ยินดีต้อนรับสู่บ้านอบอุ่นของคนรัก บอย สพล ชนวีร์

รามเกียรติ์ รามายณะ คนละเรื่องเดียวกัน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์

รามเกียรติ์ รามายณะ คนละเรื่องเดียวกัน

โดย ทีมงานนิตยสารต่วย'ตูน 29 ม.ค. 2560 05:01




ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/845620


คนไทยเรารู้จักวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์กันเป็นอย่างดี แม้ว่าอาจจะรู้รายละเอียดเนื้อหาไม่ทั้งหมดก็ตาม แต่อย่างน้อยก็รู้เนื้อหาคร่าวๆว่าเป็นเรื่องราวของพระรามไปตามชิงตัวนางสีดาคืนจากทศกัณฐ์ ราชายักษ์ผู้มีสิบเศียรสิบกร โดยฝ่ายพระรามนั้นมีทัพลิงเป็นผู้ช่วย และที่ขาดไม่ได้ก็คือทหารเอกอย่างหนุมาน ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากรามเกียรติ์ในฉบับภาษาไทยนั้น เดิมมีบทละครหลวงของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน แต่ก็มีเพียงส่วนน้อยไม่ครบถ้วน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ซึ่งมีเนื้อเรื่องสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ และภายหลังยังมีบางส่วนที่พระราชนิพนธ์โดยรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 โดยรัชกาลที่ 1 ทรงนำต้นเค้ามาจากเรื่องรามายณะ อันเป็นนิยายเก่าแก่ของอินเดีย ซึ่งประพันธ์โดยฤาษีวาลมีกิ เป็นร้อยแก้วแบบชาวฮินดูในภาษาสันสกฤต เรียกว่าโศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 กัณฑ์ ประกอบด้วย พาลกัณฑ์ อโยธยากัณฑ์ อรัณยกัณฑ์กีษกินธกัณฑ์ สุนทรกัณฑ์ ยุทธกัณฑ์ และอุตตรกัณฑ์

พระรามยกศร. มหากาพย์รามายณะนั้นแพร่หลายไปในหลายประเทศ เนื้อเรื่องของแต่ละแห่งก็มีเปลี่ยนแปรไปบ้างตามแต่ผู้ถ่ายทอด
ทำให้แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ก็แตกต่างกันไปตามภูมิภาคและวัฒนธรรมดั้งเดิมของผู้ที่รับการถ่ายทอดวรรณคดีเรื่องนี้ไป ในอินเดียเองก็มีผู้รู้บางท่านวิเคราะห์กันว่าเรื่องนี้น่าจะมีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง

ในยุคที่ชนเผ่าอารยันซึ่งเคยอยู่ทางตอนใต้ของรัสเซียอพยพเข้ามายังอินเดีย แน่นอนว่าย่อมหมายถึงฝ่ายของพระราม-พระลักษมณ์ ส่วนทศกัณฐ์และประชาชนยักษ์ก็คือชาวทมิฬ หรือทราวิฑ ชนพื้นเมืองดั้งเดิม แต่ก็มีผู้คัดค้านแนวคิดนี้อยู่ไม่น้อยเช่นกัน

สำหรับชาวไทย เรื่องรามเกียรติ์มีอิทธิพลอย่างมาก ทั้งในด้านศิลปะ วัฒนธรรม และศาสนา ยกตัวอย่างเช่น พระนามของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ก็มีคำว่า “ราม” ซึ่งก็มาจากพระรามผู้เป็นองค์อวตารของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ผู้คอยอวตารมาปราบอสูรร้ายและช่วยเหลือมนุษย์อยู่เสมอทศกัณฐ์  ความแตกต่างของรามเกียรติ์แบบไทยๆกับรามายณะของอินเดียนั้น มีอยู่หลายจุด วันนี้จะขอยกมาเล่าให้ทราบกันบางส่วนนะครับ เพราะถ้ายกมาทั้งหมดเห็นทีจะต้องเล่ากันยาว


ขอเล่าแค่ตัวละครหลักบางท่านก็แล้วกันทศกัณฐ์ (แปลว่าผู้มีสิบคอ ซึ่งก็คือมีสิบหัว) นั้น ทางอินเดียเรียกว่า ราพณ์, ราวัณ หรือราวณะ นางสีดา ก็คือ สิตา, พระลักษมณ์ ท่านชื่อลักษมัณ, โหรเอกพิเภกนั้น มีนามว่า พิภิษณ์, นางมณโฑมเหสีพญายักษ์ มีชื่อไพเราะว่า มณโฑธารี ฯลฯ เห็นได้ว่าถึงชื่อจะไม่ตรงกันเป๊ะๆ แต่ก็เดาได้ไม่ยากว่าใครเป็นใคร



