็ยากที่จะใช้หลักการอ่านตามที่คุณอินยกมาได้จริงๆ


เราว่าแค่เรื่องอักษรสูง กลาง ต่ำ กับวรรณยุกต์นี่ ก็จะเอาไม่รอดกันอยู่แล้วนะ
แค่ 2 เรื่องนี้ ก็เห็นคนไม่รู้เยอะแล้ว อย่าว่าแต่เรื่องพยัญชนะวรรค เศษวรรคเลย

maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon

อินทรายุธ

มาต่อกันก่อนนะคะ สำหรับที่ค้างไว้จึ๋งหนึ่ง
อดีต บาลีและสันสกฤตเขียนเหมือนกันว่า อตีต  (ถ้าจะเขียนให้หรูก็เขียนว่า อดีตกาล)
อนาคต (เขียนอย่างหรูว่า อนาคตกาล) บาลีสันสกฤตเขียนเหมือนคำไทย
เพราะฉะนั้น ถ้าเทียบดูตามนี้แล้ว โดยเอาภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นเกณฑ์ในการเขียนบอกเวลา อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็จะได้อย่างที่อินว่าไว้ข้างต้นนี้

ทีนี้มาว่ากันเรื่องการออกเสียง อะ เชื่อมระหว่างคำ
อ้างจาก: galdewis เมื่อ มกราคม 20, 2009, 09:01:30 หลังเที่ยง
โอโฮเฮะ! ยากจับจิต ไม่น่าถามเลยแฮะเรา แหะ  :-[

ยากชะมัดยาด (อยากใช้คำหนักกว่านี้อีก แต่กลัวไม่สุภาพ แหะ) เลยอ่ะค่ะ คุณอิน
นี่ขนาดคุณบอกยกมาแต่ที่ง่ายหน่อยแล้วนะ แต่ยากกก...อ่ะค่ะ ยากกมากกก

เราอ่านไม่รู้เรื่องจิงๆ บอกตรงๆ ถ้ามีใครช่วยสรุปอีกที ให้เข้าใจง่ายๆ หน่อยก็คงเป็นการดีเป็นอย่างยิ่งเลยอ่ะค่ะ แหะ  :-[
ตัวเองคงไม่มีปัญญา

หลักการอ่านของไทยมันยากอย่างงี้นี่เอง งี้ก็น่าเห็นใจคนที่อ่านภาษาไทยผิดแฮะ
เพราะหลักเกณฑ์การอ่าน มันเกี่ยวโยงกับการที่ต้องมีความรู้เรื่องอะไรคือพยัญชนะวรรค อะไรคือเศษวรรค และอื่นๆ อีก
ซึ่งเรื่องพวกนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย

หมายความว่า ถ้าไม่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพยัญชนะวรรค เศษวรรค
หรือไม่รู้ว่าคำไหนคือคำไทย คำไหนเป็นบาลี สันสกฤต
ก็ยากที่จะใช้หลักการอ่านตามที่คุณอินยกมาได้จริงๆ


เราว่าแค่เรื่องอักษรสูง กลาง ต่ำ กับวรรณยุกต์นี่ ก็จะเอาไม่รอดกันอยู่แล้วนะ
แค่ 2 เรื่องนี้ ก็เห็นคนไม่รู้เยอะแล้ว อย่าว่าแต่เรื่องพยัญชนะวรรค เศษวรรคเลย



อินว่าอินอธิบายแบบง่ายๆแล้วเชียวนา ยังยากอีกหรือเนี่ย  :icon_cry:
เอาใหม่ รับรองหลักนี้ง่ายกว่าเดิม เอาแบบสรุปที่สุดเลยละกัน

1. คำที่เป็นภาษาไทยแท้ ไม่ต้องออกเสียง อะ เชื่อมระหว่างคำ ยกเว้น 50 คำที่เป็นกาพย์ฉบัง 16 ที่ยกมาให้
2. คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต กรณีที่เป็นคำสมาส (คำ 2 คำ ชนกัน) ส่วใหญ่เกือบ 99 % อ่านมีเสียง อะ เชื่อมคำ ส่วนคำสนธิ (คำ 2 คำ เชื่อมกัน) ไม่ต้องห่วง เพราะเรื่องการออกเสียง  อะ เชื่อม แทบไม่มี 

ส่วนเรื่องพยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรค ถ้าคุณ galdewis หรือใคร ไม่คิดจะเรียนภาษาบาลีและสันสกฤต (คงไม่มีใครคิดเรียนหรอกค่ะ นอกจากยายอินบ้านีคนเดียว) ก็ไม่ต้องสนใจหรอกค่ะ  ;)

