ยินดีต้อนรับสู่บ้านอบอุ่นของคนรัก บอย สพล ชนวีร์

คอลัมน์ "มะหมาเฝ้าภาษา" โดย galdewis

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ galdewis

  • *
  • 398
  • 0
  • เพศ: หญิง
    • galdewis' blog 4 ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล's lovers Limited
คอลัมน์ "มะหมาเฝ้าภาษา" โดย galdewis
« เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 07:05:36 PM »

หมายเหตุ: เปลี่ยนชื่อคอลัมน์มา 3 ครั้งแล้ว "ภาษาไทยวันละคำสองคำ" "หมาเฝ้าภาษา" "มะหมาเฝ้าภาษา"


ชื่อเชยยย...มาก ใครช่วยมาตั้งใหม่ให้ทีได้มั้ยนี่ อายจริงๆ ก็บอร์ดนี้มีแต่คนใช้ภาษาสวยๆ กันทั้งนั้น

แต่จำต้องระงับความอาย เพราะอยากจะลองทำเป็นตัวอย่างคอลัมน์ประจำที่ตัวเองเสนอไว้อ่ะค่ะ

พอดีมีเรื่องในเชิงอนุรักษ์ภาษาไทย อย่างที่ตัวเองอยากเขียนถึงด้วยอ่ะค่ะ



ปัญหาที่ "ยิ่งใหญ่"

galdewis


เมื่อกี๊ดูทีวี ได้ยินเสียงบรรยายพูดถึงตอนที่ประเทศเราเจอปัญหาเศรษฐกิจเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน

ประโยคที่เราฟังแล้วสะดุดก็คือ เสียงบรรยายบอกว่า "...ประเทศเราเจอปัญหาเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่เมื่อปี 40...(บลาบลาบลา"

คำที่เป็นปัญหาคือคำว่า "ยิ่งใหญ่" ค่ะ

ประโยคนี้ไม่ควรใช้คำว่า "ยิ่งใหญ่"

เพราะ "ยิ่งใหญ่" มีความหมายแฝงในทางบวก แต่ประโยคนี้กำลังพูดถึงสิ่งที่เป็น "ปัญหา" คือปัญหาเศรษฐกิจ
ดังนั้น จึงไม่ควรใช้คำว่า "ยิ่งใหญ่"

เราใช้ ยิ่งใหญ่ กับสิ่งที่เรายกย่อง หรือต้องการสื่อความหมายแฝงในทางบวก เช่น เทพผู้ยิ่งใหญ่ ความฝันอันยิ่งใหญ่ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ (แหะแหะ ขอเว่อร์หน่อยนะคะ)

ใครคิดว่ายังไงกันบ้างคะ คิดเหมือนหรือต่างกับเรายังไง เชิญแสดงความคิดเห็นหรือโต้แย้งกันได้นะคะ ขอบคุณค่ะ



เป็นไงคะ ตัวอย่างคอลัมน์ประจำของเรา
ถึงจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษาไทย แต่เราจะไม่เขียนแบบวิชาการนะคะ เพราะเราไม่ถนัดอ่ะค่ะ
แต่ส่วนใครจะถนัดเขียนแบบวิชาการในคอลัมน์ที่ตัวเองเปิด ก็ตามแต่ใจเจ้าของคอลัมน์อ่ะค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 16, 2009, 07:53:39 AM โดย galdewis »
maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ดีๆค่ะพี่ดี ชอบๆ ได้ความรู้ด้วยค่ะ  แล้วตกลงมันต้องใช้คำว่า อะไรแทน คำว่า ยิ่งใหญ่คะ

เมื่อคืนก่อนดู Club seven ช่วงสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ดูไบ ทั้งตึกที่สูงที่สุดในโลก และโรงแรม 6ดาว
นานะจังทึ่งมากเลยค่ะ ว่าจะไปหาข้อมูลเอามาลงที่นี่เหมือนกัน

ออฟไลน์ galdewis

  • *
  • 398
  • 0
  • เพศ: หญิง
    • galdewis' blog 4 ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล's lovers Limited
ดีๆค่ะพี่ดี ชอบๆ ได้ความรู้ด้วยค่ะ  แล้วตกลงมันต้องใช้คำว่า อะไรแทน คำว่า ยิ่งใหญ่คะ

เมื่อคืนก่อนดู Club seven ช่วงสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ดูไบ ทั้งตึกที่สูงที่สุดในโลก และโรงแรม 6ดาว
นานะจังทึ่งมากเลยค่ะ ว่าจะไปหาข้อมูลเอามาลงที่นี่เหมือนกัน

อ่ะฮะ ผู้สนับสนุนคนแรกมาแว้ววว ขอบคุณมากค่ะ นานะจัง

ในประโยคที่พี่ยกตัวอย่างมาอ่ะเหรอคะ ก็ใช้แค่ "ใหญ่" เฉยๆ อ่ะค่ะ ไม่ต้อง "ยิ่งใหญ่"  ;) แต่คงต้องเติมคำว่า "ครั้ง" ลงไปด้วย เพราะถ้าใส่แค่ "ใหญ่" คำเดียวก็จะด้วนๆ อ่ะค่ะ

