ยินดีต้อนรับสู่บ้านอบอุ่นของคนรัก บอย สพล ชนวีร์

รามายณะและรามเกียรติ์ เหมือนหรือต่างกันตรงไหน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้


หัวข้อนี้สืบเนื่องมาจากหัวข้อ "ถ้าจะสร้างหนังจักรๆวงศ์ๆ ฟอร์มยักษ์ ฯ" ที่ห้องสนทนานะคะ ไม่รู้จะแปะไว้ที่ห้องไหนดี เลยเอามาแปะที่ห้องนี้แทน

อันดับแรกต้องขอออกตัวก่อนว่า ไม่ใช่นักเปรียบเทียบวรรณกรรมที่เก่งกาจมาแต่ไหน อาศัยว่าชอบทางด้านนี้ และเคยศึกษามาเท่านั้นเอง ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาเขียนนี้ อ้างอิงมาจาก
1. รามายณะ ฉบับวาลมิกิ ซึ่งได้รับการรวบรวมและเรียบเรียงโดยนักเขียนชาวอินเดีย  ราเมศ เมนอน   




2. รามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 โดยกรมศิลปากร
3. เว็บไซต์วิกิพีเดีย รามายนะ ฉบับวาลมิกิภาคภาษาสันสกฤต เขียนโดยอักษรเทวนาครี ที่ http://wikisource.org/wiki/%E0%A4%B0%E0%A4%BE%E0%A4%AE%E0%A4%BE%E0%A4%AF%E0%A4%A3
4. เลคเชอร์และเอกสารประกอบการเรียนวิชา วรรณกรรมเอกของโลก ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ความที่ชาวตะวันตกขนานนามรามายณะว่าเป็น "The Odyssey of East " เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะทำการเปรียบเทียบ อินขอเริ่มต้นจากการปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับรามายณะ และรามเกียรติ์กันก่อนสักเล็กน้อยนะคะ (ฟังดูเป็นวิชาการไปไหมเอ่ย)

เรามาเริ่มกันที่ รามายณะ กันก่อนนะคะ

     รามายณะนี้กล่าวกันว่า ฤษีวาลมิกิ เป็นผู้รจนาขึ้นเป็นภาษาสันสกฤตชั้นสูง ประมาณ 500 ปีก่อนคริสตศักราช (500 B.C) ประกอบด้วยคำแนท์ทั้งหมด 24,000 โศลก แต่ละโศลกแบ่งเออกเป็นบท รวมกันได้ 7 ตอน หรือ 7 กัณฑ์ (แต่ฉบับที่ฤษีวาลมิกิรจนาขึ้นนี้ ไม่ใช่รามายณะที่เป็นต้นเรื่อง เพราะก่อนหน้านี้ ชาวอินเดียรู้จักรายณะในรูปแบบของ "นิทานพระราม" ที่เล่าสืบต่อกันมาแบบมุขปาฐะ (แบบปากต่อปาก))
     รามายณะมีการนำมาเขียนเล่าใหม่เป็นภาษาพื้นเมืองอื่นๆ ในอินเดีย อย่างน้อยที่สุด 4 ฉบับ (อย่างน้อยนะคะ นั่นหมายความว่ามีแยกย่อยออกไปอีกหลายฉบับทีเดียว) ซึ่งแต่ละฉบับก็มีความ Classic ในตัวมันเอง คือ
     1. อิรามาวตาร เป็นภาษาทมิฬ เขียนโดย กวีชื่อ กัมปัน แต่งขึ้นในราวคริสตศตวรรษที่ 12
     2. ฉบับภาษาเบงกลี หรือเบงกาลี เขียนโดย กฤติพา โอชฮา ในราวปลายคริสตศตวรรษที่ 14
     3. รามาชาคริตมนัส เป็นภาษาฮินดี เรียกกันว่าฉบับบอมเบย์ เขียนโดย ตัลสิทัส ในราวคริสตศตวรรษที่ 16
     4. อาธยัตมะรามายานัม เป็นภาษามาลายัม เขียนโดยยุลซุตตาวัน ในราวคริสตศตวรรษที่ 16 เช่นกัน

     กล่าวกันว่ารามายณะแต่ละฉบับนั้น จะมี 1/3 ของอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งไม่มีอยู่ในฉบับหนึ่ง สรุปแล้วก็คือ ใน 24,000 โศลกนั้น ก็จะมีความต่างกันอยู่ประมาณ 8,000 โศลก

     จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า รามายณะฉบับวาลมิกินี้ แบ่งออกเป็น 7 กัณฑ์ แต่ละกัณฑ์ มีชื่อเรียกดังนี้
     1. พลกัณฑ์ หรือพาลกาณฑ์ (रामायण बालकाण्ड)  เป็นกัณฑ์ที่ต่อเติมขึ้นภายหลัง แม้ชาวอินเดียจะยอมรับว่าเป็นต้นเรื่อง แต่ชาวตะวันตกไม่ยอมรับ กัณฑ์เริ่มตั้งแต่ฤษีวาลมิกิลงมือแต่งโศลก จนถึงวิวาห์สี่ราชโอรส กัณฑ์นี้มีความยาวทั้งสิ้น 77 ตอน
     2. อโยธยากัณฑ์ หรืออโยธยากาณฑ์ (रामायण अयोध्याकाण्ड) เริ่มตั้งแต่ท้าวทศรถจะให้พระรามครองเมือง จนถึงพระรามเดินป่า กัณฑ์นี้มีความยาวทั้งสิ้น 119 ตอน

     3. อรัญกัณฑ์ (रामायण अरण्यकाण्ड) เป็นกัณฑ์ที่เล่าถึงชีวิตในป่าของพระราม นางสีดา และพระลักษมณ์ จนถึงพระรามออกตามนางสีดา  กัณฑ์นี้มีความยาวทั้งสิ้น 75 ตอน

     4. กิษกินธากาณฑ์ หรือขีดขินกัณฑ์ (रामायण किष्किन्धाकाण्ड) เป็นกัณฑ์ที่สั้นที่สุดใน 7 กัณฑ์ กัณฑ์นี้จะเล่าถึงการพบกันของพระราม พาลี สุครีพ และหนุมาน กัณฑ์นี้มีความยาวทั้งสิ้น 67 ตอน

     5. สุนทรกัณฑ์ (रामायण सुन्दरकाण्ड) เล่าถึงการผจญภัยของหนุมานล้วนๆ กัณฑ์นี้มีความยาวทั้งสิ้น 68 ตอน

