ยินดีต้อนรับสู่บ้านอบอุ่นของคนรัก บอย สพล ชนวีร์

มาดูกับมาดาม : เจาะใจ 'แฮร์รี่ พอตเตอร์' ' : ไทยรัฐ

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์


มาดูกับมาดาม : เจาะใจ 'แฮร์รี่ พอตเตอร์' (ภาคที่ 1)



credit : http://www.thairath.co.th/content/ent/301197

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่าน สุดสัปดาห์นี้ไปไหนกันมาบ้างคะ มาดามไปงานสัปดาห์หนังสือฯ
มาค่ะ กิจกรรมสุดโปรดตั้งแต่เด็กจนโต คุณผู้อ่านจะหาว่าบ้าก็ได้
แต่มาดามมีความสุขจริงๆ ค่ะ เวลาได้กลิ่นหมึกพิมพ์ หนังสือใหม่ๆ
และรู้สึกดีมากที่สุดตอนเปิดหนังสือหน้าแรก...รู้สึกเหมือนจะเดินทางไกล...ไปที่แปลกใหม่และน่าค้นหา
คุณผู้อ่านอาจย้อนว่าแล้วหนังสือเก่าล่ะ เล่มที่อ่านวนเวียนหลายๆ
รอบ...แบบนั้นมาดามก็มีค่ะ มันก็เป็นเรื่องดีๆ เส้นทางดีๆ
ที่เราอยากกลับไปชื่นชมเสมอๆ
น่ะสิคะ...ไม่มีใครสงวนลิขสิทธิ์ไม่ให้เดินซ้ำเส้นทางเดิมๆ แต่ให้ความรู้สึกดีนี่คะ

มาว่ากันที่เรื่องของเราดีกว่า...เพราะสัปดาห์หนังสือฯ
นี่แหละค่ะที่นำมาดามไปเจอเรื่องที่อยากจะเขียนถึงวันนี้...เรื่องมันเริ่มตอนที่มาดามเดินไปเจอหนังสือตัวอย่าง
“The Casual Vacancy” ผลงานล่าสุดของนักเขียนชื่อก้องโลกอย่าง เจ.เค.โรว์ลิ่ง
(J.K.Rowling) เจ้าของบทประพันธ์ที่เจนเนอเรชั่นนี้รู้จักดีอย่าง “แฮร์รี่
พอตเตอร์” (Harry Potter)
ซึ่งปีนี้เธอกลับมาเปลี่ยนแนวเป็นเนื้อหาแบบหนักหน่วง...แบบที่คงไม่มีเหตุการณ์ประเภทนี้เกิดขึ้นในแฮร์รี่
พอตเตอร์แน่ๆ ค่ะ



ผลงานชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ลำดับที่ 1-4 (เรียงจากซ้ายไปขวา)


ผลก็คือ...มาดามเกิดความคิดอยากเขียนถึงเรื่องราวของพ่อมดน้อย ‘แฮร์รี่ พอตเตอร์’
ผลงานสร้างชื่อของคุณ เจ.เค.โรว์ลิ่งขึ้นมาน่ะสิคะ
อะไรทำให้เรื่องนี้โด่งดังและครองใจนักอ่านทั่วโลก ทั้งที่มีความยาวถึง 7 เล่ม
ตีพิมพ์ระหว่างปี 1997-2007 ยอดขายรวมกว่า 450 ล้านเล่มทั่วโลกในกว่า 200 ประเทศ
แปลแล้วกว่า 74 ภาษา ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ถึง 8 ภาค
(ภาคสุดท้ายถูกแบ่งออกเป็นสองตอนค่ะ 7.1 และ 7.2) และที่สำคัญยังเป็นแรงบันดาลใจดีๆ
ให้กับใครอีกหลายคน (รวมทั้งมาดามด้วย)...มันต้องมีอะไรบางอย่างแน่ๆ
และวันนี้เราก็จะมาไขปริศนากันค่ะ รับรองว่าไม่ใช่แค่หนังสือดีๆ
สำหรับเด็กธรรมดาแน่ๆ




ผลงานชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ลำดับที่ 5-6 (เรียงจากซ้ายไปขวา)