พอแก้แล้ว ก็จะเป็น "ประเทศเราประสบปัญหาเศรษฐกิจครั้งใหญ่เมื่อปี 40" อ่ะค่ะ

แต่ถ้าเรารู้สึกว่า คำว่า "ใหญ่" ยังไม่สะใจพอ ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้คำอื่น แทนคำว่า "ใหญ่" ไปเลยค่ะ

อย่างในประโยคที่พี่ยกมานี้ พี่เข้าใจว่าคนที่เขียนบทบรรยาย คงอยากจะสื่อว่า ปัญหาเศรษฐกิจเมื่อปี 40 หรือก็คือที่ถูกตั้งฉายา (พี่ไม่แน่ใจว่า พี่ใช้คำว่า "ฉายา" ตรงนี้ถูกมั้ยคะ ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ) ให้ว่า วิกฤตต้มยำกุ้งนั้น มันเป็นปัญหาที่ใหญ่จริงๆ นะ คือมันใหญ่กว่าใหญ่เฉยๆ อ่ะค่ะ ก็เลยเลือกใช้คำว่า ยิ่งใหญ่ แทน เพื่อจะสื่อว่าปัญหามันใหญ่มากๆ นะ แต่เผอิญพี่คิดว่า เป็นการเลือกใช้คำที่ผิดนะคะ

ถ้าหากอยากจะสื่อว่า ปัญหาเศรษฐกิจครั้งนั้น "ใหญ่" มากจริงๆ ก็ควรเลือกใช้คำที่มีความเป็นลบ เพื่อให้สอดคล้องไปกันได้กับคำว่า "ปัญหา" ซึ่งมีความหมายในแง่ลบนะคะ

ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นว่า "ประเทศเราประสบปัญหาเศรษฐกิจที่เลวร้ายมาก"
หรือ "ประเทศเราประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างแสนสาหัส"
ทำนองนี้อ่ะค่ะ นานะจัง ขอบคุณมากค่ะ ที่ถามนะคะ  ;)
maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
Wow ขอบคุณมากค่ะ เป็นความรู้ใหม่จริงๆค่ะพี่ นานะจังทำให้ นานะจัง นึกถึง จารย์ลิลี่เลยค่ะ
อาจารย์อธิบาย ความแตกต่าง ระหว่าง คำว่า "ผู้เขียน" กับ "นักเขียน" ดูคล้ายกันแต่จริงๆแล้วแตกต่าง

ออฟไลน์ galdewis

  • *
  • 398
  • 0
  • เพศ: หญิง
    • galdewis' blog 4 ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล's lovers Limited
ใช่เลยค่ะนานะจัง

นอกเหนือจากการสะกดคำผิดแล้ว พี่คิดว่า ปัญหาการใช้คำผิดความหมาย เป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งของการใช้ภาษาไทยเลยอ่ะค่ะ ซึ่งมีส่วนทำให้ภาษาวิบัติอ่ะค่ะ

maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon

ออฟไลน์ galdewis

  • *
  • 398
  • 0
  • เพศ: หญิง
    • galdewis' blog 4 ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล's lovers Limited
ครั้งต่อไปพี่จะเขียนถึงคำว่า จุติ ที่ใช้กันผิดๆ แม้แต่ในละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ใช้คำนี้บ่อยที่สุด ขัดใจมานานละ
maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
ครั้งต่อไปพี่จะเขียนถึงคำว่า จุติ ที่ใช้กันผิดๆ แม้แต่ในละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ใช้คำนี้บ่อยที่สุด ขัดใจมานานละ

อ๋อ ที่เข้าใจว่า จุติหมายถึงการ เกิดน่ะเหรอคะ แต่จริง มันหมายถึงการ ตายของเทดาใช่ป่ะคะ เหมือน กรรติเกยะ พระอังคารในแก้วนพเก้าลงจุติ
คือการ ตายของพระอังคาร จากสรวงสวรรค์

ออฟไลน์ กาฬฯ

  • *
  • 6333
  • -4
  • เพศ: หญิง
  • ஐ~ เผ่าพันธุ์นาคีซ่อนพิษไว้เสมอ ~ஐ
โอ้  อย่างนี้ดีเลยค่ะ  เป็นประโยชน์ต่อการเขียนนิยายอย่างยิ่ง   เพราะบางทีอ่านเจองานเขียนของคนอื่น มักจะใช้คำผิดสถานการณ์  (ไม่รู้ของตัวเองเป็นบ้างรึเปล่าก็ไม่รู้)


ครั้งต่อไปพี่จะเขียนถึงคำว่า จุติ ที่ใช้กันผิดๆ แม้แต่ในละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ใช้คำนี้บ่อยที่สุด ขัดใจมานานละ

อ๋อ ที่เข้าใจว่า จุติหมายถึงการ เกิดน่ะเหรอคะ แต่จริง มันหมายถึงการ ตายของเทดาใช่ป่ะคะ เหมือน กรรติเกยะ พระอังคารในแก้วนพเก้าลงจุติ
คือการ ตายของพระอังคาร จากสรวงสวรรค์