     6. ยุทธกัณฑ์ (रामायण युद्धकाण्ड) กัณฑ์นี้เป็นกัณฑ์ที่ยาวที่สุด เล่าถึงการรบกับทศกัณฐ์ จบลงด้วยการราชาภิเษกพระรามเป็นกษัตริย์อโยธยา กัณฑ์นี้มีความยาวทั้งสิ้น 131 ตอน

     7. อุดรกัณฑ์ หรืออุตรกาณฑ์ (रामायण उत्तरकाण्ड) กัณฑ์นี้เป็นกัณฑ์ที่แต่งขึ้นภายหลัง เป็นกัณฑ์ที่เรียกได้ว่า ลดเกียรติยศพระรรามลงโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และฤษีวาลมิกิเอง ก็กลายเป็นเพียงตัวละครหนึ่งในรามายณะเท่านั้น
     
   *  ทั้งนี้ กัณฑ์ที่ 2-5 แต่งขึ้นก่อนพระพุทธเจ้าประสูติราว 300 ปี และกัณฑ์ที่ 1 กับ 7 ที่แต่งขึ้นมาภายหลังนั้น ได้แต่งขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้วราว 100 กว่าปี

     พรุ่งนี้เรามาต่อกันที่รามเกียรติ์นะคะ
   




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2017, 02:12:03 PM โดย นานะจัง »
     อักษรแต่งสาร   จดจารลงไว้                          มอบหื้อน้องไท้   สรรคำเลือกเฟ้น
ความฮักหนักอก   หยิบยกหื้อเห็น                         แป๋งเป็นค่าวส้อย   ส่งเถิงนุชน้อง
หวังเจ้าหันใจ   หวังให้หันพ้อง                              ส่งค่าวไขบอกเค้า
     เอื้องผึ้งหอมหวาน   พี่ขานบอกเจ้า                   เอื้องผึ้งหวังพึ่งพา
เจ้ายอดมิ่งมิตร   ดวงจิตพี่ยา                               ตึงร่างกายา   ถอดวางหื้อเจ้า
เจ้าแก้วรอมแพง   เช้าแลงคอยเฝ้า                       ถนอมฮักอย่าฮู้ร้าง
     ขอเจ้าแพงนาย   อย่าคลายปล่อยคว้าง             หื้อพี่ว้างดายเดียว
อู้แท้จากใจ   บ่ใช่เพียงเกี้ยว                               กลับเวียงครานี้   จะเตรียมแต่งผ้า
คนใหญ่เจียรจา   มาขอน้องหล้า                          เป็นจอมนาฏนางใหญ่
     เขียนสารฝากแม่ไว้                                     แทนพี่แนบเคียงใกล้ 
นิ่มน้องรอมรอมแพง                                         พี่เฮย ”    

ออฟไลน์ นานะจัง

  • *
  • 7234
  • -3
  • เพศ: หญิง
  • นิศาอรพินท์
    • อีเมล์
 :icon_evil:สุดยอดค่ะพี่ เป็นประเด็น ที่น่าสนใจมาก เคลียร์ทุกอย่างเสร็จจะเขจ้ามาคุยนะคะ :icon_idea: ตอนนี้ปวดหัวไปหมดแล้ว :icon_frown:

ออฟไลน์ hitori_neko

  • *
  • 83
  • 0
  • เพ(ร)าะรัก
แหมๆๆๆ
ตอนนี้ดังจนต้องแยกกระทู้
สูๆนะคะ เดี๋ยวหญิงจะเข้ามาอ่านด้วย
ใจตรงกันมากมายเลย หญิงก็อยากให้ตั้งกระทู้หม่พอดี

:icon_evil:สุดยอดค่ะพี่ เป็นประเด็น ที่น่าสนใจมาก เคลียร์ทุกอย่างเสร็จจะเขจ้ามาคุยนะคะ :icon_idea: ตอนนี้ปวดหัวไปหมดแล้ว :icon_frown:

หุหุ อีกนานจ้ะนานะกว่าพี่จะเขียนจบ สู้ๆกับงานที่จะต้องส่งนะจ้ะ  :icon_idea:

ป.ล บอกกล่าวกันไว้ตรงนี้นิดนึงว่า อินจะหายหน้าไปตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม กว่าจะกลับมาเจอกันอีกครั้งก็คงเป็นหลังวันที่ 5 เม.ย โน่นแน่ะ
 :icon_eek:
     อักษรแต่งสาร   จดจารลงไว้                          มอบหื้อน้องไท้   สรรคำเลือกเฟ้น
ความฮักหนักอก   หยิบยกหื้อเห็น                         แป๋งเป็นค่าวส้อย   ส่งเถิงนุชน้อง
หวังเจ้าหันใจ   หวังให้หันพ้อง                              ส่งค่าวไขบอกเค้า
     เอื้องผึ้งหอมหวาน   พี่ขานบอกเจ้า                   เอื้องผึ้งหวังพึ่งพา
เจ้ายอดมิ่งมิตร   ดวงจิตพี่ยา                               ตึงร่างกายา   ถอดวางหื้อเจ้า
เจ้าแก้วรอมแพง   เช้าแลงคอยเฝ้า                       ถนอมฮักอย่าฮู้ร้าง
     ขอเจ้าแพงนาย   อย่าคลายปล่อยคว้าง             หื้อพี่ว้างดายเดียว
อู้แท้จากใจ   บ่ใช่เพียงเกี้ยว                               กลับเวียงครานี้   จะเตรียมแต่งผ้า
คนใหญ่เจียรจา   มาขอน้องหล้า                          เป็นจอมนาฏนางใหญ่
     เขียนสารฝากแม่ไว้                                     แทนพี่แนบเคียงใกล้ 
นิ่มน้องรอมรอมแพง                                         พี่เฮย ”    

ออฟไลน์ กาฬฯ

  • *
  • 6333
  • -4
  • เพศ: หญิง
  • ஐ~ เผ่าพันธุ์นาคีซ่อนพิษไว้เสมอ ~ஐ
ติดไว้ก่อนนะคะ  ยังไม่สามารถออกความเห็นใดๆ ได้ 
แล้วเดี๋ยวเคลียร์อะไรหมดแล้ว  จะมาตามอ่านค่ะ   :icon_idea:
**จักรวาลนี้กว้างไกลแลไพศาลนัก เราเป็นเพียงละอองธุลีอันน้อยนิดล่องลอย ยากที่จะเรียนรู้ทุกสรรพสิ่งให้จบครบสิ้น
สิ่งที่เรามิเคยเห็น ใช่ว่าจะมิมี แลสิ่งที่มิเคยได้ประสบ ก็ใช่ว่าจะมิเคยเกิดขึ้น**

ทีนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ รามเกียรติ์ ของเรากันบ้างนะคะ

     อย่างที่ทราบกันแล้วว่า ไทยรับเอารามายณะมาจากอินเดีย  แต่จะเข้ามาในสมัยใดนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เข้าใจว่าผู้ที่นำเอารามายณะเข้ามาเผยแพร่ในไทยน่าจะเป็นพ่อค้าชาวอินเดีย ในชั้นต้นนั้นเป็นการเล่าแบบมุขปาฐะ ต่อมาจึงมีผู้จดจารไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเพิ่มเติม พร้อมทั้งปรับให้เข้ากับประเพณี วัฒนธรรม และคติความเชื่อของคนไทย จนพัฒนามาเป็นรามเกียรติ์ ที่มีลักษณะเฉพาะของไทย กล่าวคือ ไม่ตรงกับรามายณะฉบับหนึ่งฉบับใดโดยเฉพาะ    เพียงแต่มีความ “พ้อง” กับรามายณะของอินเดียหลายๆฉบับ และ “พ้อง” กับรามายณะบางส่วนของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
     จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ชาวอินเดียที่เข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นชาวอินเดียที่มาจากทางตอนใต้ของประเทศ ด้วยเหตุนี้ รามเกียรติ์ของไทยจึงได้รับเอาอิทธิพลจากรามาณะฉบับเบงกลี และฉบับทมิฬไว้ด้วย 
     ดังนี้จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า รามเกียรติ์ของไทยนั้น คงได้ประมวลเอาเนื้อเรื่องจากสำนวนต่างๆ แล้วนำมาคัดเลือกเอาเฉพาะส่วน เพื่อ “ปรุง”รามายณะให้ออกมาเป็นอาหารจานใหม่ในชื่อของ “รามเกียรติ์”ที่เหมาะสมกับประเพณี  วัฒนธรรม และคติความเชื่อ ของคนไทย

ก่อนจะเป็นรามเกียรติ์ฉบับไทย
     ดังที่ทราบกันมาแล้วว่า รามเกียรติ์มีลักษณะของการผสมผสานรามายณะฉบับต่างๆไว้ด้วยกัน จะมีฉบับใดบ้างนั้น ติดตามต่อเลยค่ะ

     1. นิทานเรื่องพระราม ซึ่งเป็นที่แพร่หลายกันมานานก่อนที่จะมีรามายณะเกิดขึ้น
     2. รามายณะของวาลมิกิ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ของรามเกียรติ์ก็รับมาจากรามายณะฉบับนี้ แต่ก็ไม่เอามาเสียทั้งหมด มีการดัดแปลง แต่งเพิ่ม และตัดทอนออกไปบางส่วน ซึ่งการตัดทอนบางครั้งก็ทำให้ความสวยงามของเนื้อเรื่องบางส่วนหมดไปด้วย
     3. รามายณะของอินเดียตอนใต้ คือฉบับทมิฬ และฉบับเบงกลี เนื้อเรื่องบางส่วนของรามเกียรติ์ที่มีความแตกต่างจากฉบับวาลมิกิ เมื่อมีการสอบทานกันแล้วก็พบว่า ตรงกับของทางอินเดียตอนใต้นี้ เช่น
        - เทพบริวารของพระนารายณ์อวตารมาเกิดเป็นพระพรต พระลักษณ์ และพระสัตรุด
        - ตอนนางมณีเมขลากับรามสูร
        - พระรามสบตานางสีดตอนยกศร
        - พระมงกุฎกับพระลบลองศร
     4. หนุมานนาฏกะ เช่น
        - ตอนหนุมานถวายแหวน
        - ตอนนางลอย
        - ตอนหนุมานหักคอช้างเอราวัณ
     5. หิกะยัตศรีราม ของมลายู เช่น ตอนนางสีดาทิ้งแหวนลงปากนกสดายุ
     6. วิษณุปุราณะ ในเรื่องเกี่ยวกับการกำเนิดของตัวละคร (อันนี้หากใครเคยดูละครอินเดีย จะพอนึกออก)
     7. รามายณะฉบับสันสกฤต ฉบับองคนิกาย เช่น ตอนพระมงกุฎพระลบ
     8. ส่วนที่ไทยแต่งเสริมขึ้นมาเอง เช่น
        - ตอนหนุมานดับไฟที่หางโดยใช้น้ำบ่อน้อย
        - ตอนที่ให้พระอินทร์ลงมาช่วยพระรามแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ถึง 5 ครั้ง

     รามเกียรติ์ในประเทศไทยนั้น ก่อนที่จะมีรามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็ปรากฏหลักฐานของวรรณคดีเรื่องนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว แม้แต่ในภาคอื่นๆของไทย ก็มีรามเกียรติ์ที่เป็นฉบับพื้นบ้านของตนเช่นกัน

     ในวันพรุ่งนี้ อินจะเริ่มต้นการเปรียบเทียบรามายณะและรามเกียรติ์ โดยยึดการแบ่งตอนของฉบับวาลมิกิซึ่งเริ่มต้นจาก พลกัณฑ์ ไปเรื่อยๆ จนจบอุดรกัณฑ์  (แบ่งตามรามเกียรติ์ฉบับไทย มันแบ่งช่วงยากไปนิดค่ะ เลยยึดการแบ่งของฉบับวาลมิกิ ดูจะเป็นหมวดหมู่กว่า) บางช่วงบางตอนอาจจะมีอักษรเทวนาครีเข้ามาแทรกบ้างนิดหน่อย ก็ไม่ต้องตกใจกันนะคะ เพราะบางทีอินก็ต้องใช้เทียบกับข้อความบางช่วงบางตอนที่ฉบับวาลมิกิ (ที่เรียบเรียงโดยราเมศ เมนอน) กับข้อมูลที่มีมาก่อนหน้านี้ด้วย  เพราะถอดภาษาสันสกฤตออกมาไม่ตรงกัน เลยต้องใช้ต้นฉบับช่วยด้วยนิดหน่อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 13, 2009, 04:07:09 PM โดย อินทรายุธ »
     อักษรแต่งสาร   จดจารลงไว้                          มอบหื้อน้องไท้   สรรคำเลือกเฟ้น
ความฮักหนักอก   หยิบยกหื้อเห็น                         แป๋งเป็นค่าวส้อย   ส่งเถิงนุชน้อง
หวังเจ้าหันใจ   หวังให้หันพ้อง                              ส่งค่าวไขบอกเค้า
     เอื้องผึ้งหอมหวาน   พี่ขานบอกเจ้า                   เอื้องผึ้งหวังพึ่งพา
เจ้ายอดมิ่งมิตร   ดวงจิตพี่ยา                               ตึงร่างกายา   ถอดวางหื้อเจ้า
เจ้าแก้วรอมแพง   เช้าแลงคอยเฝ้า                       ถนอมฮักอย่าฮู้ร้าง
     ขอเจ้าแพงนาย   อย่าคลายปล่อยคว้าง             หื้อพี่ว้างดายเดียว
อู้แท้จากใจ   บ่ใช่เพียงเกี้ยว                               กลับเวียงครานี้   จะเตรียมแต่งผ้า
คนใหญ่เจียรจา   มาขอน้องหล้า                          เป็นจอมนาฏนางใหญ่
     เขียนสารฝากแม่ไว้                                     แทนพี่แนบเคียงใกล้ 
นิ่มน้องรอมรอมแพง                                         พี่เฮย ”    