เริ่มกันที่ข้อมูลพื้นๆ ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ก่อนนะคะ
พ่อมดหนุ่มน้อยของเราเป็นเด็กกำพร้าค่ะ พ่อกับแม่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็กมาก
เขาถูกนำตัวมาให้ลุงกับป้าเลี้ยงดูจนอายุสิบเอ็ดจึงได้รับจดหมายจากโรงเรียนเวทมนตร์ฮอกวอตส์
แฮร์รี่ค้นพบตัวเองว่าเป็น ‘เด็กน้อยผู้รอดชีวิต’
เป็นพ่อมดและเป็นคนไม่ไร้ตัวตนอีกต่อไป
การออกจากบ้านเพื่อไปเข้าโรงเรียนทำให้เขาพบสาเหตุการตายของพ่อกับแม่
ทั้งสองไม่ได้ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์อย่างที่ลุงกับป้าบอกแต่โดนฆาตกรรมโดยพ่อมดวายร้ายแห่งยุคอย่างลอร์ดโวลเดอมอร์




กองจดหมายจากฮอกวอตส์ส่งมาแจ้งให้แฮร์รี่ไปเข้าเรียนแฮร์รี่




และเพื่อนซี้ทั้งสอง รอนกับเฮอร์ไมโอนี่ ทั้งสามกำลังดูถ้วยรางวัลควิดิช
มีชื่อพ่อของแฮร์รี่เป็นซีกเกอร์ประจำทีม
ตลอดเจ็ดปีที่ฮอกวอตส์ แฮร์รี่เจอกับเรื่องราวแปลกประหลาดมหัศจรรย์มากมาย
ทั้งดีที่สุดไปจนถึงเลวร้ายที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของลอร์ดโวลเดอมอร์
เขาค้นพบความจริงหลายอย่างที่เกี่ยวกับตนเองและพ่อกับแม่
การผจญภัยแต่ละปีโยงใยและเชื้อเชิญให้แฮร์รี่รู้จักกับสิ่งเร้าในรูปแบบต่างๆ
เงื่อนงำเกี่ยวกับโวลเดอมอร์ และการเรียนรู้ที่จะเติบโตเป็นพ่อมดที่ดี
นับเป็นเสน่ห์สำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนทำได้ดีและทำได้อย่างต่อเนื่อง...ที่สำคัญเดายากค่ะ
มักจะมาแบบเหนือความคาดหมายเสมอ...ซึ่งสำหรับมาดาม ไหนๆ
ก็หลุดไปในโลกของจินตนาการแล้ว...ต้องเอาให้สุดค่ะ



โฉมหน้าลอร์ดโวลเดอมอร์
ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์มีเนื้อหาครอบคลุมเกือบทุกแนวค่ะ ทั้งลึกลับ ซับซ้อน
ซ่อนเงื่อน โรแมนติก แต่มาเบาๆ
มาในรูปแบบการผจญภัยของเด็กผู้ชายคนหนึ่ง...น่าจะเข้าข่ายหนังแบบ ‘Coming of Ages’
หรือว่าภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละครเอกตั้งแต่เด็กจนโตมากกว่า
เพราะภาคแรกเริ่มต้นเมื่อแฮร์รี่อายุสิบเอ็ดขวบ
จนจบที่ภาคเจ็ดเมื่อกลายเป็นพ่อมดหนุ่มเต็มตัว


ใครว่าเรื่องนี้ไม่มีดราม่า ขอบอกว่าเพียบเลยค่ะ แม้จะป๊อปปี้เลิฟแต่ก็น่ารักดีนะคะ



สำหรับมาดาม...ภาคสำคัญที่สุดในเจ็ดภาคคือภาคแรกค่ะ
เพราะเป็นภาคที่บอกเงื่อนงำสำคัญหลายอย่างที่จะนำเราๆ ท่านๆ ไปถึงตอนจบ
(แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจจะทิ้งบางปมไว้นานไปนิด บางปมได้รับการคลี่คลายในภาคหลังๆ
คุณผู้อ่านอาจลืมไปแล้ว แต่แน่นอนว่าเป็นปมสำคัญแน่ๆ)
ในภาคนี้ยังมีฉากเปิดตัวละครสำคัญๆ หลายตัว
เป็นตัวล่อให้ผู้ชมหรือผู้อ่านเดาไปต่างๆ นานาถึงเรื่องราวเบื้องหลังของแต่ละตัว
ใครจะเป็นหนอนบ่อนไส้และใครจะเป็นผู้หวังดีตัวจริง!