สนับสนุนให้เขียนคำนี้ด้วยเช่นกันค่ะ  เพราะขนาดในละครพื้นบ้านยังมีใช้ผิดเลย  ในเทพศิลป์ก็มีใช้ผิดนะ  รู้สึก
**จักรวาลนี้กว้างไกลแลไพศาลนัก เราเป็นเพียงละอองธุลีอันน้อยนิดล่องลอย ยากที่จะเรียนรู้ทุกสรรพสิ่งให้จบครบสิ้น
สิ่งที่เรามิเคยเห็น ใช่ว่าจะมิมี แลสิ่งที่มิเคยได้ประสบ ก็ใช่ว่าจะมิเคยเกิดขึ้น**

ออฟไลน์ galdewis

  • *
  • 398
  • 0
  • เพศ: หญิง
    • galdewis' blog 4 ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล's lovers Limited
โอ้  อย่างนี้ดีเลยค่ะ  เป็นประโยชน์ต่อการเขียนนิยายอย่างยิ่ง   เพราะบางทีอ่านเจองานเขียนของคนอื่น มักจะใช้คำผิดสถานการณ์  (ไม่รู้ของตัวเองเป็นบ้างรึเปล่าก็ไม่รู้)

น้องกาฬเขียนเสริมได้เลยนะคะ เรื่องการใช้คำผิดสถานการณ์ หรือจะตั้งเป็นคอลัมน์ใหม่มั้ย

หรือไม่งั้นก็รวมไว้ในคอลัมน์(กระทู้นี้)ก็ได้ เดี๋ยวพี่เอาชื่อพี่ที่อยู่ตรงหัวข้อกระทู้ออก ไว้ลงชื่อตัวเองเฉพาะเวลามา update เรื่องใหม่ดีกว่า

ส่วนชื่อคอลัมน์นี้จะเติมคำว่า คอลัมน์เข้าไปข้างหน้าชื่อ เป็น "คอลัมน์ภาษาไทยวันละคำสองคำ" (ถ้าหาชื่อดีกว่านี้ไม่ได้) แต่ไม่ต้องมีชื่อ galdewis

แล้วพอพี่หรือน้องกาฬ มาเขียนเรื่องใหม่ๆ เราค่อยใส่ชื่อของเราลงใต้ชื่อเรื่องที่เขียนใหม่ พูดไปพูดมางงมั้ยเนี่ย


ครั้งต่อไปพี่จะเขียนถึงคำว่า จุติ ที่ใช้กันผิดๆ แม้แต่ในละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ใช้คำนี้บ่อยที่สุด ขัดใจมานานละ

อ๋อ ที่เข้าใจว่า จุติหมายถึงการ เกิดน่ะเหรอคะ แต่จริง มันหมายถึงการ ตายของเทดาใช่ป่ะคะ เหมือน กรรติเกยะ พระอังคารในแก้วนพเก้าลงจุติ
คือการ ตายของพระอังคาร จากสรวงสวรรค์


สนับสนุนให้เขียนคำนี้ด้วยเช่นกันค่ะ  เพราะขนาดในละครพื้นบ้านยังมีใช้ผิดเลย  ในเทพศิลป์ก็มีใช้ผิดนะ  รู้สึก
[/quote]

เด๋วขอไปคิดก่อนว่าจะเขียนยังไง ชักรู้สึกตื่นเต้น ราวกับได้เป็นคอมมิวนิสต์ เอ๊ย! คอลัมนิสต์ขึ้นมาจริงๆ ซะแล้ว ก็ดูดิ่ ได้รับความสนใจล้นหลามขนาดนี้ 555
maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon

ออฟไลน์ กันย์ณภัทร

  • *
  • 2248
  • -1
  • จงปลดโซ่ตรวนแห่งพันธนาการ ด้วยคมดาบแห่งใจตน
โอ้  อย่างนี้ดีเลยค่ะ  เป็นประโยชน์ต่อการเขียนนิยายอย่างยิ่ง   เพราะบางทีอ่านเจองานเขียนของคนอื่น มักจะใช้คำผิดสถานการณ์  (ไม่รู้ของตัวเองเป็นบ้างรึเปล่าก็ไม่รู้)


ครั้งต่อไปพี่จะเขียนถึงคำว่า จุติ ที่ใช้กันผิดๆ แม้แต่ในละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ใช้คำนี้บ่อยที่สุด ขัดใจมานานละ

อ๋อ ที่เข้าใจว่า จุติหมายถึงการ เกิดน่ะเหรอคะ แต่จริง มันหมายถึงการ ตายของเทดาใช่ป่ะคะ เหมือน กรรติเกยะ พระอังคารในแก้วนพเก้าลงจุติ
คือการ ตายของพระอังคาร จากสรวงสวรรค์


สนับสนุนให้เขียนคำนี้ด้วยเช่นกันค่ะ  เพราะขนาดในละครพื้นบ้านยังมีใช้ผิดเลย  ในเทพศิลป์ก็มีใช้ผิดนะ  รู้สึก