ตอนที่ 1 การเปรียบเทียบรามเกียรติ์รามายณะในช่วงพลกัณฑ์


1. ช่วงการเปิดเรื่อง

รามายณะ
     เปิดเรื่องที่ฤๅษีวาลมิกินั่งสมาธิอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำทามาส แล้วฤๅษีนารัท(เป็นบุตรของพระพรหม ฤๅษีตนนี้ถ้าใครดูหนังอินเดียจะนึกออกเลย เพราะชอบร้องสรรญเสริญพระนารายณ์ตลอดเวลาว่า "นาร้ายณ์ นารายณ์" เป็นเอกลักษณ์) ลงมาพบ ฤๅษีวาลมิกิจึงถามฤๅษีนารัทว่า ในโลกนี้มีใครบ้างที่ได้รับพรแห่งคุณธรรมความดีทั้งปวงจากพระพรหม ซึ่งไม่เคยมีเทพองค์ใดได้ครอบครองคุณธรรมความดีเหล่านั้นได้ครบถ้วน(พูดง่ายๆ ก็คือ มีใครบ้างในโลกที่เป็นคนดีแบบสมบูรณ์แบบ ไม่มีข้อด่างพร้อยเลยซักกะติ๊ด) ฤๅษีนารัทนิ่งไปครู่ แล้วตอบว่า "มี บุคคลนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วในโลก เขาผู้นั้นมีชื่อว่า ราม"  แล้วก็เริ่มต้นเล่าเรื่องของเจ้าชายรามให้ฤๅษีวาลมิกิและสาวกทั้งหลายฟัง
   
     ฤๅษีวาลมิกิได้รับรู้เรื่องราวอันแสนยิ่งใหญ่ขององค์รามแล้ว ก็ปรารถนาจะเล่าขานตำนานนี้สืบต่อไปในมนุษยโลก แต่ก็มิรู้จะหาคำประพันธ์ใดที่ไพเราะเสมอเรื่องที่จะเล่าได้ จนกระทั่งวันหนึ่ง ขณะที่ฤๅษีวาลมิกิพักผ่อนอยู่ที่ริมแม่น้ำทามาส สายตาของท่านได้มองเห็นนกกระเรียนคู่หนึ่งจับคู่ร้องเล่นกันอยู่ แต่พรานป่าผู้โหดเหี้ยมได้ขึ้นศรของตน ปล่อยศรจากธนูพุ่งเสียบนกกระเรียนตัวผู้ที่กำลังเกี้ยวพาราศีตัวเมียตาย ฤๅษีวาลมิกิโกรธมากจึงเอ่ยคำสาปแช่งพรานนั้นว่า 

मा निषाद प्रतिष्ठाम्त्व । (มานิษาท ปรติษฺฐามตว)
मगमः शाश्वतीः समाः । (มคมาฮ์ ศาฤจตีฮ์ สมาฮ์)
यत् क्रौङ्च मिथुनात् एक । (ยตฺ เกรญฺจ มิถุนาตฺ เอก)
मवधीः काम मोहितम् (มวโธฮ์ กาม โมหิตมฺ)

แปลเป็นไทยได้ความว่า "ดูก่อน เจ้าพรานป่า เจ้าอย่าได้ถึงความมั่นคงชั่วกาลนาน (= จงถึงแก่ความพินาศ) เหตุเพราะเจ้าได้สังหารนกกระเรียนคู่หนึ่งซึ่งกำลังลุ่มหลงอยู่ในกามแห่งตน ให้มันตายอยู่ฝ่ายเดียว "

     ลั่นคำสาปไปแล้ว ฤๅษีวาลมิกิก็ตกตะลึง ไม่ใช่ตกตะลึงที่ได้สาปแช่งพราน แต่ตะลึงที่คำสาปนั้นได้ลั่นออกมาเป็นโศลกที่มีท่วงทำนองแสนไพเราะเหลือเกิน (เป็นงั้นไป)
      หลายวันต่อมาฤๅษีวาลมิกิก็ได้พบกับพรหมเทพ พระพรหมขอให้ฤๅษีวาลมิกิเล่าขานรามายณะด้วยโศลกที่มีฉันทลักษณ์เช่นวันนั้น โดยฤๅษีวาลมิกิจะหยั่งรู้ความลับและจิตใจของราม ลักษมัณ สีดา ราวณ และทุกผู้ รวมทั้งเข้าใจในชีวิตของรามอย่างถ่องแท้ พร้อมทั้งให้พรว่า ตราบใดที่รามายณะยังคงได้รับการเล่าขาน ตราบนั้นชื่อของวาลมิกิจะได้รับการกล่าวขานควบคู่ไปด้วย หลังจากนั้นเพียงสัปดาห์เดียว ฤๅษีวาลมิกิก็แต่งรามายณะเสร็จบริบูรณ์ทั้ง 24,000 โศลก  และมีมาณพหนุ่มสองคนนาม "ลวะ" และ "กุสะ" มาพบ ฤๅษีวาลมิกิได้ขับโศลกนี้ให้สองมาณพฟัง สองมาณพจดจำได้ทั้งหมดแขบโศลกได้ไพเราะไม่มีผู้ใดเทียมได้แม้แต่ฤๅษีวาลมิกิ ครั้นแล้ว สองมาณพก็ลาไปจนได้พบกับพระราม  (*ตรงจุดนี้เองที่ทำให้นักวิชาการชาวตะวันตก ไม่ยอมรับว่าในส่วนของพลกัณฑ์นี้ ฤๅษีวาลมิกิเป็นผู้รจนาด้วย ในเมื่อชั้นต้นนั้น ฤๅษีวาลมิกิไม่เคยรู้จักราม จนถึงขั้นต้องใช้ญาณเพ่งพิศ จึงได้รู้เรื่องราวทั้งหมด นั่นหมายความว่า เมื่อ ลวะและกุสะ มาพบ ฤๅษีวาลมิกิย่มต้องรู้ว่าสองมาณพนี้เป็นผู้ใด มิใช่รู้เพียงว่าพระพรหมส่งมาให้รับรู้โศลกรามายณะจากตน เพื่อจะได้เล่าขานต่อกันไปไม่มีวันจบอย่างนี้)