ตัวละครสำคัญค่อยๆ เผยโฉมกันมา
ในภาพคือ ศาสตราจารย์สเนปและศาสตราจารย์ลูปิน คู่แค้นและเพื่อนซี้ของพ่อแฮร์รี่
(ตามลำดับ)
นอกจากจะอุดมไปด้วยปมปริศนาต่างๆ แล้ว
ยังอุดมไปด้วยใจความสำคัญหรือธีมของเรื่องด้วยค่ะ
ถ้าดูครบทั้งแปดภาคแล้วย้อนกลับมาดูภาคแรกอีกที จะเห็นได้ชัดเลยว่า
จุดสำคัญของเรื่องที่คุณเจ.เค.โรว์ลิ่งต้องการนำเสนอนั้น
บอกใบ้ไว้เยอะแยะผ่านบทพูดของตัวละครเด่นหลายตัวในภาคแรกนี่แหละค่ะ



ข้อความปริศนาที่โยงไปถึงจุดจบของภาค
และแอบบอกใบ้ถึงตอนจบของเรื่องด้วย!
แน่นอนว่าประเด็นสำคัญของเรื่องต้องอยู่ที่การตามหาตัวตนของพ่อมดน้อยแฮร์รี่
พอตเตอร์...เขาจะทำอย่างไรเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางโลกแห่งเวทมนตร์ที่ทุกอย่างบันดาลได้แค่ตวัดไม้กายสิทธิ์
จะล้างแค้นให้พ่อกับแม่หรือไม่ อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เขากลายเป็น
‘เด็กชายผู้รอดชีวิต’
รอดตายจากคำสาปของพ่อมดที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งศาสตร์มืดคนดังของยุคอย่างลอร์ดโวลเดอมอร์...และจริงๆ
แล้วผู้เขียนต้องการจะสื่ออะไรถึงผู้ชมอย่างเรา?




ดัมเบิลดอร์ พ่อมดคนเก่งแห่งศตวรรษ
ผู้ช่วยและตัวละครสำคัญที่มีส่วนช่วยแฮร์รี่ให้เอาชนะโวลเดอมอร์
อยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะ...ติดตามตอนต่อไปในสัปดาห์หน้านะคะ รับรองว่าจุใจแน่นอนค่ะ

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าค่ะ

มาดามอองทัวร์



ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
Re: มาดูกับมาดาม : เจาะใจ 'แฮร์รี่ พอตเตอร์' ' : ไทยรัฐ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2012, 07:23:10 PM »
เจาะใจ 'แฮร์รี่ พอตเตอร์' (ภาคจบ)



credit : http://www.thairath.co.th/content/ent/304415

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่าน สัปดาห์นี้มาดามกลับมาเล่าเรื่องพ่อมดน้อยแฮร์รี่ พอตเตอร์
ตามสัญญาค่ะ
ต่อจากตอนที่แล้ว...มาดามค้างไว้ที่สาระสำคัญของเรื่องว่าพ่อมดน้อยของเราจะตามหาตัวตนที่แท้จริงเจอหรือไม่
แล้วอะไรคือสิ่งที่คุณเจ.เค.โรว์ลิ่ง ต้องการนำเสนอกันแน่?“



“Most of us reckon he’s
still out there somewhere but lost his powers. Too weak to carry on, cause
something about you finished him, Harry” (Hagrid)

“พวกเราหลายคนเชื่อว่าโวลเดอมอร์มีชีวิตอยู่ที่ไหนสักแห่ง...แต่ไร้เวทมนตร์
อ่อนแรงกว่าที่จะมีตัวตน เพราะบางอย่างในตัวเธอที่กำจัดเขา...แฮร์รี่” (แฮกริด)
เริ่มที่สาระสำคัญของเรื่องก่อน “อะไรบางอย่าง” จากบทสนทนาข้างต้น
คุณผู้อ่านคิดว่าคืออะไรคะ...มันก็คือความเชื่อมั่นในความดียังไงล่ะคะ
อาจดูอุดมคติไปสักนิดแต่ถ้าดูจากเหตุการณ์สำคัญในหลายๆ ตอน
คุณสมบัติข้อนี้นับเป็นสิ่งเดียวที่พ่อมดน้อยแฮร์รี่มี และแตกต่างจากพ่อมด
แม่มดคนอื่น...โดยเฉพาะอย่างยิ่งโวลเดอมอร์!“