ในรามายณะ ราพณ์ เป็นบุตรของวิศราพ เป็นพราหมณ์ที่สืบเชื้อสายมาจากพระพรหมกับนางไกยเกษี ธิดากษัตริย์กรุงลงกา ตรงนี้ก็แตกต่างแล้วครับ เพราะตามฉบับไทยนั้น ทศกัณฐ์เป็นอสูรบุตรของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา เจ้ากรุงลงกา แต่ฉบับอินเดียพ่อของพญายักษ์หาได้เป็นยักษ์ไม่ แต่เป็นพราหมณ์ผู้ทรงฤทธิ์ซึ่งได้รับมาจากพระพรหม เหตุที่ให้กำเนิดลูกเป็นยักษ์หรืออสูรก็เพราะว่า สุมาลีอสูรเจ้ากรุงลงกา ยกลูกสาวให้กับวิศราพ เพราะอยากให้หลานตาของตนในอนาคตนั้นได้รับพลังที่ถ่ายทอดจากพระพรหมมาสู่วงศ์วานของตน ซึ่งหลานตาคนที่ว่านี้ก็คือราพณ์ หรือทศกัณฐ์นั่นเองครับ


ตรงกำเนิดพญายักษ์นี้
       ในรามายณะ ชาติก่อนทศกัณฐ์กับกุมภกรรณทำหน้าที่เฝ้าวิมานของพระวิษณุ วันหนึ่งมีฤๅษีมาขอเข้าพบพระวิษณุ ทั้งสองไม่ยอมให้เข้าพบตามที่     พระวิษณุสั่งว่าห้ามใครรบกวน ฤๅษีจึงสาปให้ทั้งสองต้องไปรับความทรมานในโลกมนุษย์ พระวิษณุไม่อาจถอนคำสาปได้ แต่เมื่อทั้งสองไปเกิดเป็นอสูร พระองค์จะอวตารช่วยสังหารให้พ้นทุกข์เอง ส่วนฉบับไทยเขียนว่า ยักษ์นนทกมีหน้าที่ล้างเท้าเทวดาอยู่เชิงบันไดเขาไกรลาส แต่ถูกเหล่าเทวดาแกล้งถอนผมเล่นจนหัวล้าน นนทกจึงไปขอพรพระอิศวรให้ตนมีนิ้วเพชร ชี้ไปที่ผู้ใดผู้นั้นต้องตาย ครั้นได้พรมาแล้วนนทกก็อาละวาดเที่ยวไล่ชี้เทวดาตายเกลื่อน ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องแปลงองค์เป็นนางฟ้ามายั่วให้นนทกร่ายรำตาม จนนนทกเผลอเอานิ้วเพชรจิ้มตัวเองตาย ก่อนตายนนทกได้เห็นพระนารายณ์คืนร่างมีสี่กร จึงเย้ยหยันว่ามีถึงสี่กรจึงมารังแกได้ พระนารายณ์จึงบัญชาให้นนทกไปเกิดใหม่โดยมีสิบเศียร ยี่สิบกร และพระองค์จะเป็นมนุษย์สองกรตามไปพิฆาตให้จงได้



ด้วยเหตุนี้นนทกจึงไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ และพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเป็นพระราม โดยพระลักษมี ชายาของพระนารายณ์ก็อวตารตามลงมาเป็นนางสีดาคู่ครองของพระราม บ่อยครั้งที่รูปราวัณของอินเดียมีเพียงเก้าศีรษะ เพราะราวัณนับถือพระศิวะ และถวายศีรษะหนึ่งให้พระศิวะไป.


ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
Re: รามเกียรติ์ รามายณะ คนละเรื่องเดียวกัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 30, 2017, 05:20:44 PM »
นางสีดานั้นถ้าจะว่าไปแล้วก็คือต้นเหตุแห่งมหาสงครามรามเกียรติ์ จนทำให้บรรดายักษ์ทั้งมวลต้องล้มหายตายจากโลกนี้ไป รวมทั้งมีบทบาทสำคัญที่ทำให้รามเกียรติ์มีทั้งเรื่องรัก โศก ความผูกพันจงรักภักดี ความระแวงสงสัย ความน้อยอกน้อยใจ ฯลฯ จนจัดเป็นนิยายที่สมบูรณ์ ไม่ใช่มีการรบราฆ่าฟันเพียงอย่างเดียวความอัศจรรย์ของนางสีดานั้น เริ่มตั้งแต่ตอนเกิดเลยครับ เพราะผู้ให้กำเนิดนางสีดาก็คือทศกัณฐ์ผู้หลงรักและลักพานางสีดามาจากพระรามนั่นเอง โดยผู้เป็นมารดาก็คือนางมณโฑ อัครมเหสีของทศกัณฐ์  ทั้งนี้ เพราะเมื่อนาง มณโฑประสูติพระธิดานั้น ทารกน้อยได้ร้องออกมาว่า “ผลาญราพณ์” หรือ “ฆ่ายักษ์” ออกมาถึงสามครั้ง ทำให้บรรดาโหรยักษ์ รวมทั้งพิเภกน้องของทศกัณฐ์พากันทำนายว่าธิดาองค์นี้จะเป็นตัวการทำให้ยักษ์สิ้นชาติ


ทศกัณฐ์จึงจำเป็นต้องสั่งให้นำทารกน้อยใส่พานไปลอยน้ำ แต่พระชนกฤาษีมาพบจึงเก็บเอาไป แต่ฤๅษีชนกเป็นฤๅษีไม่สะดวกจะเลี้ยงทารก จึงเอาผอบทองไปฝังดินไว้แล้วขอให้พระแม่ธรณีช่วยดูแลแทน ต่อมาฤาษีชนกซึ่งเป็นอดีตกษัตริย์ได้ลาเพศโยคีเพื่อกลับไปครองเมืองมิถิลา จึงใช้คันไถไถคราดเอาผอบขึ้นมา เปิดออกดูก็พบนางสีดาโตเป็นสาวมีความงามเป็นหนึ่ง จึงรับเป็นธิดาแล้วให้นามว่าสีดา ซึ่งแปลว่า “รอยไถ”

ต่อมาท่านจึงจัดพิธีวิวาห์หาคู่ให้นางสีดาด้วยการแข่งขันยกศร หรือมหาธนูโมลี ซึ่งผลก็ปรากฏว่าพระราม เป็นผู้ชนะและได้นางสีดามาเป็นคู่ครองส่วนนางสิตาในฉบับของฤาษีวาลมีกินั้นท่านว่าเป็นธิดาของพระภูมี หรือพระแม่ธรณี นางจึงมีกำเนิดอยู่ในดิน เมื่อพระชนกกษัตริย์กรุงมิถิลา ทำพิธีไถหว่าน (คงคล้ายกับพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของบ้านเรา) ก็ไปได้ตัวนางขึ้นมา และรับไปเลี้ยงเป็นธิดา ซึ่งต่อมาพระองค์ก็ได้จัดพิธีหาคู่ให้ด้วยการยกศรเช่นเดียวกับฉบับรามเกียรติ์

อ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้ว หลายท่านอาจรู้สึกว่าเรื่องราวสลับซับซ้อนเข้าใจยาก เพราะมีหลายเวอร์ชั่นเหลือเกิน แม้แต่ในการสร้างเป็นทีวีซีรีส์ก็มีอยู่มากมายหลายแบบ วงการบันเทิงในประเทศอินเดียเองก็มีการตีความแล้วสร้างแตกต่างกันออกไป ผลิตออกมาหลายแนวให้ได้รับชมกัน ทั้งผ่านมุมมองของพระราม และผ่านมุมมองของทศกัณฐ์ก็มี



 ล่าสุดช่อง 8 เสิร์ฟความสุขต้อนรับปี 2560 นำเอา “สีดาราม ศึกรักมหาลงกา” อภิมหาซีรีส์ฟอร์มยักษ์ แนวดราม่า แอ็กชั่น แฟนตาซี สุดยิ่งใหญ่ ครั้งแรกที่คนไทยจะได้ชมเรื่องราวจากต้นฉบับรามายณะที่สมบูรณ์แบบที่สุด ครบทุกเหตุการณ์สำคัญ ด้วยทุนสร้างกว่า 1,500 ล้านบาท เสนอฉายทุกวันจันทร์-พฤหัสฯ เวลา 19.00 น. กับเรื่องราวสนุกสนานที่เราคุ้นเคย แต่ก็เหมือนเป็นคนละเรื่องเดียวกันเพราะรามเกียรติ์เวอร์ชั่นนี้มีเนื้อหาที่แตกต่างออกไปจากที่เคยดูๆกันมา เพราะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวความรักอันยิ่งใหญ่ โดยสร้างจากต้นฉบับรามายณะที่สมบูรณ์แบบที่สุดกว่าครั้งใดๆที่เคยมีมา!

โดย :อุตรอวตาร