รามเกียรติ์

     รามเกียรติ์ของไทยเปิดเรื่องด้วยเรื่องของหิรัณตยักษ์ม้วนแผ่นดิน ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องอวตารมาเป็นห มูป่าเพื่อปราบหิรัณตยักษ์ (ส่วนนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากวิษณุปุรานะ เพราะเป็นเรื่องการอวตารของพระนารายณ์โดยตรง ในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 นี้ นารายณ์สิบปางน่าจะยังไม่มีผู้ใดรวบรวมขึ้น ส่วนนารายณ์สิบปางที่เห็นในปัจจุบันนี้ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) และเป็นเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมากมาย เช่น เรื่องของนางมณีเมขลา รวมไปถึงการกำเนิดของตัวละครต่างๆ เช่น พาลี สุครีพ หนุมาน องคต (กว่าจะถึงกำเนิดของพระรามก็ปาไปหลายร้อยหน้าแล้ว) 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2009, 06:05:11 PM โดย อินทรายุธ »
     อักษรแต่งสาร   จดจารลงไว้                          มอบหื้อน้องไท้   สรรคำเลือกเฟ้น
ความฮักหนักอก   หยิบยกหื้อเห็น                         แป๋งเป็นค่าวส้อย   ส่งเถิงนุชน้อง
หวังเจ้าหันใจ   หวังให้หันพ้อง                              ส่งค่าวไขบอกเค้า
     เอื้องผึ้งหอมหวาน   พี่ขานบอกเจ้า                   เอื้องผึ้งหวังพึ่งพา
เจ้ายอดมิ่งมิตร   ดวงจิตพี่ยา                               ตึงร่างกายา   ถอดวางหื้อเจ้า
เจ้าแก้วรอมแพง   เช้าแลงคอยเฝ้า                       ถนอมฮักอย่าฮู้ร้าง
     ขอเจ้าแพงนาย   อย่าคลายปล่อยคว้าง             หื้อพี่ว้างดายเดียว
อู้แท้จากใจ   บ่ใช่เพียงเกี้ยว                               กลับเวียงครานี้   จะเตรียมแต่งผ้า
คนใหญ่เจียรจา   มาขอน้องหล้า                          เป็นจอมนาฏนางใหญ่
     เขียนสารฝากแม่ไว้                                     แทนพี่แนบเคียงใกล้ 
นิ่มน้องรอมรอมแพง                                         พี่เฮย ”    

2. การกำเนิดของพระราม พระพรต พระลักษณ์ พระสัตรุด และนางสีดา

2.1 พิธีขอบุตรของท้าวทศรถ


     ในรามายณะนั้น ท้าวทศรถคิดจะทำยัญพิธีอัศวเมธเพื่อขอบุตร สุมันตราสารถีของท้าวทศรถจึงทูลแนะนำให้พระองค์เชิญฤๅษียาสิงฆะมาประกอบพิธีให้ หนึ่งปีให้หลังเมื่อพิธีอัศวเมธสิ้นสุดลง  ในช่วงสุดท้ายของการทำพิธี ฤๅษียาสิงฆะก่อกองไฟศักดิ์สิทธิ์บูชาเทพเจ้า และบังเกิดร่างทิพย์ร่างหนึ่ง เชิญจอกบรรจุน้ำปายาสทิพย์สีเงินมาถวาย ท้าวทศรถจึงป้อนให้มเหสีทั้งสามดื่มตามลำดับ คือ
     นางเกาสัลยา ดื่ม 1/2 ของทั้งหมด
     นางสุมิตรา ดื่ม 1/2 ของน้ำทิพย์ที่เหลืออยู่
     นางไกเกยี ดื่ม 1/2 ของน้ำทิพย์ที่เหลืออยู่
แล้วท้าวทศรถก็วกกลับมาป้อนให้นางสุมิตราอีกครั้งจนหมดจอก

     ส่วนในรามเกียรติ์ได้กล่าวต่างไปจากรามายณะในส่วนต่อไปนี้
     1. ชื่อของฤๅษีที่ประกอบพิธีขอบุตร แม้ว่าทั้งรามายณะและรามเกียรติ์จะกล่าวตรงกันว่า ฤๅษีตนนี้มีใบหน้าเป็นกวาง และเป็นราชบุตรเขยของท้าวโรมพัต แต่ส่วนที่แตกต่างออกไปคือชื่อของฤๅษี ในรามเกียรติ์เอ่ยนามฤๅษีตนนี้ว่า "ฤๅษีกไลโกฏ"
    2. เนื่องจากพิธีขอบุตรในรามเกียรติ์นั้น ได้กล่าวแต่แรกแล้วว่าเป็นพิธีหุงข้าวทิพย์ ซึ่งต่างไปจากรามายณะที่เป็นพิธีอัศวเมธ ดังนั้นสิ่งที่ร่างทิพย์เชิญออกมาจากกองไฟ ในรามเกียรติ์จึงไม่ใช่น้ำปายาส แต่เป็นข้าวทิพย์ที่หอมหวน กลิ่นหอมนั้นลอยไปไกลถึงลงกา จนทศกัณฐ์ต้องให้นางกาไปแย่งชิงมาให้นางมณโฑ แต่ในรามายณะไม่ปรากฏว่า ราวณให้บริวารมารบกวนพิธีเลย
    3. ลำดับมเหสีของท้าวทศรถ ต่างไปจากรามายณะเล็กน้อย ตรงที่นางไกยเกษี เป็นมเหสีที่สอง ส่วนนางสมุทรชา เป็นมเหสีที่สาม ส่วนมเหสีเอกคือนางเกาสุริยานั้น กล่าวไว้ตรงกัน