“Difficult, very difficult. Plenty of
courage, I see. Not bad mind either. There’s talent, oh my goodness, yes-and a
nice thirst to prove himself, now that interesting, so where shall I put you?”
(the Sorting Hat)
“ยาก...ยาก มาก เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญ ไม่ใช่จิตใจที่แย่ด้วย
นั่น...มันมีพรสวรรค์ ความกระหายที่จะพิสูจน์ตนเอง นั่นแหละ...ที่น่าสนใจ
แล้วฉันควรจะให้เธอไปอยู่ที่บ้านไหนดี?” (หมวกคัดสรร, แฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคที่
1)ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ว่า เห็นได้ดาษดื่นในทุกภาคของภาพยนตร์ชุดนี้
มาดามจะแจงให้ทีละภาคเลยแล้วกันค่ะ ภาคที่หนึ่ง (ศิลาอาถรรพ์)
พ่อมดน้อยของเราเลือกยอมรับความจริงมากกว่ามอบศิลาอาถรรพ์ (หินที่มีอำนาจชุบชีวิต)
ให้กับโวลเดอมอร์เพื่อแลกกับชีวิตพ่อและแม่ ภาคที่สอง (ห้องแห่งความลับ)
ความเชื่อมั่นในความดีและศรัทธาในสิ่งที่ถูกต้องทำให้ดาบศักดิ์สิทธิ์
(ซึ่งในภาคสุดท้ายจะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะทำลายล้างโวลเดอมอร์)
ปรากฏให้แฮร์รี่เห็นเพื่อใช้ต่อสู้กับงูยักษ์“



If I get caught before I can get to
the Stone; well, I’ll have to go back to the Dursleys and wait for Voldemort to
find me there, it’s only dying a bit later than I would have, because I’m never
going over to the Dark Side! I’m going through that trapdoor tonight and nothing
you say is going to stop me! Voldemort killed my parents, remember?” (Harry
Potter)
“ถ้าผมถูกจับก่อนที่ผมจะได้ศิลานั่นมา
ผมก็คงจะต้องกลับไปอยู่กับลุงและป้าและรอ...จนกว่าโวลเดอมอร์ทจะตามหาผมเจอ
มันก็แค่ตายช้าลง...แต่ก็เพราะว่าผมไม่คิดจะอยู่ข้างความชั่วร้าย
ผมจะเดินเข้าไปในประตูกับดักคืนนี้และไม่มีอะไรมาหยุดผมได้
ความจริงก็คือโวลเดอมอร์ทฆ่าพ่อแม่ผม!” (แฮร์รี่ พอตเตอร์, แฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคที่
1)ภาคที่สาม (นักโทษแห่งอัซคาบัน) คล้ายกับภาคที่สองในเรื่องของความเชื่อมั่น
แต่ครั้งนี้แฮร์รี่เชื่อในตัวซีเรียส แบล็ก เพื่อนรักของพ่อและพ่อทูนหัวของเขา
(ซึ่งยอมติดคุกมากกว่าช่วยเหลือโวลเดอมอร์) เขาย้อนเวลากลับไปแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆ
เพื่อช่วยเหลือซีเรียสและบัคบีท สัตว์เลี้ยงของแฮกริด ภาคที่สี่ (ถ้วยอัคนี)
แฮร์รี่ทิ้งโอกาสชนะการแข่งขันชิงถ้วยอัคนีเพื่อช่วยเหลือเซดริก (โรเบิร์ท
แพทรินสัน) แม้ว่าท้ายที่สุด...เขาจะไม่สามารถปกป้องเซดริกจากโวลเดอมอร์ได้
ภาคที่ห้า (ภาคีนกฟินิกซ์) แฮร์รี่เชื่อว่าการแก้ปัญหาคือการยืนหยัดต่อสู้
เขาไม่ยอมให้พ่อมดแม่มดฝ่ายดีต่อสู้หรือเสียสละชีวิตเพื่อเขาฝ่ายเดียว
ในภาคนี้จึงเป็นการเปิดฉากต่อสู้ของแฮร์รี่กับโวลเดอมอร์อย่างเป็นทางการ


โฉมหน้าสมาชิกภาคีนกฟินิกซ์ (ภาค 5)

ภาคที่หก (เจ้าชายเลือดผสม) แฮร์รี่หลอกล่อให้โปรเฟสเซอร์ซลักฮอร์น
(อาจารย์ที่สนิทสนมกับโวลเดอมอร์เมื่อครั้งเป็นนักเรียน)
คายความลับเกี่ยวกับเวทมนตร์โบราณที่บอกกับโวลเดอมอร์
พ่อมดน้อยของเราเลือกใช้ความจริงใจเข้าแลก...ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมกลลวงใดๆ
อย่างที่โวลเดอมอร์เคยทำ ภาคสุดท้าย (เครื่องรางยมทูต)
เมื่อความดีและศรัทธาแรงกล้าต่อความถูกต้อง
ผลักดันให้เขาต่อกรกับจอมมารโวลเดอมอร์อย่างกล้าหาญ ผลลัพธ์จะเป็นยังไงนั้น
เชื่อว่าหลายคนคงจะทราบคำตอบกันดีอยู่แล้ว



.แฮร์รี่ในฉากต่อสู้สำคัญ (จากซ้ายไปขวา ภาค 4, ภาค 5)

สาระสำคัญที่ว่าถูกสอดแทรกในเนื้อหาได้อย่างกลมกลืนและมีสีสัน
ทั้งคาแรกเตอร์ชัดเจนของแฮร์รี่...ที่กล้าหาญ
ดื้อดึงและเด็ดเดี่ยว...สารพัดของวิเศษที่เร้าให้พ่อมดน้อยหลงระเริง
ผู้เขียนและทีมสร้างภาพยนตร์สามารถถ่ายทอดได้อย่างดี
ที่สำคัญ...ทำให้เราในฐานะผู้อ่านและผู้ชมสนใจติดตามและซึมซับใจความสำคัญ
ได้อย่างสบายๆ...ไม่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเหมือนจินตนิยายส่วนใหญ่



แฮร์รี่ในห้องแห่งความลับ (ภาค 2)

คุณ เจ.เค.โรว์ลิ่ง กล่าวถึงสาระสำคัญของเรื่องไว้ว่า
ประเด็นหลักคือเรื่องการเลือก...สิ่งที่ถูกหรือสิ่งที่ผิด และอะไรคือทางเลือกง่ายๆ
ที่คนเรามักจะหลงเข้าไป
ดูเหมือนเป็นประเด็นธรรมดาใช่ไหมคะ...แต่เชื่อไหมว่าในชีวิตคนเราต้องเลือก
อะไรหลายๆ อย่างอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย...ที่เราจะเลือกทางที่ถูกอยู่เสมอ
ก็เหมือนกับสิ่งที่พ่อมดน้อยของเราเผชิญ
เขาต้องผ่านเรื่องราวเลวร้ายหลายครั้งที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจแปลกๆ
พบเจอกับสิ่งเร้าหรือเครื่องรางของขลังและของวิเศษมากมายที่อาจทำให้หลง
ทาง...แต่ที่น่าปลื้มใจก็คือ...พ่อมดน้อยของเราหาทางกลับมาได้ทุกครั้ง
ค่ะ...แม้บางครั้งจะนานไปสักหน่อย แต่เพราะใจที่ตั้งมั่นกับความดี
ทำให้เขาหาทางกลับมาจนได้


โฉมหน้าโวลเดอมอร์และสาวกผู้เสพความตาย
เห็นไหมคะว่าเรื่องราวของพ่อมดน้อยแฮร์รี่ไม่ธรรมดาเลย ปริศนาของความโด่งดัง
นอกจากเรื่องของโปรดักชั่นอลังการงานสร้างแล้ว
ยังมีเรื่องของสาระสำคัญที่เข้าถึงได้จริงกับผู้ชมทุกชาติภาษา
ไม่จำกัดเพศและอายุอีกต่างหาก สำหรับเด็กก็ถือเป็นการปลูกจิตสำนึกที่ดี
ส่วนผู้ใหญ่ก็ถือเป็นการเตือนสติให้ย้อนกลับมาดูตัวเรา
ว่าเราใช้จิตสำนึกของเรามากน้อยแค่ไหน...ที่สำคัญเนื้อหาสนุกสนานค่ะ
เราแทบไม่รู้สึกเลยว่าผู้เขียนพยายามจะสอนหรือสื่ออะไรถึงเรา
อาจเพราะตัวละครหลักทุกตัว
ต่างก็ได้รับบทเรียนแสนสาหัสจากการกระทำของตัวเองทั้งนั้น...อย่างสมเหตุสมผลพอควรทีเดียว




!แฮร์รี่กับผู้เข้าแข่งขันชิงถ้วยอัคนี (ภาค 4)
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า “สิ่งดีๆ ในตัวเรามองเห็นสิ่งดีๆ ในตัวผู้อื่น”
มาดามก็เชื่ออย่างนั้นค่ะ เพราะท้ายที่สุด ความดีงามของจิตใจก็เอาชนะทุกสิ่งได้
อาจจะดูน้ำเน่าเป็นนางเอกละครไทยไปสักหน่อย
แต่เชื่อเถอะค่ะว่าสิ่งที่จะได้รับกลับมานั้นคุ้มค่าเสมอ

จนกว่าจะพบกันสัปดาห์หน้าค่ะ

มาดามอองทัวร์