เข้าใจว่า จุติ เป็นการเกิดเหมือนกันค่า แหะๆ

ว่าแต่กันย์ขออนุญาตแนะนำนิดนึงได้ป่ะคะว่า เวลาพี่galdewis (เจ้าของคอลัมภ์)จะให้ความรู้ในเรื่องใหม่ๆเพิ่มเติมอีก อยากให้ลงแก้ไขในกระทู้แรกด้วย เลยอ่ะค่ะ ไม่งั้นถ้ามีกล่องข้อความตอบมากๆแล้ว บางคน(ที่นานๆมาอ่าน)ก็อาจจะข้ามไปอ่านหลังๆเลยก็ได้นะคะ อย่างเรื่องคำว่า จุติเนี่ย พี่galdewis พูดไว้มีนิดเดียว กันย์เกือบไม่เห็นแน่ะค่ะ พอดีเห็นจากที่กาฬอ้างอ่ะ^^ เลยย้อนกลับไปดู  แต่ที่เพิ่มความรู้ในกล่อง(เค้าเรียกว่าไรง่ะ)ที่ตอบใหม่ก็มีไป แต่อยากให้เพิ่มตรงแหล่งความรู้แรกด้วยอ่ะค่ะ แล้วอีกหน่อยถ้ากระทู้นั้นได้รับความนิยมมากๆเข้า มีคนตอบเยอะอาจจะทำลิ้งค์เชื่อมโยงให้คนที่สนใจเข้าไปอ่านความคิดเห็นของคนอื่นๆที่พูดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆได้น่ะค่ะ

ออฟไลน์ galdewis

  • *
  • 398
  • 0
  • เพศ: หญิง
    • galdewis' blog 4 ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล's lovers Limited
โอ้  อย่างนี้ดีเลยค่ะ  เป็นประโยชน์ต่อการเขียนนิยายอย่างยิ่ง   เพราะบางทีอ่านเจองานเขียนของคนอื่น มักจะใช้คำผิดสถานการณ์  (ไม่รู้ของตัวเองเป็นบ้างรึเปล่าก็ไม่รู้)


ครั้งต่อไปพี่จะเขียนถึงคำว่า จุติ ที่ใช้กันผิดๆ แม้แต่ในละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ใช้คำนี้บ่อยที่สุด ขัดใจมานานละ

อ๋อ ที่เข้าใจว่า จุติหมายถึงการ เกิดน่ะเหรอคะ แต่จริง มันหมายถึงการ ตายของเทดาใช่ป่ะคะ เหมือน กรรติเกยะ พระอังคารในแก้วนพเก้าลงจุติ
คือการ ตายของพระอังคาร จากสรวงสวรรค์


สนับสนุนให้เขียนคำนี้ด้วยเช่นกันค่ะ  เพราะขนาดในละครพื้นบ้านยังมีใช้ผิดเลย  ในเทพศิลป์ก็มีใช้ผิดนะ  รู้สึก

เข้าใจว่า จุติ เป็นการเกิดเหมือนกันค่า แหะๆ

ว่าแต่กันย์ขออนุญาตแนะนำนิดนึงได้ป่ะคะว่า เวลาพี่galdewis (เจ้าของคอลัมภ์)จะให้ความรู้ในเรื่องใหม่ๆเพิ่มเติมอีก อยากให้ลงแก้ไขในกระทู้แรกด้วย เลยอ่ะค่ะ ไม่งั้นถ้ามีกล่องข้อความตอบมากๆแล้ว บางคน(ที่นานๆมาอ่าน)ก็อาจจะข้ามไปอ่านหลังๆเลยก็ได้นะคะ อย่างเรื่องคำว่า จุติเนี่ย พี่galdewis พูดไว้มีนิดเดียว กันย์เกือบไม่เห็นแน่ะค่ะ พอดีเห็นจากที่กาฬอ้างอ่ะ^^ เลยย้อนกลับไปดู  แต่ที่เพิ่มความรู้ในกล่อง(เค้าเรียกว่าไรง่ะ)ที่ตอบใหม่ก็มีไป แต่อยากให้เพิ่มตรงแหล่งความรู้แรกด้วยอ่ะค่ะ แล้วอีกหน่อยถ้ากระทู้นั้นได้รับความนิยมมากๆเข้า มีคนตอบเยอะอาจจะทำลิ้งค์เชื่อมโยงให้คนที่สนใจเข้าไปอ่านความคิดเห็นของคนอื่นๆที่พูดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆได้น่ะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่แนะนำค่ะ น้องกันย์  ;) แต่ว่าคำว่า จุติ เนี่ย พี่ยังไม่ได้เขียนเลยอ่า แค่เกริ่นบอกว่าจะเขียนเฉยๆ ค่า  ;)

คือว่าคอลัมน์(กระทู้)นี้ เป็น trial ก่อนค่ะ ลองทำเป็นตัวอย่างให้ดูก่อนน่ะค่ะ ว่าการเปิดกระทู้เพื่อให้เป็นคอลัมน์ประจำในห้องนิตยสารออนไลน์ตามที่พี่เสนอ จะมีลักษณะเป็นยังไง

พี่เลยลองตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาค่ะ และลองเขียนเรื่องแรกคือเรื่อง ปัญหาที่ "ยิ่งใหญ่" ดู และเรื่องที่ 2 ที่จะลองเขียนต่อไป คือเรื่องคำว่า จุติ อ่ะค่ะ (แต่ยังนึกไม่ออกว่าจะเขียนยังไง แหะ  :-[ )