2.2 กำเนิดของสี่โอรสกรุงอโยธยา    

    รามเกียรติ์กล่าวถึงการกำเนิดของสี่โอรสไว้ต่างกับรามายณะค่อนข้างมากทีเดียว รวมทั้งเรื่องของสีผิว และเวลาเกิดด้วย กล่าวคือ
      2.2.1 พระรามคือนารายณ์อวตาร (สองฉบับกล่าวตรงกันแน่นอนในจุดนี้) สีผิวของพระรามที่ปรากฏในรายณะคือสีน้ำเงินเข้ม เวลาเกิดคือคืนเดือนหงายขึ้น 9 ค่ำ ดวงจันทร์อยู่ในเรือนของตนเอง และดาวพฤหัสอยู่ในราศีกรกฎ แต่รามเกียรติ์กล่าวต่างไปอย่างเห็นได้ชัดว่า พระรามมีกายสีเขียว เวลาเกิดคือเวลากลางคืน ราศีเมษ
       2.2.2  พระภรตเกิดถัดจากพระราม 1 วัน ดาวจันทร์อยู่ในตำแหน่งปุศยามฤกษ์ ไม่ปรากฏเรื่องสีผิว แต่ในรามเกียรติ์  พระพรตเกิดช่วงเช้า ตะวันแรกขึ้น สีกายแดง กำเนิดมาจากจักร
       2.2.3 พระลักษมัณ และพระศัตรุฆน์ ถือกำเนิดหลังจากพระภรต 1 วัน  ดาวจันทร์สถิตตำแหน่งอัสเลส แต่ในรามเกียรติ์แยกเป็น
           - พระลักษมณ์ สีกายเหลือง กำเนิดจากบัลลังก์นาคและสังข์ (ต้นฉบับสมุดไทยบอกเกิดจากบัลลังก์นาคอย่างเดียว) เกิดในเวลา สามนาฬิกาห้าบาท ก็คือเวลา 9.30 น.
           - พระสัตรุด สีกายม่วงอ่อน กำเนิดจากคทา (ต้นฉบับสมุดไทยบอกเกิดจากสังข์และคทา) เกิดในเวลา สี่โมงเศษ ก็คือเวลาช่วง 10 นาฬิกาเศษ

2.3 การกำเนิดของสีดา
     
     ในรามายณะนั้นไม่ได้กล่าวถึงการกำเนิดของสีดาเลย (ในส่วนของพลกัณฑ์นี้นะคะ) บอกแต่เพียงว่าท้าวชนกได้นางมาจากรอยไถเท่านั้น แต่ในรามเกียรติ์บอกว่า เป็นลูกของนางมณโฑกับทศกัณฐ์ เพราะแรกเกิดนางร้อง "ผลาญราพณ์" 3 ครั้ง พิเภกทำนายว่านางเป็นกาลกิณีจึงนำไปลอยน้ำเสีย

     (ส่วนของการกำเนิดนางสีดานี้ ฉบับของวาลมิกิบอกว่าสีดาคือนางเวทวดีกลับชาติมาเกิด ฉบับทมิฬบอกว่า เป็นลูกของทศกัณฐ์กับนางเวทวดี เกิดเพราะนางเวทวดีถูกทศกัณฐ์ข่มขืน ส่วนฉบับของเคราละ(Kerala)กล่าวตรงกันกับของเราว่าเป็นลูกของมณโฑกับทศกัณฐ์ แต่เล่าต่างไปจากของไทยตรงที่นางมณโฑแอบหนีทศกัณฐ์ไปคลอดลูก แล้วฝากสีดาไว้กับแม่พระธรณี (คล้ายๆกับนางนิลากาสร แอบหนีทรพาไปคลอดทรพีเลย) แต่ไม่มีเรื่องลอยน้ำ   เรื่องนางสีดาเกิดมาแล้วถูกลอยน้ำก่อนนี้ ปรากฏในรามเกียรติ์ฉบับล้านนา (ฉบับอื่นไม่ทราบค่ะ เพราะไม่เคยอ่าน แหะ แหะ  :icon_twisted:) ความที่ฉบับล้านนาเป็นชาดกนอกนิบาต ก็เลยแทรกไว้ด้วยว่า ที่นางสีดาต้องถูกลอยน้ำ เพราะชาติก่อน นางเอาแมวที่ลักปลาของนางไปกิน เอาไปลอยน้ำ พอหายโกรธก็กลับไปช่วยแมวนั้นมา ที่สำคัญนางสีดาเวอร์ชั่นล้านนานี้ นางสีดาไม่ใช่พระลักษมี แต่เป็นนางสุธัมมา ชายาของพระอินทร์ที่ครบวาระจุติ ลงมาเกิดเพื่อแก้แค้นทศกัณฐ์ ค่าที่ทศกัณฐ์แปลงเป็นพระอินทร์มาร่วมรักกับนาง)
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2009, 04:42:16 PM โดย อินทรายุธ »
     อักษรแต่งสาร   จดจารลงไว้                          มอบหื้อน้องไท้   สรรคำเลือกเฟ้น
ความฮักหนักอก   หยิบยกหื้อเห็น                         แป๋งเป็นค่าวส้อย   ส่งเถิงนุชน้อง
หวังเจ้าหันใจ   หวังให้หันพ้อง                              ส่งค่าวไขบอกเค้า
     เอื้องผึ้งหอมหวาน   พี่ขานบอกเจ้า                   เอื้องผึ้งหวังพึ่งพา
เจ้ายอดมิ่งมิตร   ดวงจิตพี่ยา                               ตึงร่างกายา   ถอดวางหื้อเจ้า
เจ้าแก้วรอมแพง   เช้าแลงคอยเฝ้า                       ถนอมฮักอย่าฮู้ร้าง
     ขอเจ้าแพงนาย   อย่าคลายปล่อยคว้าง             หื้อพี่ว้างดายเดียว
อู้แท้จากใจ   บ่ใช่เพียงเกี้ยว                               กลับเวียงครานี้   จะเตรียมแต่งผ้า
คนใหญ่เจียรจา   มาขอน้องหล้า                          เป็นจอมนาฏนางใหญ่
     เขียนสารฝากแม่ไว้                                     แทนพี่แนบเคียงใกล้ 
นิ่มน้องรอมรอมแพง                                         พี่เฮย ”    


     5. หิกะยัตศรีราม ของมลายู เช่น ตอนนางสีดาทิ้งแหวนลงปากนกสดายุ
   

ของไทยเรา พี่ก็รู้สึกขัดใจไม่น้อยนะอินฯ สู้กับทศกัณฑ์ ก็เห็นกันอยู่ว่าชนะใสๆ จู่ๆก็ดันไปพูดเย้ยเยาะว่าไม่กลัวใคร นอกจากพระอิศวรและพระนารายณ์ รวมทั้งแหวนของพระอิศวรที่นิ้วนางสีดาเท่านั้น แหม!!!พูดไปได้ :icon_surprised:


     5. หิกะยัตศรีราม ของมลายู เช่น ตอนนางสีดาทิ้งแหวนลงปากนกสดายุ
   

ของไทยเรา พี่ก็รู้สึกขัดใจไม่น้อยนะอินฯ สู้กับทศกัณฑ์ ก็เห็นกันอยู่ว่าชนะใสๆ จู่ๆก็ดันไปพูดเย้ยเยาะว่าไม่กลัวใคร นอกจากพระอิศวรและพระนารายณ์ รวมทั้งแหวนของพระอิศวรที่นิ้วนางสีดาเท่านั้น แหม!!!พูดไปได้ :icon_surprised:

เขาเรียกว่าปากพาจนค่ะพี่พยัคฆ์มาร แทนที่จะชนะแล้วพานางสีดากลับมาได้ เลยต้องตายเสียนี่  :icon_mad: ของรามายณะว่ายังไงเกี่ยวกับตอนนี้ อุบไว้ก่อนนะคะ ไว้คอยติดตามกันค่ะ ไม่งั้นกระทู้นี้คงเหงาพิลึกเลย  :icon_razz:
     อักษรแต่งสาร   จดจารลงไว้                          มอบหื้อน้องไท้   สรรคำเลือกเฟ้น
ความฮักหนักอก   หยิบยกหื้อเห็น                         แป๋งเป็นค่าวส้อย   ส่งเถิงนุชน้อง
หวังเจ้าหันใจ   หวังให้หันพ้อง                              ส่งค่าวไขบอกเค้า
     เอื้องผึ้งหอมหวาน   พี่ขานบอกเจ้า                   เอื้องผึ้งหวังพึ่งพา
เจ้ายอดมิ่งมิตร   ดวงจิตพี่ยา                               ตึงร่างกายา   ถอดวางหื้อเจ้า
เจ้าแก้วรอมแพง   เช้าแลงคอยเฝ้า                       ถนอมฮักอย่าฮู้ร้าง
     ขอเจ้าแพงนาย   อย่าคลายปล่อยคว้าง             หื้อพี่ว้างดายเดียว
อู้แท้จากใจ   บ่ใช่เพียงเกี้ยว                               กลับเวียงครานี้   จะเตรียมแต่งผ้า
คนใหญ่เจียรจา   มาขอน้องหล้า                          เป็นจอมนาฏนางใหญ่
     เขียนสารฝากแม่ไว้                                     แทนพี่แนบเคียงใกล้ 
นิ่มน้องรอมรอมแพง                                         พี่เฮย ”    


       2.2.3 พระลักษมัณ และพระศัตรุฆน์ ถือกำเนิดหลังจากพระภรต 1 วัน  ดาวจันทร์สถิตตำแหน่งอัสเลส แต่ในรามเกียรติ์แยกเป็น
           - พระลักษมณ์ สีกายเหลือง กำเนิดจากบัลลังก์นาคและสังข์ (ต้นฉบับสมุดไทยบอกเกิดจากบัลลังก์นาคอย่างเดียว) เกิดในเวลา สามนาฬิกาห้าบาท ก็คือเวลา 9.30 น.
           - พระสัตรุด สีกายม่วงอ่อน กำเนิดจากคทา (ต้นฉบับสมุดไทยบอกเกิดจากสังข์และคทา) เกิดในเวลา สี่โมงเศษ ก็คือเวลาช่วง 10 นาฬิกาเศษ


2.3 การกำเนิดของสีดา
     
     ในรามายณะนั้นไม่ได้กล่าวถึงการกำเนิดของสีดาเลย บอกแต่เพียงว่าท้าวชนกได้นางมาจากรอยไถเท่านั้น แต่ในรามเกียรติ์บอกว่า เป็นลูกของนางมณโฑกับทศกัณฐ์ เพราะแรกเกิดนางร้อง "ผลาญราพณ์" 3 ครั้ง พิเภกทำนายว่านางเป็นกาลกิณีจึงนำไปลอยน้ำเสีย


ความที่ฉบับล้านนาเป็นชาดกนอกนิบาต ก็เลยแทรกไว้ด้วยว่า ที่นางสีดาต้องถูกลอยน้ำ เพราะชาติก่อน นางเอาแมวที่ลักปลาของนางไปกิน เอาไปลอยน้ำ พอหายโกรธก็กลับไปช่วยแมวนั้นมา ที่สำคัญนางสีดาเวอร์ชั่นล้านนานี้ นางสีดาไม่ใช่พระลักษมี แต่เป็นนางสุธัมมา ชายาของพระอินทร์ที่ครบวาระจุติ ลงมาเกิดเพื่อแก้แค้นทศกัณฐ์ ค่าที่ทศกัณฐ์แปลงเป็นพระอินทร์มาร่วมรักกับนาง
   

สามนาฬิกาห้าบาทเหรอ!!!!! .....น้องอินทรายุธ นี้คือเวลาจริงที่ใช้ในการก่อตั้งกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยาจริงๆเลยนะ   :icon_evil: :icon_evil:
ส่วนนางสีดาฉบับล้านนา (จริงๆต้องอ่านกันว่า "ลานนา" แต่เพราะมันออกเสียงยากหรือไงก็ไม่รู้ไปๆมาๆสุดท้ายก็กลายมาเป็น "ล้านนา" ซะหมดไม่ว่าหนังสือเล่มไหนก็เขียนอย่างนี้) มีส่วนคล้ายกับเรื่อง "อุณรุท" แต่เรื่องนั้นเป็นนางสุจิตราที่จุติลงมา ตัวอุณรุทก็ไม่ใช่พระนารายณ์แต่เป็นหลานของพระองค์ พระนารายณ์อวตาลลงมายังเมืองณรงกา มีนามว่า "พระบรมจักรกฤษณ์" มีมเหสีคือนางจันทมาลีและพระโอรสชื่อไกรสุท ต่อมาพระไกรสุทได้อภิเษกกับนางรัตนา จึงมีพระโอรสอุณรุทขึ้นมา

แล้วก็ยังรอเรื่องนกหัสดายุอยู่ไม่รู้ว่าในรามยณะเขามีพี่ชายหรือเปล่า แต่ของรามเกียรติ์เรามีพี่ชาย ชื่อว่า "สัมพาที" ที่โดนพระอาทิตย์สาปให้อยู่ในถ้ำเหมติวัน ชื่อของนกหัสดายุนี้ พี่เองก็แอบยืมชื่อมาแปลงเป็นชื่อใหม่ใช้ในเรื่องของพี่เหมือนกันแต่ตัวเขาไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไรหรอก :-X  พี่ให้ชื่อตัวละครตัวนั้นว่า "นิลกาฬหัสดายุ" แล้วยังมีอีกตัวมีชื่อว่า "นิลบุตรปักษี" สองตัวนี้เป็นเพื่อนกันอ่ะ :icon_idea: :icon_idea:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2009, 04:43:21 PM โดย อินทรายุธ »