จบคำอธิบายอย่างสั้นครับผม

     อักษรแต่งสาร   จดจารลงไว้                          มอบหื้อน้องไท้   สรรคำเลือกเฟ้น
ความฮักหนักอก   หยิบยกหื้อเห็น                         แป๋งเป็นค่าวส้อย   ส่งเถิงนุชน้อง
หวังเจ้าหันใจ   หวังให้หันพ้อง                              ส่งค่าวไขบอกเค้า
     เอื้องผึ้งหอมหวาน   พี่ขานบอกเจ้า                   เอื้องผึ้งหวังพึ่งพา
เจ้ายอดมิ่งมิตร   ดวงจิตพี่ยา                               ตึงร่างกายา   ถอดวางหื้อเจ้า
เจ้าแก้วรอมแพง   เช้าแลงคอยเฝ้า                       ถนอมฮักอย่าฮู้ร้าง
     ขอเจ้าแพงนาย   อย่าคลายปล่อยคว้าง             หื้อพี่ว้างดายเดียว
อู้แท้จากใจ   บ่ใช่เพียงเกี้ยว                               กลับเวียงครานี้   จะเตรียมแต่งผ้า
คนใหญ่เจียรจา   มาขอน้องหล้า                          เป็นจอมนาฏนางใหญ่
     เขียนสารฝากแม่ไว้                                     แทนพี่แนบเคียงใกล้ 
นิ่มน้องรอมรอมแพง                                         พี่เฮย ”    

กาฬฯ

#56
หลักการจำ ว่าคำไหนเป็นคำไทยแท้   ก็คือ  คำที่ออกเสียงง่ายๆ และสะกดง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก

อย่างเช่น  มะลิ  มะระ กะลา   ดีใจ ฯลฯ

ส่วนคำหรูๆ ล่ะก็  ให้สงสัยไว้ได้เลย ว่าไม่ใช่คำไทยแท้หรอก  ต้องแผลงต้องผันมา  จริงๆ แล้ว  ในชีวิตประจำวัน เราก็ใช้คำที่เป็นไทยแท้น้อยลงแล้วนะ

อดีต ปัจจุบัน  อนาคต ก็ไม่ใช่ภาษาไทย 


ค่อนข้างเข้าใจที่คนไทยไม่รู้ภาษาไทยเท่าไหร่  เพราะมันยากจริงๆ  กาฬว่ามันยากกว่าภาษาอื่นๆ ที่เค้าใช้เรียนกันเยอะเลยแหละ

ดูอย่างภาษาญี่ปุ่น  คนญี่ปุ่นเอง  บางคนก็ยังไม่รู้หมดเลย  บางคนเขียนคันจิไม่ได้



กาฬว่ากาฬกลับไปเรียนภาษาขอม บาลี สันสกฤตจากในนิยายเหมือนเดิมดีกว่า เหอะๆๆ  :-[
**จักรวาลนี้กว้างไกลแลไพศาลนัก เราเป็นเพียงละอองธุลีอันน้อยนิดล่องลอย ยากที่จะเรียนรู้ทุกสรรพสิ่งให้จบครบสิ้น
สิ่งที่เรามิเคยเห็น ใช่ว่าจะมิมี แลสิ่งที่มิเคยได้ประสบ ก็ใช่ว่าจะมิเคยเกิดขึ้น**

อินทรายุธ

     อักษรแต่งสาร   จดจารลงไว้                          มอบหื้อน้องไท้   สรรคำเลือกเฟ้น
ความฮักหนักอก   หยิบยกหื้อเห็น                         แป๋งเป็นค่าวส้อย   ส่งเถิงนุชน้อง
หวังเจ้าหันใจ   หวังให้หันพ้อง                              ส่งค่าวไขบอกเค้า
     เอื้องผึ้งหอมหวาน   พี่ขานบอกเจ้า                   เอื้องผึ้งหวังพึ่งพา
เจ้ายอดมิ่งมิตร   ดวงจิตพี่ยา                               ตึงร่างกายา   ถอดวางหื้อเจ้า
เจ้าแก้วรอมแพง   เช้าแลงคอยเฝ้า                       ถนอมฮักอย่าฮู้ร้าง
     ขอเจ้าแพงนาย   อย่าคลายปล่อยคว้าง             หื้อพี่ว้างดายเดียว
อู้แท้จากใจ   บ่ใช่เพียงเกี้ยว                               กลับเวียงครานี้   จะเตรียมแต่งผ้า
คนใหญ่เจียรจา   มาขอน้องหล้า                          เป็นจอมนาฏนางใหญ่
     เขียนสารฝากแม่ไว้                                     แทนพี่แนบเคียงใกล้ 
นิ่มน้องรอมรอมแพง                                         พี่เฮย ”