ถ้าจะเขียนเกี่ยวกับคำว่าจุติ เดี๋ยวพี่จะขึ้นคอมเมนท์ใหม่ค่ะ น้องกันย์ เดี๋ยวอาจจะเพิ่ม...เรียกว่าอะไร...รูปแบบที่จะบ่งบอกว่า เป็นคอลัมน์ หรือเป็นการเขียนเรื่องที่ 2 ต่อจากเรื่องแรก (คือเรื่องปัญหาที่ "ยิ่งใหญ่") เพื่อคนอ่านจะได้ไม่งงแบบที่น้องกันย์ว่าน่ะค่ะ

สรุปคือ กระทู้นี้พี่ทดลองทำดูก่อน ว่าการเขียนคอลัมน์ประจำที่พี่เสนอ จะหน้าตาออกมาเป็นยังไงอ่ะค่ะ น้องกันย์ เพราะพี่ยังคิดเรื่องรายละเอียดของรูปแบบคอลัมน์ ยังไม่ลงตัวซักเท่าไหร่ เช่น ชื่อคอลัมน์ประจำของพี่นี่ ก็ยังคิดชื่อไม่ออกเลยอ่ะ แหะ  :P น้องกันย์จะช่วยคิดให้พี่ เอาบุญหน่อยมั้ยคะ  :-*

ถ้าคิดอะไรใหม่ๆ ได้ พี่จะมาทดลองทำที่กระทู้นี้ ไปเรื่อยๆ ก่อนค่ะ น้องกันย์คอยช่วยมาชี้แนะด้วยนะ  :-*
maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon

ว๊าวววว
กระทู้ดี มีสาระ......

มาศึกษาวิธีการเลือกคำใช้ครับป๋ม

โฮะๆ ไว้กระป๋มจะมาเปิดคอลัมน์ของตัวเองมั่ง ได้ป่าว ?

ออฟไลน์ galdewis

  • *
  • 398
  • 0
  • เพศ: หญิง
    • galdewis' blog 4 ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล's lovers Limited
หมายเหตุจากเจ้าของคอลัมน์: ทดลองเขียนเรื่องในเชิงอนุรักษ์ภาษาไทยเป็นเรื่องที่ 2 ค่ะ และทดลองตั้งชื่อคอลัมน์ กับจัดรูปแบบให้เหมือนกับเป็นคอลัมน์นึงในนิตยสารด้วยค่ะ ช่วยอ่านและชี้แนะด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ --galdewis)


"หมาเฝ้าภาษา" (ชื่อชั่วคราว)
คอลัมน์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
เพื่อภาษาไทยที่เรารัก



ปีที่ 1 (2552) เรื่องที่ 2


พุทโธ่เอ๋ย! จุติ ไม่น่าเลย

เขียนโดย galdewis

ในที่สุดสิ่งที่พี่วิตก ก็เกิดขึ้นแล้วจริงๆ จึงเป็นที่มาของชื่อเรื่องที่ 2 นี้ พุทโธ่เอ๋ย! จุติ ไม่น่าเลย

นั่นคือ ความหมายของคำว่า "จุติ" ในพจนานุกรมฉบับที่ใหม่ที่สุดในปัจจุบัน คือฉบับปี 42 (นี่ใหม่สุดแล้วนะ) ในที่สุด ก็ถูกปรับเปลี่ยนความหมายไปเสียแล้ว

ลองอ่านเปรียบเทียบดูนะคะ


ความหมายของ "จุติ" ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (จากเว็บพจนานุกรมราชบัณฑิตยฯ ออนไลน์)

จุติ [จุ-ติ, จุดติ] ก. เคลื่อน, เปลี่ยนสภาพจากกำเนิดหนึ่งไปเป็นอีก
 กำเนิดหนึ่ง, (มักใช้แก่เทวดา). (ป.; ส. จฺยุติ).
http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp


คามหมายของ "จุติ" ในหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยฯ พ.ศ. 2525 หน้า 236
จุติ ก. ตาย (มักใช้แก่เทวดา)


พี่ไม่รู้เหตุผลว่า ทำไมราชบัณฑิตย์ฯ ถึงได้ต้องปรับเปลี่ยนความหมายของคำว่า จุติ นะคะ

แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้น เมื่อได้เห็นก็คือ เสียดายเหลือเกิน เสียดายความหมายเดิมของ จุติ จัง


จะเห็นได้ชัดเจนนะคะ ว่าเดิมทีพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยฯ ปี 25 ได้ให้ความหมายของ "จุติ" ไว้อย่างชัดเจนที่สุด จนไม่เหลือข้อสงสัยใดๆ

ใครมาเปิดพจนานุกรมฉบับนี้(ปี 25) ก็จะต้องเข้าใจได้อย่างชัดเจนและในทันที ถึงความหมายของ "จุติ"
ว่าแปลว่า "ตาย" สถานเดียวเท่านั้น และต้องใช้กับเทวดาด้วยนะ
ไม่ใช่ใช้กับมนุษย์

แต่ในพจนานุกรมฉบับปี 42 "จุติ" กลับถูกปรับเปลี่ยนความหมายจากชัดเจนเป็นคลุมเครือ

กลายเป็นแปลว่า "เคลื่อน" ไปได้ซะนี่

แถมในคำอธิบายยังดันใส่คำว่า "กำเนิด" ซึ่งมีความหมายแตกต่างตรงกันข้ามกับ "ตาย" เข้ามาซะอีก

ยิ่งทำให้ความหมายของ "จุติ" ซึ่งคนก็เข้าใจผิด ใช้ผิดกันมากอยู่แล้ว สับสนมากขึ้นไปอีก
ว่ามันแปลว่า "เกิด" หรือแปลว่า "ตาย" กันแน่


อย่างที่บอกว่า พี่ไม่รู้เหตุผลว่าทำไมราชบัณฑิตยฯ จึงต้องเปลี่ยนคำอธิบายความหมายของ "จุติ"
ทั้งๆ ที่ความหมายเดิมก็ชัดเจนดีอยู่แล้ว

แต่ถ้าจะให้สันนิษฐาน ก็คงเพราะว่า คำว่า "จุติ" ถูกใช้กันอย่างผิดๆ โดยไม่มีการทักท้วงทัดทาน มานานเกินไป
จนจาก "ผิด" กำลังจะกลายเป็น "ไม่ผิด" ไปแล้ว

เพราะคำอธิบายใหม่ที่แปล "จุติ" ว่า เคลื่อน นี่
พี่อ่านแล้วรู้สึกทันทีว่า ความหมายมันกลายเป็นไปใกล้เคียงกับ "เกิด" (อย่างที่คนชอบเข้าใจผิดกัน) มากกว่า "ตาย" ไปซะแล้ว


เห็นผลเสียของการใช้คำอย่างผิดๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาษาวิบัติ กันหรือยังคะ
และนี่ไม่ใช่ครั้งแรก แต่น่าจะเป็นครั้งที่นับไม่ถ้วนแล้ว
ที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยฯ ซึ่งเป็นหลักอย่างเป็นทางการ ในการตรวจสอบความถูกต้องของการใช้คำภาษาไทย
ที่จำต้องยอมรับสิ่งที่ผิด เป็นสิ่งที่ถูก


สังเกตกันมั้ยคะ ว่าทำไมคำหลายๆ คำ ถึงเขียนได้มากกว่า 1 วิธี

เท่าที่พี่เคยทราบมา เหตุผลนึงก็เป็นเพราะคนเขียนกันอย่างผิดๆ ใช้กันอย่างผิดๆ จนกลายเป็นถูก กลายเป็นที่ยอมรับกัน
พจนานุกรมจึงต้องอนุโลม ให้เขียนได้ทั้ง 2 คำ

อาจมีคนมองว่าดี มองว่าเป็นความยืดหยุ่นของราชบัณฑิตยฯ

แต่ตัวพี่เองไม่ชอบเลย และเห็นว่านี่แหละ คือภาษาวิบัติที่แท้จริง

เพราะว่าคำๆ หนึ่งนั้น มันไม่ได้กำเนิดขึ้นอย่างเดี่ยวๆ นะคะ
แต่มันมีความเชื่อมโยงกับคำอื่นๆ อีกมาก และมีประวัติความเป็นมาของความหมายที่อยู่เบื้องหลังของคำนั้น

จนเขาต้องศึกษาเรื่องประวัติของคำกันเป็นเรื่องเป็นราว แยกออกมาเป็นวิชาเฉพาะอีกวิชาหนึ่ง ที่เรียกว่า
วิชา นิรุกติศาสตร์

(นิรุกติศาสตร์ น. วิชาว่าด้วยที่มาและความหมายของคํา. (ส.).
จากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (จากเว็บพจนานุกรมราชบัณฑิตยฯ ออนไลน์)
http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp)


อย่างเช่นคำว่า “จุติ” นี่ มันมีคำที่เป็นคู่ตรงข้ามของมัน อย่างลงตัวพอดีเป็นที่สุด และเป็นคำที่เรารู้จักกันดีซะด้วย นั่นคือคำว่า

ปฏิสนธิ (แบบ) ก. เกิดในท้อง, ถือกําเนิด. (ป. ปฏิสนฺธิ).
http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp


จุติ = ตาย ตรงข้ามกับ ปฏิสนธิ = เกิด

เห็นมั้ยคะ ว่าความหมายชัดเจนทั้ง 2 คำ และจำง่ายที่สุด

แต่ตอนนี้ความหมายของ “จุติ” กลับกลายไปเสียแล้ว ดันแปลว่า เคลื่อน จากสภาพกำเนิดหนึ่ง ไปยังสภาพกำเนิดหนึ่ง

แล้วยังงี้ คำว่า “จุติ” ก็ไม่ตรงกันข้ามกันพอดีอย่างงดงาม กับคำว่า “ปฏิสนธิ” แล้วใช่มั้ยนี่

มีใครรู้สึกเสียดาย เหมือนพี่มั่งมั้ยคะนี่
maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
โห สุดยอดดดดจริงๆค่ะ ได้ทั้งความรู้และอรรถรส จากความคิดเห็นของพี่
สงสัยต้องไปโปรโมทให้ เด็กๆ หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ตามมาอ่านคอมลัมน์นี้กันเยอะๆเลย :-*

ออฟไลน์ galdewis

  • *
  • 398
  • 0
  • เพศ: หญิง
    • galdewis' blog 4 ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล's lovers Limited
โห สุดยอดดดดจริงๆค่ะ ได้ทั้งความรู้และอรรถรส จากความคิดเห็นของพี่
สงสัยต้องไปโปรโมทให้ เด็กๆ หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ตามมาอ่านคอมลัมน์นี้กันเยอะๆเลย :-*


อื่มม์...ขอบคุณอ่ะค่ะ นานะจัง ที่เห็นประโยชน์ในสิ่งที่พี่เขียนไป ถึงกับอยากจะไปโปรโมทให้คนอื่นๆ ได้อ่านกัน
แต่พี่ไม่แน่ใจอ่ะนะคะ ว่าจะดีหรือเปล่านะ ถ้าจะเชียร์ให้ใครๆ มาอ่านในวงกว้าง

เพราะว่าพี่ไม่คิดว่าที่ตัวเองเขียนไป มันจะน่าอ่านขนาดที่ใครๆ ควรจะอ่านอ่ะนะ
แค่อยากจะทำอะไร เพื่อจะปกป้องภาษาไทยที่เรารักบ้างเท่านั้นเอง
คงจะดีกว่าแค่พูดเปล่าๆ ว่าเรารักภาษาไทย เรารักภาษาไทย แต่ไม่ได้ทำอะไรที่พิสูจน์คำพูดของเราซะบ้างเลย


งั้นก็ถือโอกาสออกตัวซะเลย ว่าที่ตัวเองคิดจะเขียนคอลัมน์นี้ขึ้นมานั้น
ไม่ได้จะเขียนขึ้นมาเพื่อจะตั้งตัวเป็นครู เพื่อจะสั่งสอนใคร ไม่เคยคิดที่จะทำยังงั้นเลย
 
พี่ไม่ใช่นักวิชาการ ไม่ได้เชี่ยวชาญภาษาไทย
แค่เป็นคนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่พยายามที่จะใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้เท่านั้น
ในฐานะที่เราเป็นคนไทยคนหนึ่งและเป็นเจ้าของภาษาคนหนึ่ง


อีกอย่างที่อยากออกตัวก็คือ พี่อาจมีความเห็นเกี่ยวกับว่าสิ่งใดที่เรียกว่าเป็นภาษาวิบัติ แตกต่างไปจากคนจำนวนมาก

พี่ไม่เห็นว่า การที่เราพูดหรือเขียนคำว่า มหาวิทยาลัย เป็น มหา’ลัย การพูดไทยคำอังกฤษคำ หรือภาษาแชท เป็นภาษาวิบัติ
อย่างที่พี่เห็นหลายคนมักจะยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาตำหนิติเตียนว่าเป็นเรื่องภาษาวิบัติ
ตราบใดที่การเขียนคำว่ามหาวิทยาลัย เป็นมหา’ลัย หรือการใช้ภาษาแชท มีขอบเขตการใช้ที่จำกัดและเหมาะสม ใช้อย่างรู้กาลเทศะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องตระหนักว่า เมื่อใดที่ไม่ควรจะใช้วิธีการเหล่านั้นเป็นอันขาด

ส่วนการพูดไทยคำอังกฤษคำ ถ้าไม่ใช่ใช้เพราะดัดจริต อยากจะโชว์ออฟว่าฉันเก่งอังกฤษ
ซึ่งก่อความรู้สึกน่าหมั่นไส้และน่ารำคาญให้แก่คนฟังแล้ว
ถึงอาจจะไม่ค่อยเหมาะสมนัก แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นภาษาวิบัติ
ส่วนตัวเอง ใช้วิธีการพูดไทยคำอังกฤษคำ เป็นเทคนิคในการจำความหมายของศัพท์ภาษาอังกฤษค่ะ
และใช้ในเวลาพูดคุยส่วนตัวกับคนที่สนิทเท่านั้น
ถ้าในโอกาสที่เป็นทางการ หากนึกคำภาษาไทยที่จะใช้ไม่ออกจริงๆ และต้องใช้ภาษาอังกฤษแทน ก็จะต้องขอโทษคนฟังก่อนทุกครั้ง 


แต่สิ่งที่พี่เห็นว่า เป็นภาษาวิบัติก็คือ การสะกดคำผิด และการใช้คำผิดความหมายค่ะ เพราะมันจะส่งผลเสียต่อภาษาไทยในระยะยาว โดยเฉพาะปัญหาหลัง ดังที่ได้ยกตัวอย่างความหมายที่กลายไปอย่างน่าเสียดายของคำว่า “จุติ” และความแตกต่างของคำว่า “ใหญ่” กับ “ยิ่งใหญ่” น่ะค่ะ


การสะกดคำผิดที่พี่ถือว่าเป็นภาษาวิบัติ (โดยที่ไม่ใช่การพิมพ์ผิดนะคะ) คือการสะกดคำผิด เพราะไม่รู้ว่าที่สะกดถูกนั้น สะกดอย่างไร
และที่สำคัญและอันตรายที่สุดก็คือ การที่คนที่สะกดคำผิดนั้น ไม่ใส่ใจที่จะรู้ด้วยซ้ำไปว่า คำที่สะกดถูก เขาสะกดกันยังไง นี่ต่างหาก คืออันตรายที่แท้จริงของการสะกดคำผิด

แล้วพอมีคนช่วยเตือน ก็กลับไปโกรธเขา หรือแสดงท่าทางไม่ยี่หระ หรือทำท่าดูถูกดูแคลนคนที่ทักท้วง
และปกป้องตัวเองจนน่าเกลียด
ไม่ใช่อะไรหรอก รู้สึกเสียหน้านั่นเอง และเพื่อต้องการจะเอาชนะคะคานเท่านั้น โดยไม่สนว่าถูกผิดคืออะไร
ขอให้ฉันได้ชื่อว่าชนะก็พอ

คนที่สะกดคำผิดแต่รู้ตัวและใส่ใจที่จะแก้ไข นอกจากพี่จะไม่ถือว่าเขาเป็นคนที่มีส่วนทำให้ภาษาวิบัติแล้ว ยังอยากจะยกนิ้วให้เลยด้วยค่ะ

คุณกำลังทำคุณูประโยชน์ (ไม่แน่ใจว่าคำนี้ใช้ถูกหรือเปล่านะคะ ขอผู้รู้ช่วยทักท้วงด้วยค่ะ) ให้แก่ภาษาไทยและรุ่นลูกรุ่นหลานของเราต่อไปอย่างมหาศาลเลยนะคะ รู้ตัวหรือเปล่า

เพราะฉะนั้นอย่ากลัวที่จะสะกดผิด หรือรู้สึกอายหรือเสียหน้า เมื่อถูกทักท้วงนะคะ สิ่งสำคัญคือเมื่อรู้ว่าผิดแล้วต้องแก้ให้ถูก นั่นแหละที่น่ายกย่องที่สุดค่ะ

ส่วนการใช้คำผิดความหมาย มักจะเป็นกับคำที่คล้ายๆ กัน อย่างเช่นคำว่า “ใหญ่” กับ “ยิ่งใหญ่” ที่ยกตัวอย่างไปอ่ะค่ะ
ตัวอย่างอื่นๆ ที่เห็นใช้ผิดกันบ่อย ก็เช่นการสับสนระหว่างคำว่า ทัศนะ กับ ทัศนคติ

การใช้คำผิดความหมายเป็นเรื่องใหญ่มากยิ่งกว่าการสะกดผิดมากมายเลยค่ะ เพราะว่าเป็นปัญหาที่แก้ยากกว่าหลายเท่า
แถมยังไม่ค่อยมีหนังสืออ้างอิงเรื่องการใช้ภาษาไทย ที่พอจะใช้เป็นหลักได้อย่างชัดๆ เหมือนกับพจนานุกรมซะด้วยสิคะ
(หรือว่ามีแต่พี่ไม่รู้ก็ไม่ทราบ ขอผู้รู้ช่วยบอกด้วยค่ะ)

พี่สังเกตเห็นความหนักหนาสาหัสของปัญหานี้แล้ว รู้สึกหนักใจมาก
และไม่ได้คิดว่าตัวเองจะเก่งพอที่จะแก้ปัญหานี้ได้เลย
แค่เพียงอยากจะมีส่วนช่วยได้บ้างเท่านั้น ซักนิดก็ยังดี
เพียงเพื่อให้สามารถเชิดหน้าพูดกับตัวเองได้ว่า
ฉันไม่ได้ดีแต่ปาก ที่พร่ำบอกกับใครๆ ว่าตัวเองรักภาษาไทย ทว่าไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย


สุดท้ายของการออกตัวมาอย่างยืดยาวในครั้งนี้ อยากจะย้ำว่า นี่ไม่ใช่บทความทางวิชาการนะคะ นำไปอ้างอิงใดๆ ไม่ได้ค่ะ
เพราะฉะนั้นอย่าอ้างอิงข้อเขียนนี้
นะคะ
แค่ต้องการอยากให้ช่วยกันตระหนักถึงปัญหาภาษาวิบัติ ว่ามันส่งผลเสียในระยะยาวต่อภาษาไทยที่เรารักยังไง
และช่วยกันคนละไม้คนละมือ ที่จะปกปักรักษาภาษาไทยที่รักของเรา ให้เป็นมรดกอันน่าภาคภูมิ ไปชั่วลูกชั่วหลานอ่ะค่ะ

ขออภัยที่ยาวนะคะ


อีกนิดนึง พี่อยากเสนอให้เพื่อนพ้องน้องพี่ในบอร์ดบอย เรามาช่วยกันสอดส่องการสะกดผิดและการใช้คำผิดความหมาย ภายในบอร์ดของพวกเรากันเองด้วยอ่ะค่ะ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งนะคะ

คิดว่ายังไงคะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 12, 2009, 07:56:58 PM โดย galdewis »
maybe-the-beauty-or-the-beast head over heels in solitude

Whosoever is delighted with solitude is either a wild beast or a god. –Bacon