ออฟไลน์ กาฬฯ

  • *
  • 6333
  • -4
  • เพศ: หญิง
  • ஐ~ เผ่าพันธุ์นาคีซ่อนพิษไว้เสมอ ~ஐ
(ฉบับอื่นไม่ทราบค่ะ เพราะไม่เคยอ่าน แหะ แหะ  :icon_twisted:) ความที่ฉบับล้านนาเป็นชาดกนอกนิบาต ก็เลยแทรกไว้ด้วยว่า ที่นางสีดาต้องถูกลอยน้ำ เพราะชาติก่อน นางเอาแมวที่ลักปลาของนางไปกิน เอาไปลอยน้ำ พอหายโกรธก็กลับไปช่วยแมวนั้นมา ที่สำคัญนางสีดาเวอร์ชั่นล้านนานี้ นางสีดาไม่ใช่พระลักษมี แต่เป็นนางสุธัมมา ชายาของพระอินทร์ที่ครบวาระจุติ ลงมาเกิดเพื่อแก้แค้นทศกัณฐ์ ค่าที่ทศกัณฐ์แปลงเป็นพระอินทร์มาร่วมรักกับนาง)
   


ตรงนางสุธัมมานี่  เหมือนกับวรรณคดีเรื่องอะไรนะคะ    กาฬเคยอ่าน  แต่จำไม่ได้อ่ะ 
**จักรวาลนี้กว้างไกลแลไพศาลนัก เราเป็นเพียงละอองธุลีอันน้อยนิดล่องลอย ยากที่จะเรียนรู้ทุกสรรพสิ่งให้จบครบสิ้น
สิ่งที่เรามิเคยเห็น ใช่ว่าจะมิมี แลสิ่งที่มิเคยได้ประสบ ก็ใช่ว่าจะมิเคยเกิดขึ้น**

(ฉบับอื่นไม่ทราบค่ะ เพราะไม่เคยอ่าน แหะ แหะ  :icon_twisted:) ความที่ฉบับล้านนาเป็นชาดกนอกนิบาต ก็เลยแทรกไว้ด้วยว่า ที่นางสีดาต้องถูกลอยน้ำ เพราะชาติก่อน นางเอาแมวที่ลักปลาของนางไปกิน เอาไปลอยน้ำ พอหายโกรธก็กลับไปช่วยแมวนั้นมา ที่สำคัญนางสีดาเวอร์ชั่นล้านนานี้ นางสีดาไม่ใช่พระลักษมี แต่เป็นนางสุธัมมา ชายาของพระอินทร์ที่ครบวาระจุติ ลงมาเกิดเพื่อแก้แค้นทศกัณฐ์ ค่าที่ทศกัณฐ์แปลงเป็นพระอินทร์มาร่วมรักกับนาง)
   


ตรงนางสุธัมมานี่  เหมือนกับวรรณคดีเรื่องอะไรนะคะ    กาฬเคยอ่าน  แต่จำไม่ได้อ่ะ 

เหอๆ พี่ก็ไม่รู้เหมือนกันนะ พี่รู้จักแต่  สุจิตรา สุธรรมา สุนันทา และสุชาดา ที่เป็นชายาของพระอินทร์อ่ะ  ส่วนที่ว่ามาจากวรรณคดีน่ะพี่ยังไม่เคยได้ยิน เอ๊ะ...แต่หรือว่าเคยได้ยินแล้วแต่จำไม่ได้ ???

ออฟไลน์ กาฬฯ

  • *
  • 6333
  • -4
  • เพศ: หญิง
  • ஐ~ เผ่าพันธุ์นาคีซ่อนพิษไว้เสมอ ~ஐ
(ฉบับอื่นไม่ทราบค่ะ เพราะไม่เคยอ่าน แหะ แหะ  :icon_twisted:) ความที่ฉบับล้านนาเป็นชาดกนอกนิบาต ก็เลยแทรกไว้ด้วยว่า ที่นางสีดาต้องถูกลอยน้ำ เพราะชาติก่อน นางเอาแมวที่ลักปลาของนางไปกิน เอาไปลอยน้ำ พอหายโกรธก็กลับไปช่วยแมวนั้นมา ที่สำคัญนางสีดาเวอร์ชั่นล้านนานี้ นางสีดาไม่ใช่พระลักษมี แต่เป็นนางสุธัมมา ชายาของพระอินทร์ที่ครบวาระจุติ ลงมาเกิดเพื่อแก้แค้นทศกัณฐ์ ค่าที่ทศกัณฐ์แปลงเป็นพระอินทร์มาร่วมรักกับนาง)
   


ตรงนางสุธัมมานี่  เหมือนกับวรรณคดีเรื่องอะไรนะคะ    กาฬเคยอ่าน  แต่จำไม่ได้อ่ะ 

เหอๆ พี่ก็ไม่รู้เหมือนกันนะ พี่รู้จักแต่  สุจิตรา สุธรรมา สุนันทา และสุชาดา ที่เป็นชายาของพระอินทร์อ่ะ  ส่วนที่ว่ามาจากวรรณคดีน่ะพี่ยังไม่เคยได้ยิน เอ๊ะ...แต่หรือว่าเคยได้ยินแล้วแต่จำไม่ได้ ???


พี่พยัคฆ์มารต้องเคยอ่านแน่ๆ  โอ๊ยยย  แต่กาฬจำไม่ได้ซะงั้นอ่ะ  เรื่องอะไรน้า   ??? ??? ???

สุจิตรา สุธรรมา  สุนันทา  สุชาดา  ถ้าในละครจักรๆ วงศ์ๆ เห็นมีครบอยู่ก็เรื่องวงษ์สวรรค์
**จักรวาลนี้กว้างไกลแลไพศาลนัก เราเป็นเพียงละอองธุลีอันน้อยนิดล่องลอย ยากที่จะเรียนรู้ทุกสรรพสิ่งให้จบครบสิ้น
สิ่งที่เรามิเคยเห็น ใช่ว่าจะมิมี แลสิ่งที่มิเคยได้ประสบ ก็ใช่ว่าจะมิเคยเกิดขึ้น**

แบบพอจะจำตัวละครตัวอื่นอีกบ้างได้ไหม? หรือว่าเนื้อเรื่องเป็นในแนวไหน เพราะพี่เองก็ยังคิดไม่ออกเหมือน :icon_frown: