ยินดีต้อนรับสู่บ้านอบอุ่นของคนรัก บอย สพล ชนวีร์

การลอกเลียนวรรณกรรม (plagiarism) กฎหมายลิขสิทธิ์ และ สิทธิบัตร

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์

เรื่องลิขสิทธิ์ของตำราหรืองานเขียนนั้นเกิดจากการสร้างสรรค์ผลงาน 3 รูปแบบ คือ

1. งานเขียนที่เขียนจากความคิดของตนเอง โดยไม่มีการคัดลอกจากแหล่งข้อมูลอื่น กรณีนี้ งานเขียนจะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติ

2. งานแปล ผู้แปลได้ทำการแปลจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ในกรณีที่เป็นการแปลตำรานั้น สำนักพิมพ์ที่ผลิตงานแปล มักติดต่อขออนุญาตผ่านสำนักพิมพ์ผู้ดูแลลิขสิทธิ์มากกว่าการขอนุญาตผ่านผู้เขียนโดยตรง ยกเว้นแต่กรณีที่รู้จักกันเป็นส่วนตัว

3. งานเรียบเรียง เป็นงานที่ต้องมีการเพิ่มเติมรายละเอียดเนื้อหาจากต้นฉบับ และเกิดปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์มาก เกิดการฟ้องร้องมากที่สุด แต่ส่วนใหญ่ยอมความก่อนถึงศาล

credit : http://www.iqraforum.com/forum/index.php?topic=2612.0

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้เมื่อ พ.ศ. 2537 กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง อันได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภท วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด



งานด้านวรรณกรรมที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง ได้แก่ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ รวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การคุ้มครองงานสร้างสรรค์เหล่านี้จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อสร้างขึ้นโดยไม่มีขั้นตอนทางกฎหมายใดๆและไม่จำต้องมีการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนก่อน จึงหมายความว่า เมื่อท่านสร้างสรรค์งานหรือเขียนงานนิพนธ์ขึ้นชิ้นหนึ่ง กฎหมายให้ความคุ้มครองงานชิ้นนั้นทันที เจ้าของผลงานเท่านั้นมีสิทธิ์ในการเผยแพร่งานสู่สาธารณชน เว้นแต่ได้รับความยินยอมหรืออนุญาตจากเจ้าของ หากผู้ใดทำละเมิดนำงานไปเผยแพร่ คัดลอก ดัดแปลง ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด จักต้องรับโทษอาญาและชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งแก่ผู้สร้างสรรค์งานชิ้นนั้น ส่วนการจดแจ้งงานลิขสิทธิ์ที่กระทำกับกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้น มิใช่การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ แต่เป็นการเผยแพร่ชื่องานลิขสิทธิ์ของตนแก่บุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ในการค้นหา ติดต่อ กับเจ้าของชิ้นงาน อันเป็นความช่วยเหลือของทางการในการเป็นแหล่งข้อมูลแก่เอกชนที่สนใจใช้ประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์



ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน ดังนั้น การสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์และได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายนั้นไร้ขั้นตอนยุ่งยาก หากคนไทยชื่นชอบสร้างสรรค์งาน ย่อมส่งผลต่อความเจริญของชาติ แม้จะเป็นงานวรรณกรรม เพราะการเขียนอักษรบ่งบอกถึงการพัฒนาทางปัญญา แนวความคิด ของคนในชาติ จักสังเกตได้ว่าชาติตะวันตก ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ต่างมีงานวรรณกรรมหลากหลาย คนในชาติชอบเขียนและอ่าน ประเทศจึงเจริญพัฒนาอย่างรวดเร็วและเป็นที่น่าเกรงขามในสายตาของชาติอื่นด้วย งานวรรณกรรมของหลายประเทศนำรายได้เข้าประเทศสูงมาก ถือเป็นงานส่งออกชิ้นเอก เช่น หนังสือแฮรี่ พอตเตอร์ การ์ตูนและนิยายรักหรือลึกลับของญี่ปุ่นกับเกาหลี นิยายรักหรือกำลังภายในของจีน ฮ่องกง หรือไต้หวัน เป็นต้น รายได้จากลิขสิทธิ์งานของตนอาจเปลี่ยนแปลงชีวิตไปอีกรูปแบบหนึ่งได้ ตัวอย่างเช่น บิลเกตที่ผลิตซอฟแวร์ไมโครซอฟท์ซึ่งคนใช้ทั้งโลก เจ้าของกูเกิ้ล เซิร์ชเอนจินระดับต้นของโลก เป็นต้น การผลิตงานอันมีลิขสิทธิ์ย่อมเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนไทยได้เช่นกัน ขอเพียงมีความมุ่งมั่นต่อการสร้างสรรค์งานทุกชนิด การลอกเลียน คัดลอก ดัดแปลง งานของผู้อื่น เป็นการทำลายเกียรติภูมิของตัวเอง ตัดโอกาสแสดงฝีมือแท้จริงให้ประจักษ์แก่สายตาของผู้อื่น จึงควรทุ่มเทพลังสร้างสรรค์แล้วผลิตงานอันเป็นฝีมือของตนเพื่อให้คนอื่นได้ชื่นชมชิ้นงานเหล่านั้น มันเป็นความภูมิใจของตัวเองและประเทศชาติ หากเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก ก็เปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้สร้างสรรค์ได้อันเป็นผลตอบแทนจากความอุตสาหะของตน

credit : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ความหมายตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิทางวรรณกรรม ศิลปกรรม และประดิษฐกรรม ซึ่งผู้เป็นต้นคิดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย; (กฎ) สิทธิแต่ผู้เดียว ที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตน ได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงาน นั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย

สิทธิบัตร คือ หนังสือสําคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่กําหนดโดยกฎหมาย ว่าด้วยสิทธิบัตร

ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิ
สิทธิบัตร คือ เอกสารที่เป็นหนังสือค่ะ



ลิขสิทธิ์ : สิทธิบัตร

article ลิขสิทธิ์ คือ งานสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับวรรณกรรมและศิลปกรรมที่ผู้คิดขึ้นเป็นเจ้าของงาน นั้นแต่เพียงผู้เดียว งานลิขสิทธิ์ที่เรามักจะพบเห็นกันอยู่เสมอ ได้แก่ งานเขียน งานพูด งานพิมพ์ต่าง ๆ หรืองานที่เกี่ยวกับรูป หรืองานที่เป็นลักษณะสามมิติ หรือการรวมเอาสิ่งต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเข้าด้วยกัน รูปแบบของงานลิขสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครอง ได้แก่

1. งานวรรณกรรม ได้แก่ งานที่เกี่ยวกับงานเขียนหรืองานประพันธ์ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น หรือบทความ หรืองานเขียนอื่น ๆ รวมถึงงานการพูดด้วย ได้แก่คำกล่าวสุนทรพจน์ เป็นต้น

2. งานดนตรีกรรม คือ งานที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับเพลงทำนอง เนื้อร้องของเพลง โน้ตเพลง

3. งานศิลปกรรม ปรากฏในรูปต่าง ๆ ดังนี้ งานจิตรกรรม ได้แก่ การวาดภาพ ภาพระบายสีต่าง ๆ ภาพเขียน ภาพวาด งานที่เกี่ยวกับการปั้น งานสถาปัตยกรรม แผนที่และวิธีการวาดแผนที่ งานการถ่ายภาพต่าง ๆ ได้แก่ การถ่ายภาพบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน งานโสตทัศนวัสดุ ได้แก่งานที่บันทึกภาพและบันทึกเสียง รวมถึงภาพยนตร์ด้วย
นอกจากงานที่ถือเป็นงานลิขสิทธิ์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บางประเทศก็ยังให้ความคุ้มครองแก่งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์และงานศิลปประยุกต์ ได้แก่ การออกแบบเครื่องเพชร ตะเกียง กระดาษปิดฝาผนัง เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ โดยถือเป็นงานที่ควรจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ด้วย สิทธิของผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ การให้ความคุ้มครองแก่งานอันเป็นลิขสิทธิ์นั้นถือว่าผู้คิดขึ้นเป็นเจ้าของ งานโดยธรรม ผู้คิดขึ้นจึงเป็นผู้มีสิทธิในผลงานของตนแต่เพียงผู้เดียวที่จะทำประโยชน์ จากงานของตน แต่ในระยะต่อมาภาวะทางเศรษฐกิจในแง่ของการลงทุนเพื่อการค้าบุคคลอื่นอาจนำผล งานของผู้สร้างสรรค์ไปทำประโยชน์ได้เพื่อการค้าโดยผู้คิดงานขึ้นก็จะได้รับ ผลตอบแทน การได้สิทธิในงานลิขสิทธิ์ งานลิขสิทธิ์เป็นของผู้สร้างสรรค์งานขึ้น ผู้ที่คิดงานขึ้นจึงเป็นเจ้าของ สิทธิในงานที่ตนคิดขึ้นโดยอัตโนมัติทันที ส่วนใหญ่แล้วงานอันเป็นลิขสิทธิ์จะไม่มีการจดทะเบียนเพื่อแสดงว่าเป็นเจ้า ของเพราะสิ่งที่ผู้นั้นคิดขึ้นย่อมเป็นเจ้าของทันที ระยะเวลาการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ โดยปกติแล้วระยะเวลาของการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ จะกำหนดให้คุ้มครองตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์งาน และต่อไปอีก 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์นั้นได้ตายลง จากนั้นแล้วงานลิขสิทธิ์ก็จะตกเป็นของสาธารณชน แต่ก็มีงานลิขสิทธิ์บางประเภทที่มีระยะเวลาสั้นกว่าที่กล่าวมาแล้ว เช่น งานศิลปประยุกต์ จะมีอายุการคุ้มครองเพียง 25 ปี นับแต่มีการสร้างสรรค์งานหรือมีการโฆษณางานครั้งแรก เพราะงานศิลปประยุกต์มิใช่งานที่เป็นศิลปโดยแท้แต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการค้า

ความแตกต่างระหว่างลิขสิทธิ์กับสิทธิบัตร แม้ว่าลิขสิทธิ์กับสิทธิบัตรจะอยู่ในทรัพย์สินทางปัญญา แขนงเดียวกันก็ตามแต่คุณสมบัติพื้นฐานที่เป็นสาระสำคัญของทั้งสองอย่าง มีความแตกต่างกันหลายประการได้แก่

1. สิ่งประดิษฐ์ที่อาจได้รับสิทธิบัตรจะต้องเป็นสิ่งใหม่ ซึ่งยังไม่เคยมีการเปิดเผยที่ใดมาก่อน จะต้องเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น อันหมายถึงการประดิษฐ์ที่บุคคลที่มีความชำนาญในสาขานั้น ๆ ในระดับธรรมดาไม่สามารถที่จะทำการประดิษฐ์เช่นนั้นได้โดยง่าย และการประดิษฐ์นั้นสามารถจะประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ คือ การประดิษฐ์นั้น ๆ สามารถที่จะผลิตเป็นอุตสาหกรรมจำนวนมาก ๆ ได้ โดยผลผลิตทุกชิ้นมีคุณภาพเท่ากันเช่นเดียวกับต้นแบบหรือเรียกว่าเป็นการผลิต แบบ MASS PRODUCTION (ดังในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 มาตรา 5) ส่วนลิขสิทธิ์ที่จะเป็นงานที่ได้รับ ความคุ้มครองนั้น จะต้องเป็นงานที่ผู้สร้างสรรค์งานนั้นเป็นผู้ริเริ่มขึ้น หรือเป็นงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยได้มีการโฆษณางานนั้นแล้ว (มาตรา 6 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521)

2. สิทธิบัตรจะยังไม่ได้รับความคุ้มครองจนกว่าสิทธิบัตรนั้นจะได้มีการออกสิทธิ บัตรแล้ว แต่ลิขสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติทันทีที่ผู้สร้างงานได้ทำงาน นั้นขึ้น หรือได้มีการโฆษณางานนั้นแล้ว

3. ผู้ที่ได้รับสิทธิบัตรแล้วมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิต ผลิตภัณฑ์ หรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร มีใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร และสิทธิของเจ้าของสิทธิบัตรมีขอบเขตตามที่ได้ระบุไว้ในข้อถือสิทธิ ส่วนลิขสิทธิ์นั้นเจ้าของงานลิขสิทธิ์มีสิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลง การนำออกโฆษณางานของตน การให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ของตนแก่ผู้อื่น การอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิของตนดังที่กล่าวมาแล้ว

4. สิทธิบัตรที่จะออกให้แก่ผู้ประดิษฐ์นั้น ก่อนจะออกให้จะต้องการตรวจสอบในรายละเอียดการประดิษฐ์นั้น ๆ ว่ามีคุณสมบัติที่อาจจะได้รับสิทธิบัตรหรือไม่ดังที่กล่าวมาแล้วในข้อ 1 โดยหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ออกสิทธิบัตรให้ซึ่งได้แก่สำนักงานสิทธิบัตรของ ประเทศนั้น ๆ จึงจะถือว่าสิทธิบัตรฉบับนั้นมีความสมบูรณ์ ส่วนงานลิขสิทธิ์นั้นผลงานสร้างสรรค์ขึ้นมาเจ้าของงานมีสิทธิโดยสมบูรณ์ ทันทีโดยไม่ต้องมีการยื่นคำร้องหรือจดทะเบียนใด ๆ หรือเมื่อมีการโฆษณางานนั้นแล้วและการจะอ้างถึงความไม่สมบูรณ์ของงาน ลิขสิทธิ์จะทำได้ ก็แต่โดยการนำความขึ้นสู่ศาลให้เป็นผู้พิจารณาตัดสิน

credit : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=28051462cd690d29

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
คัดลอกงานเขียน แล้วนำไปตีพิมพ์ใหม่ จำหน่าย - นักเขียน สำนักพิมพ์ ใครถือลิขสิทธิ์     
ผมเคยเขียนหนังสือแนวคอมพิวเตอร์เชิงการสอนใช้งานทั่วไป มาพักหนึ่ง

ไปเดินในร้านหนังสือ หมวดคอมพิวเตอร์ เจอหนังสือเล่มหนึ่ง เปิดดู แม่เจ้า ทั้งโครงเรื่อง เนื้อหา สารบัญ รวมทั้งข้อความในแต่ละย่อหน้า มันแทบจะคล้ายกันทั้งดุ้น

จึงแน่ใจว่า เนื้อหาของเล่มนี้ น่าจะลอกจากหนังสือที่เคยตีพิมพ์เมื่อหลายปีไปแล้วมาค่อนข้างแน่นอน

ปัญหาติดอยู่ที่ว่า ผมเคยเป็นนักเขียนประจำให้กับสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง และปัจจุบันไม่ได้สังกัดให้กับค่ายนี้แล้ว และไม่แน่ใจว่าจะสามารถฟ้องร้องหรือเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ เนื่องจากผมเป็นผู้เขียนเองกับมือ และชื่อบนปกหนังสือก็คือชื่อผมเอง แต่เนื่องจากการเป็นนักเขียนประจำ ผมเข้าใจว่าลิขสิทธ์ก็คือของบริษัทสำนักพมพ์ที่เราสังกัดอยู่

แต่คิดว่าเขาอาจจะไม่อยากยุ่งสักเท่าใดนัก เนื่องจากตลาดหนังสือคอมพิวเตอร์ มาไวไปไวมาก

ตัวผมเอง อยากให้ค่ายที่กำลังลอกงานของคนอื่นซึ่งทำอยู่นี้ ได้มองเห็นคุณค่างานเขียนของคนอื่นบ้าง ไม่ใช่สักแต่ลอกแล้วปรับแก้ รูปประโยค เอาแบบง่ายๆ มันทำให้คุณค่าของงานเขียนและความภูมิใจด้อยลงทันที

กรณีนี้สามารถฟ้องร้องได้หรือไม่ คือ
1. ผมมีชื่อเป็นนักเขียน เจ้าของหนังสือเล่มนั้นบนปก
2. แต่งานลิขสิทธ์ระบุไว้ที่หนังสือเลยว่าเป็น ลิขสิทธ์ของบริษัทสนพ. ก.ไก่
3. หากแจ้งไปยังผู้จัดจำหน่ายจะสามารถทำอะไรได้หรือไม่
4. สิทธิที่เราจะได้รับจากการฟ้องร้องหรือเรียกร้อง มีอะไรบ้าง
5. หรือควรนิ่งเฉยดีครับ

รบกวนให้ความเห็นสำหรับในทางกฎหมายและความรู้สำหรับการวางแนวทางงานเขียน ด้วยครับ

เป็นไปได้ แบบนี้ถ้าเรามีอาชีพเป็นนักเขียนประจำให้กับค่ายไหนมาก่อน หากมีการนำเอาของเราไปแก้ไข ปรับเปลี่ยนโดยเรารู้สึกเคืองใจนิดๆ ที่ลอกงานเราเกือบทั้งหมด แบบนี้จะสามารถทำอะไรได้ครับ หรือรอแจ้งสนพ.เก่าเอาเอง ทั้งที่นานแล้วที่ไม่ได้ทำงานกับสนพ.นี้อีกเลยครับ

จากคุณ   : markseven
เขียนเมื่อ   : 7 เม.ย. 53 23:37:40



ความคิดเห็นที่ 4
ขึ้นอยู่กับว่า ตอนคุณเซ็นสัญญา คุณให้สนพ. "เช่า" ลิขสิทธิ์หรือว่า "ขายขาด" ค่ะ

ถ้าให้เช่า มันก็มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี 5 ปี อะไรก็ว่าไป ในระยะเวลานั้น สนพ.มีสิทธิ์ที่จะพิมพ์ซ้ำได้ พอหมดสัญญา ลิขสิทธิ์ก็กลับมาเป็นของคุณเต็มที่

แต่...ถ้าคุณขายขาด แปลว่าคุณมอบลิขสิทธิ์นั้นในสนพ.ไปแล้ว สนพ.จะเอาไปทำอะไรก็ได้อะค่ะ

...

จากคุณ   : Clear Ice   
เขียนเมื่อ   : 8 เม.ย. 53 11:11:36

credit : http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/04/K9094825/K9094825.html


แล้วถ้าเป็นพวกวรรณคดีไทย ประเภท กลอน หรือ นิราศ หรือร่าย เอามาเขียนใหม่เป็นร้อยแก้ว ประมาณว่าเอามาแต่งใหม่เป็นนิยาย
โดยคงเนื้อหาเดิมทุกอย่างไว้
หรือมีการปรับเปลี่ยนบ้างตามความเหมาะสม จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเปล่าคะ

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
แล้วถ้าเป็นพวกวรรณคดีไทย ประเภท กลอน หรือ นิราศ หรือร่าย เอามาเขียนใหม่เป็นร้อยแก้ว ประมาณว่าเอามาแต่งใหม่เป็นนิยาย
โดยคงเนื้อหาเดิมทุกอย่างไว้
หรือมีการปรับเปลี่ยนบ้างตามความเหมาะสม จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเปล่าคะ


พี่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันจ้ะ เดี๋ยวลองถามพี่อินให้อีกทีนะจ๊ะ

แล้วถ้าเป็นพวกวรรณคดีไทย ประเภท กลอน หรือ นิราศ หรือร่าย เอามาเขียนใหม่เป็นร้อยแก้ว ประมาณว่าเอามาแต่งใหม่เป็นนิยาย
โดยคงเนื้อหาเดิมทุกอย่างไว้
หรือมีการปรับเปลี่ยนบ้างตามความเหมาะสม จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเปล่าคะ


พี่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันจ้ะ เดี๋ยวลองถามพี่อินให้อีกทีนะจ๊ะ


ได้คำตอบหรือยังค้าา หนูมาทวงคำตอบแล้วนะคะ

ออฟไลน์ มีน

  • *
  • 239
  • 0
แล้วถ้าเป็นพวกวรรณคดีไทย ประเภท กลอน หรือ นิราศ หรือร่าย เอามาเขียนใหม่เป็นร้อยแก้ว ประมาณว่าเอามาแต่งใหม่เป็นนิยาย
โดยคงเนื้อหาเดิมทุกอย่างไว้
หรือมีการปรับเปลี่ยนบ้างตามความเหมาะสม จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเปล่าคะ


พี่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันจ้ะ เดี๋ยวลองถามพี่อินให้อีกทีนะจ๊ะ


ได้คำตอบหรือยังค้าา หนูมาทวงคำตอบแล้วนะคะ


คุณอินทรายุธฝากมาตอบค่ะ ว่า ในกรณีนั้นสามารถทำได้เหมือนกัน เช่น เรื่อง อภัยมณีซากา
แต่เพื่อความไม่ประมาท ควรโทรไปขอคำแนะนำจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาอีกที เพื่อความแน่ใจ
และจะได้รับรู้ว่า มีช่องว่างอะไรที่เราต้องระมัดระวังรึเปล่า